ส่งออก เม.ย.พลิกบวก 6.8% ห่วงตลาด 'จีน-ญี่ปุ่น' ติดลบต่อเนื่องเดือนที่ 3

ส่งออก เม.ย.พลิกบวก 6.8% ห่วงตลาด 'จีน-ญี่ปุ่น' ติดลบต่อเนื่องเดือนที่ 3

ส่งออก เม.ย.พลิกบวก 6.8% ห่วงตลาด 'จีน-ญี่ปุ่น' ติดลบต่อเนื่องเดือนที่ 3 "พาณิชย์" เร่งติดตามผลกระทบสงครามการค้าอย่างใกล้ชิด

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ รายงานการส่งออกของไทยในเดือน เม.ย.2567 มีมูลค่า 23,278.6 ล้านดลลาร์ (834,018 ล้านบาท) ขยายตัว 6.8% หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัว 11.4% 

ขณะที่การนำเข้า มีมูลค่า 24,920.3 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 8.3% ดุลการค้าขาดดุล 1,641.7 ล้านดอลลาร์

การส่งออกของไทยพลิกกลับมาขยายตัวเป็นบวกอีกครั้ง สอดคล้องกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มองว่าเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวดี ส่งผลดีต่อภาคการผลิตทั่วโลก โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมดีขึ้นหลายรายการ ขณะที่ผลกระทบภัยแล้งทำให้ผลผลิตการเกษตรลดลง แต่อานิสงส์ด้านราคาตามความต้องการของตลาดโลกทำให้การบางรายการขยายตัว

ส่วนสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศ 4 เดือน แรกของปี 2567 การส่งออกไทย 4 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัว 1.4% และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัว 3.7%

การนำเข้ามีมูลค่า 100,390.7 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 4.9% ดุลการค้า 4 เดือนแรกของปี 2567 ขาดดุล 6,116.9 ล้านเหรียญสหรัฐ

นอกจากนี้เมื่อพิจารณาการส่งออกเดือน เม.ย.2567 มีรายละเอียดดังนี้

ส่วนตลาดส่งออกที่ต้องจับตา คือ ตลาดจีน หดตัว 7.8% (หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ผลิตภัณฑ์ยาง และเม็ดพลาสติก และสินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้และยางพารา

ขณะที่ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2567 ตลาดจีนหดตัว 6.0%

ตลาดญี่ปุ่น หดตัว 4.1% (หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ไก่แปรรูป เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆและแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น ทั้งนี้ 4 เดือนแรกของปี 2567 หดตัว 8.0% ส่งออก เม.ย.พลิกบวก 6.8% ห่วงตลาด \'จีน-ญี่ปุ่น\' ติดลบต่อเนื่องเดือนที่ 3

ตลาดสหรัฐ ขยายตัว 26.1% (ขยายตัวต่อเนื่อง 7เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัวเช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยางและเครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ส่วนสินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และส่วนประกอบ และแผงวงจรไฟฟ้า 

ทั้งนี้ 4 เดือนแรกของปี 2567ขยายตัว 13.4%

ตลาดสหภาพยุโรป (27 ประเทศ) กลับมาขยายตัว 20.2% สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และอัญมณีและเครื่องประดับ สินค้าสำคัญที่ หดตัว เช่น แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ และแผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า

ทั้งนี้ 4 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัว 6.3%

 

ตลาดอาเซียน (5 ประเทศ) ขยายตัว 3.7% (กลับมาขยายตัวในรอบ 3 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์และข้าว เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น น้ำมัน สำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า และอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น

ทั้งนี้ 4 เดือนแรกของปี 2567 หดตัว 3.3%

ตลาด CLMV ขยายตัว 5.1% (ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น อัญมณีและ เครื่องประดับ เครื่องดื่ม และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น น้ำมันสำเร็จรูปรถยนต์ อุปกรณ์และ ส่วนประกอบ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ

ทั้งนี้ 4 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัว 6.2%

ตลาดเอเชียใต้ ขยายตัว 13.0% (กลับมาขยายตัวในรอบ 3 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัวเช่น เคมีภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ไขมันและน้ำมันจาก พืชและสัตว์ เม็ดพลาสติก และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์เป็นต้น

ทั้งนี้ 4 เดือนแรกของปี 2567ขยายตัว 0.5%

ตลาดทวีปออสเตรเลีย ขยายตัวร้อยละ 18.6 (ขยายตัวต่อเนื่อง 7 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และเม็ดพลาสติก เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้น

