"เลือกตั้งผู้ว่า" เช็กกระแส-ฐานเสียง-ค่านิยมคน กทม. ตัดสินแพ้หรือชนะ

"เลือกตั้งผู้ว่า" เช็กกระแส-ฐานเสียง-ค่านิยมคน กทม. ตัดสินแพ้หรือชนะ

เช็กกระแส-ฐานเสียง-ค่านิยมคนกรุง ตัดสินแพ้หรือชนะ "เลือกตั้งผู้ว่า กทม." วิเคราะห์การเมือง ประเมินสถานการณ์ล่าสุด

ที่ว่าแน่ นอนมา อาจไม่แน่ ที่มีกระแสผ่านสื่อ อาจแค่ไฟไหม้ฟาง ที่ว่าฐานเสียงแน่น อาจยังไม่พอ ที่ไม่อาจมองข้าม คือ ค่านิยมผู้มีสิทธิเลือกตั้ง สุดท้ายตัดสิน “แพ้-ชนะ” เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. อาจต้องมัดรวมความ “ได้เปรียบ-เสียเปรียบ” ทั้งหมด   

คึกคักตั้งแต่วันแรก ของการสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (เลือกตั้ง ส.ก.) ระหว่างวันที่ 31 มี.ค. ถึง 4 เม.ย. 65

หลังจาก “บิ๊กเนม-โนเนม” แห่ลงสมัครเอาฤกษ์เอาชัยกันอย่างล้นหลาม ถึง 20 คน

\"เลือกตั้งผู้ว่า\" เช็กกระแส-ฐานเสียง-ค่านิยมคน กทม. ตัดสินแพ้หรือชนะ

แต่ที่น่าสนใจ คือ 14 หมายเลข ที่เชื่อว่าเป็นที่คุ้นชื่อคุ้นหน้าคุ้นตาของหลายคน ทั้งในอดีตและปัจจุบัน แต่ก็มีบางคนที่แทบจะพูดได้ว่า เป็นเพียงสีสันและไม้ประดับให้การเลือกตั้งครั้งนี้สมกับเป็นประชาธิปไตยเท่านั้น

นั่นคือ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ผู้สมัครพรรคก้าวไกล หมายเลข 1, พ.ท.หญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล หมายเลข 2, นายสกลธี ภัททิยกุล หมายเลข 3, นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ผู้สมัครพรรค ปชป. หมายเลข 4, นายวีระชัย เหล่าเรืองวัฒนะ หมายเลข 5, พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมืองหมายเลข 6, น.ส.รสนา โตสิตระกูล หมายเลข 7, นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ หมายเลข 8, น.ส.วัชรี วรรณศรี หมายเลข 9, นายศุภชัย ตันติคมน์ หมายเลข 10, น.ต.ศิธา ทิวารี ผู้สมัครพรรคไทยสร้างไทย หมายเลข 11, นายประยูร ครองยศ หมายเลข 12, นายพิศาล กิตติเยาวมาลย์ หมายเลข 13 และ นายธเนตร วงษา หมายเลข 14

แต่นั่น ยังไม่อาจฟันธงได้ว่า ใครจะได้รับเลือกตั้งในที่สุด แม้ว่า บางคนผลสำรวจความคิดเห็น (โพล) ชาว กทม. จะนอนมา ทุกสำนักก็ตาม เพราะตราบใดผลการนับคะแนนยังไม่เสร็จสิ้น ทุกคนย่อมมีสิทธิ์ลุ้นจนวินาทีสุดท้าย

\"เลือกตั้งผู้ว่า\" เช็กกระแส-ฐานเสียง-ค่านิยมคน กทม. ตัดสินแพ้หรือชนะ

ดังนั้น สิ่งที่น่าวิเคราะห์ก็คือ “ปัจจัยชี้ขาดสำคัญ” ว่า ใครจะคว้าเก้าอี้ผู้ว่าฯกทม.มาครอง หลังหย่อนบุตรเลือกตั้งในวันที่ 22 พฤษภาคม นั่นเอง

