"สภาพัฒน์" แถลงจีดีพีไทยปี 2567 ทั้งปีขยายตัว 2.5% คาดปี 2568 ขยายตัว 2.3 - 3.3%

"สภาพัฒน์" แถลงจีดีพีไทยปี 2567 ทั้งปีขยายตัว 2.5% คาดปี 2568 ขยายตัว 2.3 - 3.3%

“สภาพัฒน์” แถลงภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2567  GDP ขยายตัว 2.5% เร่งขึ้นจาก 2% ปีก่อน คงประมาณการ GDP ปี 2568 ขยายตัวได้ 2.3 – 3.3% ค่ากลาง 2.8%  

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสที่ 4/2567 และภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2567 และแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2568

 เศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 4 ขยายตัวได้ 3.2% โดยการผลิต และค่าใช้จ่ายปรับตัวดีขึ้นทุกตัว โดยการลงทุนรวมขยายตัว 5.1% โดยภาครัฐขยายตัวได้ 39.4% และการส่งออกสินค้าขยายตัวได้ 8.9%  อย่างไรก็ตามการลงทุนภาคเอกชนยังติดลบ 2.1%

โดยเมื่อปรับฤดูกาลแล้วเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2567 เมื่อปรับฤดูกาลแล้วขยายตัว 0.4%

 

รวมเศรษฐกิจไทยปี 2567 ขยายตัว 2.5% เร่งขึ้นจากการขยายตัว 2% ในปี 2566 ด้านการใช้จ่าย การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน และการอุปโภคภาครัฐบาลขยายตัว 4.4% และ 2.5% ตามลำดับ การลงทุนภาครัฐขยายตัว 4.8%

ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนลดลง 1.6% ส่วนมูลค่า การส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. ขยายตัว 5.8% ด้านการผลิต สาขาที่พักแรม และบริการ ด้านอาหาร สาขาการขนส่ง และสถานที่เก็บสินค้า สาขาการขายส่ง และการขายปลีก และสาขาก่อสร้าง ขยายตัว 9.5%  9.0%  3.8% และ1.3% ตามลำดับ

ขณะที่สาขาการผลิตสินค้า อุตสาหกรรม และสาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง ลดลง 0.5% และ 1.0% ตามลำดับ

รวมทั้งปี 2567 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) อยู่ที่ 18.58 ล้านล้านบาท (5.26 แสนล้าน ดอลลาร์ สรอ.) เพิ่มขึ้นจาก 17.95 ล้านล้านบาท (5.15 แสนล้านดอลลาร์ สรอ.) ในปี 2566

ผลิตภัณฑ์ มวลรวมในประเทศต่อหัวของคนไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 264,607.7 บาทต่อคนต่อปี (7,496.0 ดอลลาร์ สรอ. ต่อคน ต่อปี) เพิ่มขึ้นจาก 256,345.4 บาทต่อคนต่อปี (7,363.3 ดอลลาร์ สรอ. ต่อคนต่อปี) ในปี 2566

สำหรับ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.0 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ 0.4% และ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 2.3 ของ GDP

ทั้งนี้ สศช.ยังคงประมาณการจีดีพีปี 2568 ที่ 2.3 – 3.3% หรือค่ากลาง 2.8%

\"สภาพัฒน์\" แถลงจีดีพีไทยปี 2567 ทั้งปีขยายตัว 2.5% คาดปี 2568 ขยายตัว 2.3 - 3.3%

สำหรับรายละเอียดการคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2568 

ได้แก่ 1.การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค ประกอบด้วย

(1) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค ภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.3 ต่อเนื่องจากร้อยละ 4.4 ในปี 2567 และเป็นการปรับเพิ่มจาก การประมาณการครั้งก่อนที่ร้อยละ 3.0 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากตลาดแรงงานที่อยู่ในเกณฑ์ดี และอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับต่ำ

(2) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคภาครัฐบาลคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.3 ชะลอ ลงจากร้อยละ 2.5 ในปี 2567 และลดลงจากร้อยละ 2.1 ในการประมาณการครั้งก่อน เนื่องจากการปรับ สมมติฐานที่เปลี่ยนกรอบการเบิกจ่ายภายใต้กรอบงบประมาณประจำปี 2568 ในส่วนของงบกลาง รายการ ค่าใช้จ่ายในการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ ไปใช้สำหรับการดำเนินโครงการ กระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล รวมถึงการปรับลดกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2569

2. การลงทุนรวมคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.6 เทียบกับร้อยละ 0.0 โดย

(1) การลงทุน ภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.2 ฟื้นตัวจากการลดลงร้อยละ 1.6 และเป็นการปรับเพิ่มจาก ประมาณการครั้งก่อนที่ร้อยละ 2.8 สอดคล้องกับการฟื้นตัวของการส่งออกสินค้า และการขยายตัวต่อเนื่อง ของปริมาณการนำเข้าสินค้าทุน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากแนวโน้มการขอรับการส่งเสริมการลงทุนใ นช่วง ปี 2567 ที่เพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่

(2) การลงทุนภาครัฐ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.7 ต่อเนื่องจากร้อยละ 4.8 ในปี 2567 และเป็นการปรับลดลงจากร้อยละ 6.5 ในการประมาณการครั้งก่อน เนื่องจากการปรับสมมติฐานที่เปลี่ยนกรอบการเบิกจ่ายภายใต้กรอบงบประมาณประจำปี 2568 ในส่วนของ งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ ไปใช้สำหรับ การดำเนินโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล

3. มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.5 ต่อเนื่องจาก ร้อยละ 5.8 ในปี 2567 ตามแนวโน้มการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของปริมาณการค้าโลก และการฟื้นตัวของ ภาคการส่งออกสินค้าในช่วงครึ่งหลังของปี 2567

ขณะที่ราคาส่งออกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในช่วงร้อยละ 0.0 - 1.0 ปรับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ (-0.2) - 0.8 ชะลอลงจากร้อยละ 1.4 ในปี 2567

เมื่อรวมกับการส่งออกบริการ ที่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ส่งผลให้ปริมาณการส่งออกสินค้า และบริการในปี 2568 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวร้อยละ 5.3 เทียบกับร้อยละ 7.8 ในปีก่อนหน้า และปรับเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 4.2 ในการประมาณการครั้งก่อน

 

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์