ทั้งนี้ 4 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัว 21.3%

ตลาดตะวันออกกลาง ขยายตัว 17.8% (กลับมาขยายตัวในรอบ 3 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ข้าว และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้และเคมีภัณฑ์เป็นต้น

ทั้งนี้ 4 เดือนแรกของปี 2567 หดตัว 0.6%

ตลาดแอฟริกา ขยายตัว 32.1% (กลับมาขยายตัวในรอบ 6เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ข้าว รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ และเครื่องยนต์สันดาปภายใน เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น

ทั้งนี้ 4 เดือนแรกของปี 2567 หดตัว 7.7%

ตลาดลาตินอเมริกา กลับมาขยายตัว 41.9% สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และ ส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น เม็ดพลาสติก อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และผลิตภัณฑ์พลาสติก

ทั้งนี้ 4 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัว 6.3%

ตลาดรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS กลับมาขยายตัวร้อยละ 8.6 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง และอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น อากาศยาน ยานอวกาศ และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และผลไม้กระป๋องและแปรรูป เป็นต้น

ทั้งนี้ 4 เดือนแรก ของปี 2567 ขยายตัว 19.3%

ตลาดสหราชอาณาจักร หดตัว 33.7% (หดตัวต่อเนื่อง 8 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถจักรยานยนต์และและส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ไก่แปรรูป เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง

ทั้งนี้ 4 เดือนแรก ของปี 2567 หดตัว 17.2% ส่งออก เม.ย.พลิกบวก 6.8% ห่วงตลาด \'จีน-ญี่ปุ่น\' ติดลบต่อเนื่องเดือนที่ 3

นอกจากนี้ หากพิจารณามูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว 2.0% (YoY) กลับมาขยายตัวใน รอบ 3 เดือน

สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว 12.7% กลับมาขยายตัวในรอบ 3 เดือน

สินค้าเกษตร หดตัว 3.8% กลับมาหดตัวในรอบ 4 เดือน โดยมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ข้าว ขยายตัว 91.5% ขยายตัวต่อเนื่อง 10 เดือน (ขยายตัวในตลาดอิรัก อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ สหรัฐฯ และจีน) ยางพารา ขยายตัว 36.2% ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน สหรัฐ มาเลเซีย ญี่ปุ่น และเวียดนาม)

อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ขยายตัว 14.8% ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย แคนาดา ลิเบีย และอิสราเอล)

อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัว 52.9% ขยายตัวต่อเนื่อง 7 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ออสเตรเลีย และอิตาลี)

ไก่แปรรูป ขยายตัว 17.2% ขยายตัว ต่อเนื่อง 2 เดือน (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร เกาหลีใต้ ไอร์แลนด์ และเยอรมนี) เครื่องดื่ม ขยายตัว 10.5% กลับมาขยายตัวหลังจากที่หดตัวในเดือนก่อนหน้า (ขยายตัวในตลาดกัมพูชา เมียนมา เวียดนาม ลาว และมาเลเซีย)

ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ขยายตัว 21.5% ขยายตัวต่อเนื่อง 7 เดือน (ขยายตัวในตลาด สหรัฐ จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และลาว) และสิ่งปรุงรสอาหาร ขยายตัว 23.2% ขยายตัวต่อเนื่อง 10 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และเนเธอร์แลนด์)

ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง หดตัว 29.8% หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (หดตัวในตลาดจีน ฮ่องกง สหรัฐฯ มาเลเซีย และเวียดนาม แต่ขยายตัวในตลาดเกาหลีใต้ญี่ปุ่น สิงคโปร์ อินเดีย และเมียนมา)

ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง หดตัว 9.6% หดตัวต่อเนื่อง 6 เดือน (หดตัวในตลาดจีน เกาหลีใต้ บังกลาเทศ แอฟริกาใต้ และรัสเซีย แต่ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน มาเลเซีย และสหรัฐ)

น้ำตาลทราย หดตัว 9.1% หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (หดตัวในตลาดอินโดนีเซีย เกาหลีใต้ สิงคโปร์เมียนมาและฟิลิปปินส์ แต่ขยายตัวในตลาดกัมพูชา มาเลเซีย ลาว เวียดนาม และญี่ปุ่น)

ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ หดตัว 4.7% หดตัวต่อเนื่อง 6 เดือน (หดตัวในตลาดอินเดีย เวียดนาม เกาหลีใต้ กัมพูชา และฟิลิปปินส์ แต่ขยายตัวในตลาดมาเลเซีย เมียนมา ฮ่องกง จีน และอินโดนีเซีย)