เริ่มจากกระแสความนิยมของ “ตัวเต็ง” ที่ใครต่างยกให้ “นอนมา” ว่ากันว่า ด้วยเหตุนี้ จะทำให้การเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ขาดเสน่ห์ไปอีกอย่างคือ ความคู่คี่สูสี เพราะความนิยมที่ทิ้งห่างอย่างมากนั่นเอง

 

ต่างจากศึกชิงเก้าอี้ผู้ว่าฯ กทม. เมื่อ 9 ปีที่แล้ว (2556) สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ได้คู่ต่อสู้สมน้ำสมเนื้อกัน อย่าง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร จากพรรคประชาธิปัตย์ อดีตผู้ว่า กทม. ที่ลงสมัครรักษาเก้าอี้อีกสมัย กับ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ จากพรรคเพื่อไทย ที่ได้แรงหนุนจากรัฐบาลอย่างเต็มที่

\"เลือกตั้งผู้ว่า\" เช็กกระแส-ฐานเสียง-ค่านิยมคน กทม. ตัดสินแพ้หรือชนะ

แต่ผลปรากฏว่า คน กทม. ยังคงเชื่อมั่นในตัว ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ทำให้รักษาเก้าอี้เอาไว้ได้ ด้วยคะแนนล้มหลามร้อยละ 46.26 จากผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งหมด ส่วน พล.ต.อ.พงศพัศ ผู้ท้าชิงคนสำคัญ มาเป็นอันดับสอง ด้วยคะแนนที่สูงโด่งร้อยละ 39.69 และทำให้ทั้งคู่ได้คะแนนเสียงเกินล้านเสียงเลยทีเดียว ทิ้งห่างอันดับสามไม่เห็นฝุ่น

ครั้งนั้น ถือเป็นการแข่งขันกันระหว่างสองพรรคการเมืองใหญ่อย่างชัดเจน รวมทั้งผู้สมัครทั้งสองพรรคก็โดดเด่น จนคนกทม.ยากที่จะตัดสินใจเลือกใคร ท่ามกลางกระแสชนชั้นกลางในเมืองใหญ่ ไม่เอา “ทักษิณ-พรรคเพื่อไทย” เนื่องจาก “ทักษิณ” ถูกข้อหาทุจริตเชิงนโยบายหลายเรื่อง จนชนชั้นกลางประท้วงขับไล่ ที่สุดต้องหนีโทษและคดีไปอยู่ต่างประเทศ

\"เลือกตั้งผู้ว่า\" เช็กกระแส-ฐานเสียง-ค่านิยมคน กทม. ตัดสินแพ้หรือชนะ

ทั้งยังเป็นที่รู้กันดีว่า “ทักษิณ” มีส่วนสำคัญในการผลักดัน “ปู-ยิ่งลักษณ์” ขึ้นนั่งนายกรัฐมนตรี จึงมีส่วนไม่มากก็น้อย ทำให้คะแนนผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย แพ้ผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์   

ครั้งนี้ ถ้าดูจากการวิเคราะห์ของ ผศ.ดร.สุวิชา เป้าอารีย์ ผู้อำนวยการศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ความนิยมที่มาแรงของ ดร.ชัชชาติ ผู้สมัครอิสระ แต่ถูกเชื่อมโยงกับพรรคเพื่อไทย เพราะอดีตเคยอยู่พรรคเพื่อไทย เนื่องจากคะแนน “นอนมา” ตลอด 11 ครั้งที่นิด้าโพลสำรวจ หัวข้อ “อยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม.”

