เปิดโมเดล 'มาบตาพุดคอมเพล็กซ์' ปฏิวัติขยะอุตสาหกรรม 1.8 แสนตัน

เปิดโมเดล 'มาบตาพุดคอมเพล็กซ์' ปฏิวัติขยะอุตสาหกรรม 1.8 แสนตัน

"กนอ." เปิดโมเดล 'มาบตาพุดคอมเพล็กซ์' ปฏิวัติขยะอุตสาหกรรมกว่า 1.8 แสนตันต่อปี ขับเคลื่อนประเทศสู่เป้าหมาย Net Zero

KEY

POINTS

  • กนอ. ซึ่งมีนิคมฯ 71 แห่ง 1 ท่าเรือ สิ่งสำคัญสุดคืออยู่ใต้กระทรวงอุตสาหกรรม โดยเป็นผู้ใช้พลังงานเยอะสุดหนึ่งหน่วยของประเทศ และมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ 
  • กนอ. จะช่วยลดคาร์บอนอย่างเป็นระบบ จึงต้องทำเซอร์คูลาร์อีโคโนมี ในพื้นที่ทดลอง "มาบตาพุดคอมเพล็กซ์" เพื่อให้เกิดการพึ่งพาอาศัยกันและกัน จนถึงการจัดการของเสียในวงจรแบบปิด ภายในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม
  • จากรายงานปริมาณของเสียอันตรายใน 28 นิคมอุตสาหกรรมพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก มีจำนวน 560,464 ตันต่อปี ขณะที่ปริมาณของเสียอันตรายในกลุ่มพื้นที่มาบตาพุดคอมเพล็กซ์ มีจำนวน 183,363 ตันต่อปี

นายสุเมธ ตั้งประเสริฐ กรรมการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ในฐานะรักษาการผู้ว่าการ กนอ. เปิดเผยว่า จุดแข็งของ กนอ. ซึ่งมีนิคมฯ 71 แห่ง 1 ท่าเรือ สิ่งสำคัญสุดคืออยู่ใต้กระทรวงอุตสาหกรรม โดยเป็นผู้ใช้พลังงานเยอะสุดหนึ่งหน่วยของประเทศ และมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ 

ดังนั้น จะทำอย่างไรให้ กนอ. มีส่วนช่วยส่งเสริมทำให้กลไกการมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ของประเทศสำเร็จง่ายขึ้น ดังนั้น การเปลี่ยนผ่านคาร์บอนฟุตพริ้นท์จึงต้องใช้เครื่องมือที่มีหลายตัว ซึ่ง กนอ. มีความพร้อมระดับหนึ่ง โดยได้เตรียมตัวมาหลายปี เพื่อจะเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมไปสู่กรีนอีโคโนมี     

ทั้งนี้ กนอ. จะช่วยลดคาร์บอนอย่างเป็นระบบ ถือเป็นธุรกิจและทำตัวเองเป็นเมือง รับนิเวศในนคมอุตสาหกรรมมีทั้งน้ำเสียที่ปล่อยมาจากโรงงาน จึงต้องทำให้เกิดเซอร์คูลาร์อีโคโนมี จึงต้องทำเป็นพื้นที่ทดลอง (Sandbox) สร้างนิคมฯ ให้แข็งแรงผ่าน มาบตาพุดคอมเพล็กซ์ (Maptaphut Complex) เพื่อให้เกิดการพึ่งพาอาศัยกันและกัน (Symbiosis) จนถึงการจัดการของเสียในวงจรแบบปิด (Closed Loop) ภายในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม

อย่างไรก็ตาม จากรายงานปริมาณของเสียอันตรายใน 28 นิคมอุตสาหกรรมพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก มีจำนวน 560,464 ตันต่อปี ขณะที่ปริมาณของเสียอันตรายในกลุ่มพื้นที่มาบตาพุดคอมเพล็กซ์ มีจำนวน 183,363 ตันต่อปี

"เรามีพื้นที่เหมาะสม ผ่านกลไกเริ่มต้นตั้งแต่การสร้างระบบเทรดดิ้ง เขื่อมโยงเวิลด์แบงก์ กระทรวงการคลัง ลิงค์โรงงานอุตสาหกรรมให้เข้าเทรด โดยผ่านการเตรียมดาต้าแพลตฟอร์มที่ กนอ. สร้างขึ้น เพื่อรับมือความท้าทายด้านดิจิทัล เทคโนโลยี และความยั่งยืน โดยส่งเสริมเศรษฐกิจสีเขียวผ่านนิคมอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ พร้อมยกระดับโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว เพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน สนับสนุนพลังงานสะอาด จัดการของเสียผ่านมาบตาพุด แซนด์บ็อกซ์ และพัฒนาเทคโนโลยีดักจับคาร์บอน"

ทั้งนี้ กนอ. จะสร้างกลไก Carbon Finance ร่วมกับ World Bank พัฒนาตลาดคาร์บอนเครดิต และตั้ง CME เป็นศูนย์กลางความร่วมมือภาครัฐ-เอกชน โดย กนอ.พร้อมผลักดันอุตสาหกรรมไทยลดก๊าซเรือนกระจก สร้างเศรษฐกิจยั่งยืน และยกระดับไทยเป็นศูนย์กลางการลงทุนสีเขียวในภูมิภาค

ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารจัดการกากของเสียให้มีประสิทธิภาพ เพื่อลดปัญหาการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม ยกระดับมาตรฐานการจัดการของเสียอุตสาหกรรม สร้างความเชื่อมั่นต่อภาคอุตสาหกรรมและประชาชน ทั้งยังเป็นการสนับสนุนเป้าหมาย (Net Zero) และเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) 

ทั้งนี้ ภายในปี 2568 จะมีการขับเคลื่อนอีกหลายกิจกรรม/โครงการเกี่ยวกับการจัดการของเสียภายในมาบตาพุดคอมเพล็กซ์ อาทิ การตั้งศูนย์จัดการทรัพยากร ที่จะเป็นศูนย์ในการสนับสนุน พัฒนา และควบคุมในภาพรวม, พัฒนารูปแบบเชิงธุรกิจของศูนย์และแพลตฟอร์มเศรษฐกิจหมุนเวียน (CE-Center & Platform), ศึกษาและออกแบบแผนแม่บทการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย (Waste Flow Analysis & Master Plan), สนับสนุนเทคโนโลยีจัดการของเสียในวงจรแบบปิด (Closed Loop), ผลักดันการปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้  

และในปี 2569 จะขยายกิจกรรม/โครงการต่างๆ ไปใน 14 นิคมอุตสาหกรรม ที่ กนอ.ดำเนินการเอง ซึ่งระหว่างปี 2570-2575 กนอ.จะร่วมลงทุนกับเอกชนสร้าง CE-Center และ ศูนย์รวบรวมขยะอุตสาหกรรม (CE-Transfer Station) ในมาบตาพุดคอมเพล็กซ์ และ 14 นิคมอุตสาหกรรม