ทั้งนี้ 4 เดือนแรกของปี 2567 การส่งออก สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว 0.8%

มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัว 9.2% (YoY) กลับมาขยายตัวหลังจากหดตัว ในเดือนก่อนหน้า

รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัว 20.4% กลับมาขยายตัวในรอบ 4 เดือน (ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ สหรัฐฯ ซาอุดีอาระเบีย และอินโดนีเซีย)

เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัว 62.0% กลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวในเดือน ก่อนหน้า (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ และสิงคโปร์)

เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ขยายตัว 58.8% ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน เยอรมัน อินเดีย และฮ่องกง)

เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ขยายตัว 12.9% กลับมาขยายตัวในรอบ 11 เดือน (ขยายตัวในตลาด สหรัฐ เวียดนาม ออสเตรเลีย เยอรมนี และอินเดีย)

เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ขยายตัว 23.3% กลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวในเดือนก่อนหน้า (ขยายตัวในตลาดสิงคโปร์ สหรัฐฯ อินโดนีเซีย แคนาดา และ เกาหลีใต้)  ส่งออก เม.ย.พลิกบวก 6.8% ห่วงตลาด \'จีน-ญี่ปุ่น\' ติดลบต่อเนื่องเดือนที่ 3 ส่งออก เม.ย.พลิกบวก 6.8% ห่วงตลาด \'จีน-ญี่ปุ่น\' ติดลบต่อเนื่องเดือนที่ 3

สำหรับการส่งเสริมการส่งออกกระทรวงพาณิชย์ดำเนินงานที่สำคัญในเดือน เม.ย.2567 อาทิ

1.การส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร การบรรลุข้อตกลงขายข้าวล็อตแรกในรูปแบบรัฐต่อรัฐกับอินโดนีเซีย ปริมาณ 55,000 ตัน โดย เริ่มส่งมอบตั้งแต่เดือนเมษายน 2567 เป็นต้นไป ตามนโยบาย “รักษาตลาดเดิม เพิ่มตลาดใหม่ ในการส่งออกไป ต่างประเทศ”

นอกจากนี้มีการผลักดันให้ผู้ส่งออกกล้วยหอมทองจากจังหวัดนครราชสีมา ใช้สิทธิ์ตามความตกลงหุ้นส่วน เศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ให้มากขึ้น มีเป้าหมายการส่งออกจำนวน 120 ตันต่อเดือน และมีแผนที่จะส่งออกให้ได้ถึง 8,000ตันต่อปี ในอนาคต

2.การเจรจาความตกลงเพื่อเปิดตลาดสินค้าใหม่ ไทย-บังกลาเทศ โดยรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงพาณิชย์ทั้งสองประเทศร่วมลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงเริ่มการเจรจา FTA ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญ ในการยกระดับความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน โดยบังกลาเทศสนใจจะนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหาร จากไทยเพื่อความมั่นคงทางอาหาร อาทิ น้ำตาลทราย น้ำมันพืช และถั่วต่าง ๆ

3.การอำนวยความสะดวกและลดอุปสรรคการส่งออกผลไม้ไปจีน การหารือกับผู้ว่าการมณฑลยูนนาน เพื่อขอให้ช่วยอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้า ผ่าน 3 เส้นทางคือ ทางรถ ทางราง และทางเรือ ในช่วงฤดูการส่งออกผลไม้ของไทย

แนวโน้มการส่งออกในปี 2567กระทรวงพาณิชย์คาดว่า การส่งออกของไทยในปี 2567 จะยังสามารถเติบโตได้ดี จากความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมที่เติบโตตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวและปัญหาเงินเฟ้อที่เริ่มบรรเทาลงส่งผลดีต่อ กำลังซื้อในหลายประเทศขณะที่สภาพอากาศแปรปรวนสร้างแรงผลักดันต่อราคาสินค้าเกษตรและความต้องการนำเข้า เพื่อความมั่นคงทางอาหาร แต่กดดันปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดโลก

นอกจากนี้ยังมีความไม่แน่นอนจากปัญหา ด้านภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางที่มีแนวโน้มขยายวงกว้างซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้ ติดตามประเมินสถานการณ์เป็นระยะ และจะทำงานร่วมกับทูตพาณิชย์ในแต่ละประเทศเพื่อแสวงหาแนวทางสร้าง โอกาสและลดอุปสรรคในการส่งออกต่อไป