ส่วน “ดร.เอ้” ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ จากพรรคประชาธิปัตย์ ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่า คะแนนวิ่งไม่ขึ้น ทั้งดูเหมือนหมดมนต์เสน่ห์จากที่ฮือฮาพอสมควรในช่วงแรก

\"เลือกตั้งผู้ว่า\" เช็กกระแส-ฐานเสียง-ค่านิยมคน กทม. ตัดสินแพ้หรือชนะ

“ดร.เอ้ แม้จะเป็นคนหน้าใหม่ มีความรู้ แต่ก่อนมาลง ปชป.รู้จักกันในวงวิชาการ ชนชั้นกลางบ้าง สื่อบ้าง แต่คนกลุ่มใหญ่ พ่อค้า แม่ค้า วินมอเตอร์ไซค์ แม่บ้าน คนนั่งรถเมล์ไม่มีใครรู้จัก

ดร.เอ้ คิดถูกที่มาลงในนาม ปชป. ฐานเสียง ส.ก.ของพรรคช่วยได้เยอะ เวลาไปหาเสียงก็ชูกันไป คนเริ่มรู้จักมากขึ้น”

ปัญหา ดร.เอ้ จึงอยู่ที่ไม่มีคนรู้จัก และเปิดตัวไม่กี่วันก็โดนถล่มทั้งเรื่องที่ไปพูดว่า เรียนกับหลานอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ อัจฉริยะด้านวิทยาศาสตร์ชื่อดังระดับโลก และยังมาถูกถล่มเรื่องร่ำรวยผิดปกติสมัยดำรงตำแหน่งอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

\"เลือกตั้งผู้ว่า\" เช็กกระแส-ฐานเสียง-ค่านิยมคน กทม. ตัดสินแพ้หรือชนะ

ผลโพลคำถามจะเลือกใครเป็นผู้ว่าฯ กทม. พบว่า ดร.เอ้ ร่วงจากครั้งที่ 9 ได้ 13.06% ครั้งที่ 10 ได้ 11.03% และครั้งที่ 11 ลงมาเหลือเพียง 8.61% คุณวิโรจน์ จากก้าวไกล เพิ่งเปิดตัว คะแนนคงที่ 8% ส่วน ดร.ชัชชาติ อยู่ที่ 38%”

ดังนั้น ปชป. และดร.เอ้ ต้องหากลยุทธ์ที่จะดันคะแนนขึ้นมาให้ได้ ส่วนของ ดร.วิโรจน์ ลักขณาอดิศร พรรคก้าวไกล ต้องหากลยุทธ์ที่จะคว้าดาวมาให้ได้มากกว่าที่เป็นอยู่

“เดิมคนคิดว่า ก้าวไกล เปิดตัวจะว้าว แต่พอเป็นคุณวิโรจน์ คนอาจเฉยๆ เพราะรู้จักอยู่แล้วในบทบาทของสภา แต่การจะทำงานท้องถิ่นต้องวิ่งให้หนักกว่าที่ทำอยู่หลายเท่า”

นอกจากนี้ ผศ.ดร.สุวิชา ยังวิเคราะห์ถึง พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง (บิ๊กวิน) ผู้ว่าฯ กทม.ว่า หากไม่นับผู้ที่ยังไม่ตัดสินใจ ถือว่า บิ๊กวิน มีคะแนนมาเป็นอันดับ 2 ส่วนหนึ่งเป็นคะแนนที่เทมาจาก พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ที่ประกาศไม่สมัครเลือกตั้ง แต่ไม่ใช่ทั้งหมด ซึ่งคะแนนของบิ๊กวินจะอยู่ที่ 11-12%

\"เลือกตั้งผู้ว่า\" เช็กกระแส-ฐานเสียง-ค่านิยมคน กทม. ตัดสินแพ้หรือชนะ

ที่สำคัญต้องไม่ลืมว่า บิ๊กวิน มีความได้เปรียบเพราะมีอำนาจรัฐในมือ สามารถแก้ปัญหาได้มากกว่าผู้สมัครคนอื่นๆ ที่เดินไปพบปัญหาในชุมชน แล้วทำได้แค่หาเสียง ส่วนบิ๊กวิน ทำได้จริง เพราะมีอำนาจสั่งการให้เขต ให้ข้าราชการลงไปแก้ไขได้ทันที

