ลานีญา-ท่วม ส่วนเอลนีโญ-แล้ง ถอดบทเรียนธุรกิจรับมือสภาพอากาศสุดขั้ว

ลานีญา-ท่วม ส่วนเอลนีโญ-แล้ง ถอดบทเรียนธุรกิจรับมือสภาพอากาศสุดขั้ว

ประสบการณ์ “เมืองจมน้ำ” เมื่อไม่กี่วันก่อนคงจดจำอยู่ในเมมโมรี่ของใครหลายคน เพราะฝนที่กระหน่ำตกอย่างมากและเป็นเวลานานทำให้น้ำท่วมในหลายพื้นที่ จนเป็นเหตุให้รถติดสาหัสช่วงเวลาเร่งด่วนยามเย็นย้ำจนถึงค่ำคืนกว่าจะถึงที่พักอาศัยก็แทบหมดแรง

เหตุการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญแต่เป็นผลส่วนหนึ่งจากสภาพอากาศที่แปรปรวนแบบสุดขั้วแม้จะไม่ใช่สาเหตุหลักของเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นนี้ แต่เราก็ควรทำความเข้าใจและรู้จักปรากฎการณ์ ลานีญา (La Niña) หมายถึง สภาวะฝนตกชุก น้ำมาก เมื่อผิวน้ำทะเลที่มีอุณหภูมิสูงถูก สะสมปริมาณมาก ไอความร้อนจาก กระแสน้ำอุ่นจะถูกสะสมเพิ่มขึ้น ก่อตัวเป็นไอน้ำลอยตัวขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศ กลั่นตัวเป็นเมฆฝน

ส่วนเอลนีโญ (El Niño) หมายถึง สภาวะร้อน แห้งแล้ง จากอิทธิพลจากความเย็นแห้งของน้ำทะเลที่ยกตัวขึ้นมาแทนที่ผิวน้่าอุ่น

ส่งผลให้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น เกิดภัยแล้ง ฤดูหนาวอุ่นกว่าปกติหรือเป็นปัจจัยให้ภัยหนาวยาวนานขึ้น

ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติต่างๆไม่ได้กระทบต่อประชาชนทั่วไปเท่านั้นแต่ยังมีผลไปถึงแผนธุรกิจด้านต่างๆด้วย

พิษณุ มิลินทานุช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการทั่วไป สายงานขาย การตลาดและบริการ บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด  กล่าวว่า ภาวะโลกร้อนมีผลกระทบโดยตรงต่อเกษตรกรโดยเฉพาะการทำให้เกิดเอลนีโญทำให้เกิดน้ำแล้ง และลานีญาที่ทำให้เกิดน้ำท่วมทำให้ไร่นาหรือสวนต่างๆเสียหายอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งแน่นอนส่งผลกระทบกับคูโบต้าในเรื่องของยอดจำหน่ายอย่างมาก อย่างไรก็ตามทางคู

โบต้าได้มีการปรับตัวในเรื่องของต้นทุนมากขึ้นเพื่อควบคุมการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลกร้อนในปัจจุบัน

แต่แนวโน้มการทำเกษตรและความต้องการเครื่องจักรกลเกษตรมีมากขึ้น แต่จากสถานการณ์โควิด -19 ที่ผ่านมา ประกอบกับการเผชิญปัญหาขาดแคลนแรงงาน ทำให้เกษตรกรต้องการใช้เครื่องทุ่นแรงมากขึ้น จึงทำให้มูลค่าตลาดเครื่องจักรกลการเกษตรช่วงครึ่งแรกของปี 2565 มีอัตราการเติบโตอยู่ที่ประมาณ 10% ปัจจัยมาจากการขยายตัวของสินค้าแทรกเตอร์ในกลุ่มพืชไร่ อย่าง มัน อ้อย ข้าวโพด และ ยาง ปาล์ม เนื่องจากทิศทางราคาปรับตัวดีขึ้นจากผลกระทบของเศรษฐกิจโลกที่มีความต้องการพืชอาหารและพืชพลังงานมากขึ้น นอกจากนี้ปัจจัยด้านราคาและสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยมีส่วนช่วยทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น และมีนโยบายจากภาครัฐที่สนับสนุน Smart Farming เกษตรอัจฉริยะที่เน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาบริหารจัดการ และนโยบาย Zero Burn เกษตรปลอดการเผา มีส่วนสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการใช้เครื่องจักรกลเกษตรเพิ่มมากขึ้น

ในปัจจุบัน กลุ่ม Non-Farmer ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่เคยทำงานประจำสนใจทำธุรกิจการเกษตรมากขึ้น ทำให้ตลาดเครื่องจักรกลเกษตรขยายตัวมากขึ้น จึงมีการปรับแนวคิดการทำตลาดรวมถึงการพัฒนาเครื่องมือให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ มากขึ้น โดยเน้นการทำตลาด ภายใต้แนวคิด “Better Together” เพื่อช่วยยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน ด้วยการพัฒนาสินค้าและ Solutions พร้อมทั้งองค์ความรู้ ให้ตรงกับความต้องการของเกษตรกร ที่ช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลิต ลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดความผันแปรจากสภาพดินฟ้าอากาศ

ทั้งนี้ คูโบต้า ได้ใช้ความเชี่ยวชาญและมุ่งมั่นที่จะนำเครื่องจักรกลการเกษตรเข้ามาช่วย ให้เกษตรกรทำงานได้สะดวกสบายมากขึ้น แต่ต่อไปในอนาคต คูโบต้าจะพาเกษตรกรก้าวไปสู่อนาคตของโลกเกษตร ที่จะเปลี่ยนเกษตรกรให้มาทำเกษตรกรรมที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การเพาะปลูกเท่านั้น แต่มองภาพรวมตลอดทั้ง Supply Chain มีการวางแผนตั้งแต่ต้นจนถึงการส่งมอบผลผลิตให้ถึงมือผู้บริโภค เพื่อสร้างโอกาสทางการเกษตรได้มากกว่าที่เคยเป็น สำหรับในช่วงครึ่งปีหลังเตรียมดึงแผนกลยุทธ์ 3EX เพิ่มขีดความสามารถของการแข่งขันของเกษตรกรไทย ได้แก่ EXperimentationรวบรวมและทดลองเพื่อพัฒนาโซลูชันด้านการเกษตร เสริมองค์ความรู้ในเรื่องของนวัตกรรมให้กับสังคมเกษตรร่วมกับหน่วยงานต่างๆ EXperience การนำโซลูชันนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่มาถ่ายทอดผ่าน “คูโบต้าฟาร์ม ฟาร์มสร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่” ขยายองค์ความรู้สู่เกษตรกรและบุคคลทั่วไป และ EXpansion การส่งต่อองค์ความรู้และขยายผลสู่ภูมิภาค ผ่านโครงการชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า และโครงการคูโบต้าร่วมมือ เกษตรร่วมใจ (KUBOTA and Farmer Cooperation) เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ไปยังเกษตรกรไทยทุกกลุ่มเพื่อก้าวสู่ความยั่งยืนไปด้วยกันอย่างยั่งยืน