PM 2.5 มาอีกแล้ว จะรับมืออย่างไร ไม่ให้ปอดหมา แมว รับฝุ่นพิษไปมากกว่านี้ ?

PM 2.5 มาอีกแล้ว จะรับมืออย่างไร ไม่ให้ปอดหมา แมว รับฝุ่นพิษไปมากกว่านี้ ?

จะทำอย่างไรให้ หมา แมว ที่เรารักปลอดภัยจากฝุ่น PM2.5 พร้อมวิธีแนะนำเบื้องต้นให้สัตว์เลี้ยงได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

ช่วงนี้หลายพื้นที่ค่าฝุ่น PM 2.5 สูงเกินมาตรฐาน ทำให้คุณภาพอากาศแย่ลง และแน่นอนว่าไม่ใช่แค่มนุษย์ที่ได้รับผลกระทบเพียงเท่านั้น แต่ สัตว์เลี้ยง อาจได้รับปัจจัยเสี่ยงจากปัญหานี้ด้วย อย่างเช่น หอบ ถุงลมโป่งพอง ที่นี่มนุษย์อย่างเราๆ พอจะรู้วิธีรับมือกันบ้างแล้ว แต่สัตว์เลี้ยงที่เรารักจะรับมืออย่างไรได้บ้าง เพื่อให้ปลอดภัยจาก ฝุ่น 

สพ.ญ. ชนินันท์ สุทธิผล สัตวแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลสัตว์ราชบุรี เพอเฟ็คเพ็ท และเว็บไซต์ปรึกษาสัตวแพทย์ออนไลน์ sopet.co ได้ให้ข้อมูลกับทางกรุงเทพธุรกิจว่า ในช่วงนี้มีสุนัข และแมวป่วย แต่ก็ไม่สามารถระบุได้ว่าอาการป่วยมาจากฝุ่นโดยตรง แต่ฝุ่นก็เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ เพราะสัตว์เลี้ยงก็รับฝุ่น PM2.5 ได้เหมือนกับคน แต่ผลกระทบระยะยาวอาจจะไม่เท่ากับคน เนื่องจากช่วงอายุของสัตว์สั้นกว่า โดยอาการที่มาหาหมอจะคล้ายกับเป็นหวัด ซึ่งหวัดมักเจอช่วงฤดูหนาวที่อากาศเปลี่ยน สัตว์ก็จะเป็นหวัดได้ง่าย แต่ฝุ่นก็ส่งผลให้อาการทางเดินหายใจแย่ลงเป็นปัจจัยเสี่ยงก่อมะเร็งได้เช่นกัน ยิ่งถ้าเป็น สุนัข หรือ แมวหน้าสั้นจะยิ่งมีปัจจัยเสี่ยง 

"บูลด็อก, เฟรนช์ บูลด็อก, ปั๊ก, บ๊อกเซอร์, พิทบลู, บลูลี่, ชิสุห์, ปักกิ่ง, อเมริกัน ค็อกเกอร์สเปเนียล และบรัสเซล กรีฟฟอน รวมถึงแมวสายพันธุ์ เปอร์เซียร์ exotic shorthair หรือสัตว์ที่มีปัญหาโรคประจำตัวรูจมูกตีบแคบ หลอดลมตีบ หอบหืด อยู่แล้ว จะค่อนข้าง sensitive ง่าย รวมถึงสัตว์ที่เลี้ยงระบบเปิดข้างนอกจะเสี่ยงกว่าสัตว์ที่อยู่ในบ้านแบบระบบปิด" สพ.ญ. ชนินันท์ กล่าว

น.สพ.ณฐวุฒิ คณาติยานนท์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสัตว์เลี้ยงพรีเมียร์ เคยอธิบายเกี่ยวกับ มลภาวะทางอากาศรวมถึง PM2.5 กับกรุงเทพธุรกิจว่า PM2.5 เป็นสิ่งที่มีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์เลี้ยง หรือสัตว์อื่นๆ โดยส่วนใหญ่จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบทางเดินหายใจ กระตุ้นให้เกิดการอักเสบ ซึ่งสัตว์ต่างๆ จะได้รับผลกระทบที่มีความแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับกลไกร่างกายของสัตว์แต่ละชนิด โดย สุนัข และ แมว มีโอกาสได้รับผลกระทบจากฝุ่นละอองเข้าสู่ร่างกาย แต่อาจได้รับผลกระทบน้อยกว่าสัตว์ที่มีการเมทาบอลิซึมสูง (ระบบเผาผลาญ) ที่มักจะหายใจถี่กว่า เช่น ลูกสัตว์ชนิดต่างๆ หนู หรือนก 

จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นว่าปัญหาฝุ่นเพียงเล็กน้อยนั้น สามารถส่งผลให้สัตว์เกิดโรคต่างๆ ได้ในระยะยาว และที่นี้เราจะมีวิธีการดูแลและปกป้องให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์ และพฤติกรรมของสัตว์เลี้ยงแต่ละตัวเบื้องต้นอย่างไร ที่จะให้สัตว์ที่เรารักยังสุขภาพดี อยู่กับเราได้อีกนาน 

อาการเริ่มแรกที่เจ้าของต้องหมั่นสังเกต มีดังนี้

น.สพ.เกษตร สุเตชะ หน่วยสัตว์เลี้ยงพิเศษ โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เคยให้สัมภาษณ์ทาง Vet KU Channel เกี่ยวกับโรคที่จะเกิดกับสัตว์เลี้ยงจาก PM2.5 ว่า โรคที่จะเกิดกับสัตว์เลี้ยงที่เลี้ยงในบ้านนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ เช่น 1.) หมา แมว พันธ์ุหน้าสั้น จะพบปัญหาน้ำมูกไหล ไอ จาม อาเจียน ซึม ไม่กินอาหาร ขี้ตาเยอะ ซึ่งพวกนี้จะพบในระยะสั้น 2.) ระยะกลางจะพบปัญหาคือปอดอักเสบ (ชนิดไม่ตอบสนองกับการรักษา) และ 3.) ระยะยาว (5-10 ปี) อาการพวกนี้จะยังมีตลอด หรือเป็นช่วงฤดูที่เปลี่ยนแปลง สัตว์พวกนี้ก็จะได้รับผลกระทบเทียบเท่ากับคนที่สูบบุหรี่ 10 มวนทุกวัน และผลระยะที่สัตว์จะได้รับนั้นคือ มะเร็งปอด หลอดเลือดหัวใจมีปัญหา โรคหลอดเลือดที่เกิดจากลิ่มเลือดอุดตัน 

5 วิธีดูแลสัตว์เลี้ยงในยุคที่ฝุ่น PM2.5 ครองเมือง

สุดท้ายนี้ หากใครกำลังกังวลเรื่อง ฝุ่น ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของ สัตว์เลี้ยง นี่คือ 5 วิธีการดูแลเบื้องต้น ลองนำไปปรับใช้กันดู

  1. หากสัตว์เลี้ยงอยากออกไปเล่น Outdoor เจ้าของอาจจะต้องใส่หน้ากาก N95 เพื่อกันฝุ่นให้สัตว์เลี้ยง แต่ตามสัญชาตญาณของสัตว์ก็จะมีความรำคาญในการใส่ หายใจลำบากใส่ได้เพียงแป๊บเดียวเท่านั้น
  2. พยายามให้สัตว์จิบน้ำเย็นบ่อยๆ เพื่อป้องกันการขาดน้ำจากอากาศที่เปลี่ยนเเปลง
  3. การทำความสะอาดบ้านสม่ำเสมอ การทำให้พื้นที่อยู่อาศัยสะอาด ดูดฝุ่นบ่อยๆ ติดเครื่องดันอากาศแรงดันบวกแต่ละจุดภายในบ้าน ก็จะช่วยให้อากาศถ่ายเทดี ดีต่อมนุษย์ และสัตว์เลี้ยงที่รัก
  4. หมั่นสังเกตพฤติกรรม อาการของสัตว์บ่อยๆ เนื่องจากสัตว์แต่ละชนิดมีระบบหายใจที่ต่างกัน และการตอบสนองต่อ ฝุ่นพิษ ต่างกันด้วย จึงจำเป็นที่จะต้องค่อยจับตาดูว่ามีอาการอะไรที่เปลี่ยนไปบ้าง เพราะจะได้พาไปพบหมอได้ทันท่วงที
  5. หลีกเลี่ยงพาสัตว์เลี้ยงไปในที่เสี่ยงในช่วงที่อากาศกำลังแย่

แหล่งอ้างอิง