ผู้ว่าฯ อัศวิน มีฐานเสียงเดิมจาก ปชป. ดูแล กทม.มาเกือบจะ 10 ปี เป็นรองผู้ว่าฯ มาก่อนและเป็นผู้ว่าฯ จาก คสช.แต่งตั้ง ทำให้เขาคลุกคลีอยู่กับชุมชน แถมมีฐานเสียงจากที่ตั้งทีมรักษ์กรุงเทพด้วย”

“ผู้ว่าฯ อัศวิน มีจุดอ่อนที่ถูกโจมตีเหมือนกัน ข้อแรกคือ อายุมาก 70 ปีแล้ว แถมอยู่มานานและเป็นผู้ว่าฯ ที่มาจาก คสช. รวมทั้งแทงกั๊กไม่ตัดสินใจเด็ดขาด ว่าจะลงสมัครผู้ว่าฯต่อหรือไม่ ในก่อนหน้านี้”

\"เลือกตั้งผู้ว่า\" เช็กกระแส-ฐานเสียง-ค่านิยมคน กทม. ตัดสินแพ้หรือชนะ

ขณะที่ นายสกลธี ภัททิยกุล แม้จะมีจุดแข็งตรงที่เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ ความสามารถ เคยบริหาร กทม.ในฐานะรองผู้ว่าฯ กทม.มาแล้ว และมีฐานเสียงจากพรรคประชาธิปัตย์ รวมทั้งกลุ่ม กปปส.ก็ตาม แต่ไม่ได้มีอะไรที่เป็นผลงานเด่นให้คน กทม.จับต้องได้

“คะแนนจึงอยู่ระดับ 1 กว่าเท่านั้น สิ่งที่น่าห่วงคือทั้ง สกลธี ดร.เอ้ และผู้ว่าฯ อัศวิน มีฐานเสียงเดียวกัน จึงเสี่ยงตัดคะแนนกันเอง ถ้าคิดจะสู้กับอาจารย์ชัชชาติ อาจจะเหนื่อย ต้องคิดกลยุทธ์กันให้ดีๆ”

ส่วน น.ส.รสนา โตสิตระกูล มีจุดเด่นมากตรงที่เป็นคนที่มุ่งมั่นลงชิงผู้ว่าฯ กทม. และเป็นคนที่มีฐานเสียงที่มั่นคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่ที่ 3% กว่าๆ แต่มีจุดอ่อนมากตรงที่มีผลงานโดดเด่นอยู่แค่เรื่องของพลังงาน และกระทรวงสาธารณสุข ด้วยการผลักดันให้ฟ้าทะลายโจรเข้าไปอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ

\"เลือกตั้งผู้ว่า\" เช็กกระแส-ฐานเสียง-ค่านิยมคน กทม. ตัดสินแพ้หรือชนะ

“คุณรสนา ต้องปรับกลยุทธ์ปรับภาพกว้างให้ครอบคลุมเรื่องของท้องถิ่น เพราะท้องถิ่นไม่ได้มีแค่ 2 เรื่อง และจุดด้อยยังเหมือนคนอื่น คือเห็นปัญหาพูดได้ก็แค่หาเสียง แต่ไม่มีอำนาจรัฐเหมือนผู้ว่าฯ อัศวิน”

ผศ.ดร.สุวิชา ยังบอกด้วยว่า สิ่งที่ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.จะต้องทำการบ้านหรือต้องทำงานหนักในเวลานี้คือ ทำอย่างไรที่จะดึงคะแนนของตัวเองขึ้นมาให้ได้ รวมไปถึงจะต้องทำอย่างไรให้คะแนน ดร.ชัชชาติ ลดลงมาเท่านั้น ซึ่งจะเป็นเรื่องยากหรือไม่นั้น อยู่ที่ผู้สมัครและพรรคที่สังกัด

