กระทรวงเกษตรฯ หนุน ปลูกไผ่ ส่งจีน กำไรงาม 35,008 บาทต่อไร่

กระทรวงเกษตรฯ หนุน ปลูกไผ่ ส่งจีน กำไรงาม 35,008 บาทต่อไร่

กระทรวงเกษตรฯ จ่อยก ไผ่ เป็นเศรฐกิจใหม่ ผุดโครงการ ”ไผ่ กล้า ธรรม" นำร่อง 10 ชุมชน สร้างกำไรสุทธิ 35,008 บาทต่อไร่ ส่งจีนใช้แทนพลาสติก ลดมลพิษ คาดปี 2568 มูลค่า 7 แสนล้านหยวน โตขึ้น 2578 แตะ 1 ล้านล้านหยวน

นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ผู้แทนการค้าไทย (ทีทีอาร์) เปิดเผยหลังเป็นประธานเพื่อขับเคลื่อนไผ่ เป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ ว่า เพื่อรองรับความต้องการในจีน หลังที่รัฐบาลจีนประกาศส่งเสริมการใช้ไผ่ ทดแทนการใช้พลาสติก เพื่อลดโลกมลพิษ โดยตลาดจีนไผ่ในจีนคาดว่าปี 2568 จะมีมูลค่า 7 แสนล้านหยวน และปี 2578 ตลาดจะเติบโตประมาณ 1 ล้านล้านหยวน

  กระทรวงเกษตรฯ หนุน ปลูกไผ่ ส่งจีน กำไรงาม 35,008 บาทต่อไร่

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายส่งเสริมให้ปลูกไผ่ ภายใต้ โครงการ”ไผ่ กล้า ธรรม” นำร่อง 10 ชุมชน ดำเนินการส่งเสริม ตั้งแต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกจนถึงสามารถส่งออก และขายผลผลิตได้ โครงการระยะเริ่มแรกตั้งเป้าหมายไว้ที่ 10,000 ไร่ ใน 10 ตำบล จะสามารถเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรตำบลละอย่างน้อย 80 ล้านบาท ซึ่งจากการศึกษาเบื้องต้น หากเกษตรกรขายผลผลิต อาทิ หน่อไม้ ในระดับต้นน้ำ จะทำให้มีกำไรสุทธิ 35,008 บาท/ไร่

นอกจากนี้ โครงการส่งเสริม”ไผ่ กล้า ธรรม”ในระดับกลางน้ำ คือการส่งเสริมในแปรรูป อาทิ ไม้ไผ่อัด ตะเกียบ บรรจุภัณฑ์ เส้นใย เวชภัณฑ์ เครื่องสำอาง และแท่งชีวมวล เป็นต้น ในขั้นตอนการแปรรูป จะมีการเจรจาจับคู่ธุรกิจ ให้เกษตรกร ส่วนปลายน้ำ ไทยจะได้พลังงานสะอาด สิ่งแวดล้อมดีขึ้น โดยแต่ละชุมชนที่มีการดำเนินโครงการฯจะมีโรงไฟฟ้าชุมชน ไว้บริการพลังงานให้ชุมชน หรือหากเหลือก็ขายได้ และยังสามารถขายคาร์บอนเครดิตได้อีกทาง

แผนการดำเนินงานขับเคลื่อน “ไผ่” เป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ มีการดำเนินงานโดยกระทรวงเกษตรฯ ได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินงานในรายละเอียดของพื้นต้นแบบ ที่จะดำเนินการส่งเสริมการปลูกไผ่เป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ ภายใต้กรอบแนวคิดไม่ใช้งบประมาณรัฐบาล แต่เป็นรูปแบบความร่วมมือระหว่าง รัฐบาล เอกชน และประชาชน (PPPP model)โดยรัฐบาลสนับสนุนด้านนโยบายส่งเสริมการปลูกไผ่ ให้เป็นพืชเศรษฐกิจกลุ่มไม้ยืนต้น ภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุนกิจการแปรรูปไผ่ ทำให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมbio-refineryในระดับชุมชน ตอบโจทย์เป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน และช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรอย่างครบวงจร

หากโครงการฯสามารถดำเนินการได้สำเร็จ จากนั้นจะขยายผลไปทั่วประเทศ โดยเชิญชวนภาคเอกชนที่มีศักยภาพเข้ามาร่วมลงทุน ซึ่งภาครัฐจะสนับสนุนให้มีการเตรียมแหล่งเงินทุนผ่านผลิตภัณฑ์ใหม่ คือGreen Investment Trustที่สำนักงาน กลต ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวไว้ผ่านเว็บไซต์สำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์( ก.ล.ต) ที่

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

โดยผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจสามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ หรือทางe-mail :[email protected]จนถึงวันที่18มีนาคม2567

“นอกจากผลิตภัณฑ์จากไผ่ในอุตสาหกรรมbio-refineryเรายังได้carbon creditsอีกเป็นจำนวนมหาศาล ที่จะไปช่วยชดเชยcarbon footprintsช่วยให้ไทยสามารถบรรลุเป้าหมายcarbon neutralและnet-zero emissionsภายในปี2050และ2065ตามลำดับ ส่วนเกษตรกรจะมีรายได้เพิ่ม จากการใช้เกษตรพันธสัญญา ที่เอกชนเป็นผู้ลงทุนจะต้องทำสัญญารับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในราคาที่เกษตรกรได้กำไรแน่นอน นอกจากนี้ เกษตรกรยังมีสิทธิถือหุ้นในกิจการแปรรูปกลางน้ำและปลายน้ำ โดยได้ส่วนแบ่งผลกำไรเพิ่มอีกด้วย”