ไทยใช้เวทีจับคู่เจรจาธุรกิจ RCEP ไทย-จีน ดึงทัพนักธุรกิจจีนลงทุนไทย

ไทยใช้เวทีจับคู่เจรจาธุรกิจ RCEP ไทย-จีน ดึงทัพนักธุรกิจจีนลงทุนไทย

“ภูมิธรรม“ ใช้เวทีประชุม RCEP Business  Opportunities Matchmaking (จีน-ไทย)  ดึงทัพนักธุรกิจจีน 140 ราย ลงทุนไทย พร้อมอำนวยความสะดวกทุกด้าน พร้อมใช้ข้อตกลงฯ RCEP ให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้า บริการ โลจิสติกส์ ขยายการส่งออก หวังดันจีดีพีไทยเพิ่ม

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม RCEP Business Opportunities Matchmaking (จีน-ไทย) เพื่อเชิญชวนนักธุรกิจที่มีศักยภาพจีนกว่า 140 ราย ใน 10 สาขาเศรษฐกิจ จาก 60 สมาคมมาลงทุนในไทย ใช้ประโยชน์จากข้อตกลงเขตการค้าเสรี RCEP(ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค) เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ GDP ประเทศ ซึ่งรัฐบาลไทยพร้อมสนับสนุนและอำนวยความสะดวกภาคเอกชน 

ทั้งนี้ไทยกับจีนความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันกันมายาวนาและในปี 2568  จะครบรอบ 50 ปี หุ้นส่วนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ไทย-จีน โดยจีนถือเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทยมาตลอด 12 ปีที่ผ่านมา การค้าสองฝ่ายมีมูลค่าสูงถึง 105,000 ล้านดอลลาร์ คิดเป็น  18 %  ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย ซึ่งเติบโตอย่างต่อเนื่องจากความตกลง FTA

โดยเฉพาะ RCEP ซึ่งจีนเป็นหัวหอกขับเคลื่อนที่สำคัญและ RCEP เป็น FTA ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และไทย-จีน ยังเป็นสมาชิกภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA) ที่อยู่ระหว่างการยกระดับให้ทันสมัย ซึ่งหวังว่าไทย-จีน จะขยายโอกาสทางการค้าทั้งสินค้า บริการและการลงทุนระหว่างกัน ผ่านความตกลง RCEP อย่างต่อเนื่อง ช่วยให้ผู้ประกอบการมีวัตถุดิบที่หลากหลาย ส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ขยายเครือข่ายภาคการผลิต และกระจายสินค้าในภูมิภาค เชื่อมโยงสู่ห่วงโซ่คุณค่าโลกผ่านการใช้สิทธิพิเศษผ่านข้อตกลงดังกล่าว 

ไทยใช้เวทีจับคู่เจรจาธุรกิจ RCEP ไทย-จีน ดึงทัพนักธุรกิจจีนลงทุนไทย

นายภูมิธรรม กล่าวว่า รัฐบาลพร้อมสนับสนุนภาคเอกชนจีนใช้ประโยชน์จากข้อตกลง RCEP ซึ่งจะนำไปสู่การขยายมูลค่าการค้า และ GDP ของภูมิภาค RCEP ให้เติบโตขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะการตั้งฐานการผลิตในไทย ในสาขาอุตสาหกรรมต่างๆโดยเฉพาะอุตสาหกรรม S-Curve ที่เป็นเป้าหมายในการต่อยอดอุตสาหกรรมไทยให้มีศักยภาพมากขึ้นในอนาคต

ปัจจุบันกระทรวงพาณิชย์สร้างเครือข่ายทางธุรกิจระหว่างเอกชนสองฝ่าย โดยทำงานลงลึกในพื้นที่เป็นรายภูมิภาค มณฑล ที่ผ่านมาได้ MOU กับรัฐบาลท้องถิ่นจีนแล้ว 4 ฉบับ ได้แก่ มณฑลไห่หนาน มณฑลกานซู มณฑลเซินเจิ้ล และมณฑลยูนนาน และมีแผนที่จะจัดทำเพิ่มอีก 8 ฉบับ ได้แก่ ฝูเจี้ยน เฮยหลงเจียง ซานซี เจ้อเจียง เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง เหอเป่ย ซานตง และจี๋หลิน จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการทั้งสองฝ่าย

โดยเฉพาะ SME เพิ่มมูลค่าการค้า การลงทุนระหว่างกัน ซึ่งไทยสามารถเป็นประตูสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออกและเอเชียกลาง กระจายสินค้าได้ทั่วโลก มีความพร้อมทั้งโลจิสติกส์ แรงงาน บริการ

“ รัฐบาลไทยพร้อมสนับสนุน ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้รัฐมนตรีทุกคนแก้ไขปรับกฎระเบียบส่งเสริมเอกชน และทุกหน่วยงานพร้อมเอื้อการลงทุนให้สะดวกและได้รับสิทธิประโยชน์จาก BOI  EEC และฟรีวีซ่า และด้านอื่นๆอีกมากมาย ในการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ร่วมกัน”นายภูมิธรรม กล่าว

นายภูมิธรรม กล่าวว่า  ทุกวันนี้โลกเปลี่ยนแปลงไปมาก และเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ระเบียบการค้าโลกใหม่ต้องปรับให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง เน้นเศรษฐกิจสีเขียวที่ทุกภาคอุตสาหกรรมต้องปรับเปลี่ยน ขอสนับสนุนให้ภาคเอกชนจัดตั้งสำนักงานภูมิภาคเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะบริษัทที่มีฐานการผลิตในไทยและอาเซียน รวมทั้งกลุ่มธุรกิจบริการต่างๆ ให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย

โดยไม่เพียงแต่จะสามารถ ใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของไทยในหลายๆ ด้าน เช่น ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน บุคลากรที่มีคุณภาพ ต้นทุนทางธุรกิจที่เหมาะสม ประเทศไทยยังมีปัจจัยที่สนับสนุนการอยู่อาศัยและใช้ชีวิตสำหรับกลุ่มคนทำงานด้วยเช่น ความพร้อมด้านสิ่งอำนวยความสะดวกระบบรักษาพยาบาล โรงเรียน แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ เป็นต้น

ทั้งนี้การค้ารวมของไทยกับกลุ่มประเทศ RCEP ในปี 2023 มีมูลค่ารวมถึง 3.12 แสนล้านดอลลาร์ คิดเป็น  54.41 %ของการค้ารวมของไทยกับโลก โดยไทยส่งออกไปยังกลุ่มประเทศ RCEP มูลค่ากว่า 1.45 แสนล้านดอลลาร์

โดยปัจจุบันไทยมีความตกลง FTA แล้ว 14 ฉบับกับ 18 ประเทศซึ่งรวมความตกลง RCEP โดยอยู่ระหว่างการพิจารณากระบวนการรับสมาชิกใหม่ ซึ่งขณะนี้มีประเทศ/เขตศุลกากรอิสระ แสดงความจำนงเข้าร่วมความตกลงฯ ได้แก่ ฮ่องกงและศรีลังกา และอยู่ระหว่างจัดตั้งหน่วยงานความตกลง RCEP(RCEP Supporting Unit: RSU) โดยมีเป้าหมายให้เริ่มปฏิบัติงานได้ภายในภายในปี 2024