“คะแนนอาจารย์ชัชชาติ ขาดลอยเรียกว่าติดลมบนไปแล้ว เพียงแค่อยู่เฉยๆ ถนอมตัว รักษาฐานเสียงนี้ไว้เพื่อไปให้ถึงเส้นชัยในการเลือกตั้งก็สบายๆ แล้ว แต่ประมาทไม่ได้ เพราะจะต้องมีขบวนการขุดคุ้ยเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่าง เพื่อไทย ทักษิณ และอาจารย์ชัชชาติ ออกมาถล่มแน่ๆ ซึ่งก็อยู่ที่อาจารย์ชัชชาติ จะทำความจริงให้กระจ่างอย่างไร และที่ไม่มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.สักที อาจเพราะรู้กันอยู่ว่า อาจารย์ชัชชาติ ได้เป็นผู้ว่าฯ กทม.แน่นอน”

\"เลือกตั้งผู้ว่า\" เช็กกระแส-ฐานเสียง-ค่านิยมคน กทม. ตัดสินแพ้หรือชนะ

อย่างไรก็ตาม ด้วยความนิยมที่ทิ้งห่างคนอื่นของ “ชัชชาติ” ทำให้ ผศ.ดร.สุวิชา ถึงขั้นบอกว่า มีอยู่เพียง 2 แนวทางเท่านั้น ที่จะทำให้การต่อสู้สูสี

แนวทางที่ 1 ความโดดเด่นของผู้สมัครหน้าใหม่ที่มีคุณสมบัติ หรือสเปกดังนี้คือ

1.ต้องเป็นผู้สมัครที่คน กทม.รู้จัก และมีผลงานโดยไม่จำเป็นต้องเป็นคน กทม.โดยตรง

2.มีภูมิหลังการทำงานที่โปร่งใส ไม่ด่างพร้อย

3.วัยวุฒิใกล้เคียงกับ ดร.ชัชชาติ คือประมาณ 55 ปี หรืออ่อนกว่านั้นก็ได้

4.มีวาทศิลป์ มีเทคนิคและกลยุทธ์ใหม่ในการบริหารท้องถิ่น

\"เลือกตั้งผู้ว่า\" เช็กกระแส-ฐานเสียง-ค่านิยมคน กทม. ตัดสินแพ้หรือชนะ

“ถ้ามองไปที่ผู้ว่าฯ หมูป่า (ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าฯ ปทุมธานี) บอกว่า ใช่เลย จะเป็นคู่ต่อสู้กับอาจารย์ชัชชาติ ได้อย่างดี

การแข่งขันจะสนุก คนจะให้ความสนใจมาก แต่ผู้ว่าฯ หมูป่า ก็ปฏิเสธไปแล้ว... แต่ในส่วนตัวผมยังคิดว่าเทียบอาจารย์ชัชชาติไม่ได้ และมาดามแป้ง คงไม่มาลงแน่นอน แค่มีชื่อติดโผหลายๆ ครั้งเท่านั้น ส่วนคนอื่นยังมองไม่เห็นใคร”

แนวทางที่ 2 เป็นเรื่องที่เป็นไปได้และไม่ได้ คือ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.ที่มีฐานเสียงกลุ่มเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้ว่าฯ อัศวิน ดร.เอ้ นายสกลธี และน.ส.รสนา น่าจะหารือกันและตัดสินใจส่งผู้สมัครเพียงคนเดียวที่มีภาษีดีที่สุดไปแข่งขันกับ ดร.ชัชชาติ

“วิธีนี้คือการเทคะแนนให้กัน ส่วนตัวผมคิดว่า ผู้ว่าฯ อัศวิน น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด ทั้งเรื่องฐานเสียงเก่าและที่สร้างใหม่ อำนาจรัฐที่อยู่ในมือคือความได้เปรียบ จะมีจุดอ่อนมากก็คือเรื่องอายุมากเกินไปเท่านั้น”

\"เลือกตั้งผู้ว่า\" เช็กกระแส-ฐานเสียง-ค่านิยมคน กทม. ตัดสินแพ้หรือชนะ

นี่คือ 2 แนวทางในการต่อสู้กับ ดร.ชัชชาติ ที่มีโอกาสสู้กันแบบสูสีไม่ห่างชั้นกันมาก ยกเว้นแต่ว่า ดร.ชัชชาติ จะสะดุดขาตัวเอง หรือมีใครขุดคุ้ยเรื่องเก่าๆ มาโจมตีและ ดร.ชัชชาติ ตอบไม่ได้เท่านั้น

“แต่ในใจผมคิดว่า อาจารย์ชัชชาติ ไม่มีอะไรเสียหายที่จะทำให้สะดุดขาตัวเอง เพราะเดินแบบถนอมตัวเพื่อเข้าสู่เส้นชัยในตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.อยู่แล้ว”...

