โอกาสการค้าข้ามพรมแดนอันเนื่องมาจากรถไฟลาว-จีน | ดนัยธัญ พงษ์พัชราธรเทพ

โอกาสการค้าข้ามพรมแดนอันเนื่องมาจากรถไฟลาว-จีน | ดนัยธัญ พงษ์พัชราธรเทพ

ขณะนี้รถไฟลาว-จีนก็ได้เริ่มดำเนินการแล้ว ประเทศไทยเองก็ควรติดตามการข่าวสารอย่างใกล้ชิด เพื่อให้สามารถปรับตัวและเตรียมพร้อมดำเนินธุรกิจข้ามพรมแดนได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที

การศึกษาโอกาส E-commerce ไปยังจีนของผู้ประกอบการรายเล็กที่ได้รับการสนับสนุนจากแผนงานคนไทย 4.0 ภายใต้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) พบว่า การค้าข้ามพรมแดนกับจีนแบ่งออกเป็น 2 วิธีการหลัก คือ วิธีการดำเนินธุรกิจการค้าแบบดั้งเดิม (General Trade) และแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน (Cross-border-E-commerce : CBEC) ที่มีรูปแบบ ข้อจำกัด และกฎระเบียบที่แตกต่างกัน 

จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต่างชาติจำเป็นต้องทราบ เพื่อที่จะได้พิจารณาศักยภาพของสินค้าหรือบริการของตนเอง รวมทั้งทำความเข้าใจและศึกษาโดยละเอียดว่าการค้าแบบ CBEC นั้นแท้ที่จริงแล้วจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าสู่ตลาดจีนและสามารถทำกำไรในตลาดที่มีการแข่งขันสูงเช่นนี้ได้หรือไม่

ขณะนี้รถไฟลาว-จีนก็ได้เริ่มดำเนินการแล้ว ประเทศไทยเองก็ควรติดตามการข่าวสารอย่างใกล้ชิด เพื่อให้สามารถปรับตัวและเตรียมพร้อมดำเนินธุรกิจข้ามพรมแดนได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที

กฎระเบียบดังกล่าวถือเป็นหลักเกณฑ์ใหม่ที่ทำให้อัตราภาษีสำคัญหลายรายการลดลง เช่น

1) การปรับลดภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องเสีย จากอัตราร้อยละ 11.2 ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 9.1
2) การเพิ่มโควตาการซื้อสินค้าหรือบริการบน CBEC จากเดิมที่ชาวจีนสามารถซื้อได้เพียง 2,000 หยวนต่อคนต่อครั้ง และ 20,000 หยวนต่อคนต่อปี ปรับใหม่เป็น 5,000 หยวนต่อคนต่อครั้ง และ 26,000 หยวนต่อคนต่อปี
3) การเพิ่มหมวดหมู่สินค้าและบริการที่สามารถซื้อ-ขายผ่านช่องทาง CBEC จากเดิม 1,142 พิกัดในปี 2560 เพิ่มเป็น 1,413 พิกัดในปี 2563

โอกาสการค้าข้ามพรมแดนอันเนื่องมาจากรถไฟลาว-จีน | ดนัยธัญ พงษ์พัชราธรเทพ

การปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์ดังกล่าว ช่วยส่งเสริมการนำเข้าสินค้ากลุ่มเครื่องอุปโภคบริโภคคุณภาพสูง เป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยที่ผลิตสินค้าโดยการนำเข้าสินค้าผ่านช่องทาง CBEC ช่วยลดความยุ่งยากในการดำเนินพิธีการศุลกากรและลดต้นทุนทางภาษี

ทั้งนี้ สำหรับสินค้าไทยยังมีสินค้าอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นระดับพรีเมียม ที่อาจเลือกใช้วิธีการจำหน่ายแบบ B2C CBEC ได้คือ “ผลไม้สดเกรดพรีเมียม” ซึ่งอยู่ในแนวทางการศึกษาวิจัยที่ผู้เขียนจะดำเนินการในขั้นต่อไป

อย่างไรก็ดี การนำเข้าสินค้าผ่านช่องทาง CBEC ก็ต้องคำนึงถึงต้นทุนการบริหารจัดการสินค้าคงคลังในคลังสินค้าทัณฑ์บน กรณีที่ผู้ประกอบการเลือกใช้วิธีการแบบ B2B2C ซึ่งวิธีการนี้เหมาะกับสินค้าที่มีมูลค่าไม่สูงและมีความต้องการในตลาดจีนแล้วในระดับหนึ่ง

ขณะที่สินค้ามูลค่าสูงอาจเลือกวิธีการจำหน่ายแบบ B2C เพื่อลดต้นทุนสินค้าคงคลังแต่ควรวางระบบการขนส่งข้ามแดนที่รวดเร็ว เพราะปัจจุบันพฤติกรรมผู้ซื้อไม่นิยมรอสินค้าเป็นเวลานาน คราวหน้ามาศึกษาเรื่องราวของ CBEC Provider Paltform นะครับ

ถ้าเริ่มต้นได้ก่อนก็จะได้ถึงเส้นชัยได้ก่อนครับ!! สามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ฟรีที่ https://www.khonthai4-0.net

คอลัมน์ อนาคตคนไทย 4.0
ดนัยธัญ พงษ์พัชราธรเทพ
วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่