ปัจจัยสำคัญอีกอย่าง และยังไม่มีการสำรวจอย่างชัดเจนว่าในปัจจุบันเป็นอย่างไร คือ ประชากรใน กทม. ประกอบไปด้วย คนที่ย้ายเข้าออกมากน้อยแค่ไหน เพราะนั่นอาจหมายถึงค่านิยม หรือความนิยมในการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ตามไปด้วย

 

ที่พอทำให้เห็นภาพได้บ้าง คือข้อมูลจากสำมะโนประชากรและเคหะ เมื่อจำแนกผู้ย้ายถิ่นในกรุงเทพฯ ตามภาคที่อยู่ก่อนย้ายเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ พบว่า

ในปี 2533 และ 2543 ผู้ย้ายถิ่นเข้ากรุงเทพส่วนใหญ่มาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) แต่มีสัดส่วนลดลงเล็กน้อยจากปี 2533 คิดเป็นร้อยละ 45.1 ลดลงเหลือร้อยละ 37.7 ในปี 2543 สำหรับผู้ย้ายถิ่นที่มาจากภาคกลาง ภาคเหนือ และต่างประเทศ มีสัดส่วนระหว่างปี 2533 และ 2543 ไม่แตกต่างมากนัก ยกเว้นผู้ย้ายถิ่นที่มาจากภาคใต้ที่มีเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า คือจากร้อยละ 9.7 ในปี 2533 เป็นร้อยละ 17.6 ในปี 2543

ทั้งนี้ สาเหตุของการย้ายถิ่นเข้ากรุงเทพฯ อันดับแรกคือ หางานทำ รองลงมา คือ ติดตามบุคคลในครอบครัว ซึ่งมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันทั้งในปี 2533 และ 2543 และการย้ายถิ่นเพื่อการศึกษา และหน้าที่การงาน ตามลำดับ

อย่าลืมว่า ภาคอีสาน คือ เมืองหลวงของเพื่อไทย และฐานที่มั่นใหญ่ของ “คนเสื้อแดง” และ “คนรักทักษิณ” แม้ว่า ความเข้มข้นของกระแสนิยมอาจคลี่คลายลงบ้าง ก็ตาม

ส่วนภาคใต้ ต้องยอมรับเช่นกันว่า ความนิยมที่มีต่อพรรคประชาธิปัตย์ ก็ยังคงเหนียวแน่น ไม่ว่าจะไปอยู่ที่ไหน หัวใจ “ประชาธิปัตย์” ก็ยังคงอยู่ เพราะได้ชื่อว่า พรรคของคนปักษ์ใต้ไปแล้ว

\"เลือกตั้งผู้ว่า\" เช็กกระแส-ฐานเสียง-ค่านิยมคน กทม. ตัดสินแพ้หรือชนะ

เมื่อเป็นเช่นนี้ ผล “แพ้-ชนะ” เลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. อาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหนึ่งปัจจัยเดียว แต่อาจต้องมองในหลายปัจจัยประกอบกัน ซึ่งวันนี้ใครก็มีสิทธิ์ลุ้น “ชนะ” ได้ เพราะกว่าจะถึงวันเลือกตั้ง ใครมีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไร ก็น่าจะรู้กันหมดแล้ว เหลือก็แต่ใครจะสามารถเติมเต็มในสิ่งที่ขาดได้มากกว่ากันเท่านั้น

อย่าคิดว่า แค่ผลสำรวจ “นอนมา” ก็ชนะแล้ว!?