จับตาอนุกรรมการ 'ด้านกฎหมาย' PPP ถกปมร้อนประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม

จับตาอนุกรรมการ 'ด้านกฎหมาย' PPP  ถกปมร้อนประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม

จับตาอนุกรรมการด้านกฎหมาย ของบอร์ด PPP ประชุม 29 ม.ค.2567 พิจารณาประเด็นร้อน เรื่องร้องเรียนประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม กระบวนการประมูลชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หลังพบข้อมูล “อินชอน” ไม่ส่งงบการเงิน 3 ปี แจ้งเป็นผู้รับเหมาของ ITD

Key Points

  • การประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มมีข้อขัดแย้งทางกฎหมายทำให้มีการร้องหลานหน่วยงาน รวมถึงศาลปกครอง
  • คณะอนุกรรมการด้านกฎหมายของบอร์ด PPP จะมีการพิจารณาข้อร้องเรียนการประมูลเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่
  • ที่ผ่านมาคณะกรรมการ ม.36 หารือประเด็น Incheon Transit Corporation ที่รวมกลุ่มกับ ITD ไม่ส่งงบการเงิน
  • Incheon Transit Corporation มีหนังสือแสดงเจตจำนงค์กับ ITD ที่จะเป็นผู้รับเหมา

คณะอนุกรรมการด้านกฎหมาย ที่มีอัยการสูงสุดเป็นประธาน มีกำหนดประชุมในวันที่ 29 ม.ค.2567 ซึ่งคณะอนุกรรมการดังกล่าวแต่งตั้งโดยคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) เพื่อวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562

รายงานข่าวระบุว่า การประชุมในวันที่ 29 ม.ค.2567 จะมีการพิจารณาประเด็นที่บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ร้องเรียนเกี่ยวกับการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เมื่อเดือน ธ.ค.2566

สำหรับการประมูลดังกล่าว การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ประกาศให้บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เป็นผู้ชนะการประมูล โดยเสนอผลประโยชน์สุทธิดีกว่ากลุ่ม ITD Group ที่มีประกอบด้วยบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD และ Incheon Transit Corporation (ITC)

จับตาอนุกรรมการ \'ด้านกฎหมาย\' PPP  ถกปมร้อนประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม จับตาอนุกรรมการ \'ด้านกฎหมาย\' PPP  ถกปมร้อนประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ทั้งนี้มีรายงานว่าจะมีการเสนอที่ประชุมให้มีการพิจารณาว่าประเด็นข้อร้องเรียนของ BTSC ไม่ใช่ประเด็นข้อกฎหมายที่ต้องเสนอให้

คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน รวมทั้งเป็นเรื่องของการใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562

รายงานข่าวระบุว่า การประมูลโครงการดังกล่าวมีการร้องเรียนหลายหน่วยงาน รวมถึงมีการฟ้องร้องต่อศาลปกครอง ซึ่งมีประเด็นที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องพิจารณาถึงกระบวนการประกวดราคาที่จะต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติของ ITD Group ที่คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 ประกาศรับรองคุณสมบัติ ดังนี้

1.การตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาในประเด็นที่นายเปรมชัย กรรณสูต กรรมการ ITD ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม ITD Group เคยรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ซึ่งอาจขัดต่อประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เรื่อง ลักษณะของเอกชนที่ไม่สมควรร่วมลงทุนในโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 ในประเด็น

2.การตรวจสอบคุณสมบัติสำหรับนิติบุคคลต่างประเทศ ซึ่งกำหนดให้ต้องรวมกลุ่มกับนิติบุคคลไทยเพื่อให้เป็นกลุ่มนิติบุคคล รวมทั้งต้องแสดงมูลค่าสินทรัพย์สุทธิรายปีรวม 3 ปี โดยแสดงงบการเงินที่ได้รับการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต 

จับตาอนุกรรมการ \'ด้านกฎหมาย\' PPP  ถกปมร้อนประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม สำหรับประเด็นดังกล่าวได้มีการพิจารณาของคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 เมื่อวันที่ 16 ส.ค.2565 โดยมีการเสนอผลการตรวจสอบคุณสมบัติของ BEM เอกสารถูกต้องครบถ้วน มีการรับรองเอกสารถูกต้องและมีคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอ

ขณะที่การตรวจคุณสมบัติของ ITD พบว่าเอกสารส่วนใหญ่มีความถูกต้อง ครบถ้วน มีการรับรองเอกสารถูกต้อง โดยมีเอกสารบางรายการที่ต้องค้นหาเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ของ ITC 

ทั้งนี้ ได้มีการสรุปหนังสือของ ITC ลงวันที่ 11 ก.ค.2565 ระบุว่า กรณีที่ ITD ได้งาน ITC จะเป็นสมาชิกที่รับผิดชอบการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง รวมทั้ง ITC เป็น Partner ของ ITD และถ้า ITD เป็นผู้ชนะการคัดเลือก ก่อนลงนามสัญญา ITD จะตั้งบริษัทที่เป็นนิติบุคคลไทยขึ้นมาใหม่ โดย ITD ถือหุ้น 90% และ ITC ถือหุ้น 10%

ในขณะที่หนังสือที่อ้างดังกล่าวเป็น Letter of Intent to Perform Work as a Contractor หรือการแสดงเจตจำนงการเป็นผู้รับเหมา ซึ่งต่างจากการรายงานที่ประชุมคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 ว่า ITC เป็น Partner ของ ITD

สำหรับเอกสารที่ต้องมีการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ ITC ประกอบด้วย

1.โครงสร้างการจัดการของบริษัทหรือของกลุ่มนิติบุคคล

2.ข้อมูลเกี่ยวกับคดีฟ้องร้องหรือหารวินิจฉัยโดยอนุญาโตตุลาการในระยะ 5 ปี ที่ผ่านมาของ ITC

3.แบบฟอร์มสถานะการเงินของ ITC 

4.เอกสารทางบัญชีที่ตรวจสอบและรับรองแล้วย้อนหลัง 3 ปี ของ ITC ซึ่งเอกสารบางรายการได้เสนอข้อมูลไว้แต่ไม่ระบุชัดเจน และบางรายการไม่ได้เสนอเอกสารไว้

ทั้งนี้ ที่ปรึกษาฯ ได้พิจารณาข้อมูลที่ปรากฎและค้นหาเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ของ ITC ได้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างการจัดการของบริษัทหรือของกลุ่มนิติบุคคล โดยส่วนที่เกี่ยวข้องกับสถานะทางการเงินสืบค้นข้อมูลพบฐานะทางการเงินและการรับรองบัญชีล่าสุด 3 ปี คือ ปี 2019-2021 โดยที่ประชุมขอให้แจ้ง รฟม.ตรวจสอบและยืนยันข้อมูล 

นอกจากนี้ มีการตั้งข้อสังเกตถึงข้อกำหนดใน RFP ว่าต้องยื่นเอกสารทางการเงิน แต่ ITC ไม่ได้ยื่นเอกสารทางการเงิน

รวมทั้งมีการตั้งข้อสังเกตให้เอกสารทางบัญชีของ ITC ควรให้บริษัทเป็นผู้แปลและยืนยันเอกสารมา แทนที่จะมีการสืบค้นทางเว็บไซต์ และควรได้รับการรับรอง Notary public มาด้วย

รวมถึงกรณี ITC มีรัฐบาลเกาหลีใต้เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดจะติดปัญหาเอกสิทธิ์และความคุ้มกันการไม่ขึ้นศาลไทยหรือไม่ ซึ่งได้รับการยืนยันด้วยเอกสารว่าสละสิทธิ์การคุ้มกันที่จะไม่ขึ้นศาลไทย แต่มีการยอมรับว่าเอกสารบางรายการของ ITC อาจมีความบกพร่อง

ขณะที่ปัญหาคุณสมบัติดังกล่าวมีการเสนอให้ ITC ตกคุณสมบัติหรือให้ชี้แจงเพิ่ม แต่มีการแย้งว่าถ้าให้ ITC ตกคุณสมบัติจะทำให้ ITD ไม่ผ่านเกณฑ์ไปด้วย และอาจทำให้คณะกรรมการตามมาตรา 36 ทำงานต่อลำบาก 

กรณีดังกล่าวทำให้ประธานที่ประชุมแสดงความเห็นว่าควรให้เกิดการแข่งขันมากราย ซึ่งเป็นสาระสำคัญของนโยบาย PPP และหากพิจารณาจากข้อมูลทางการเงินที่ปรากฎในเว็บไซต์ ITC เชื่อมั่นได้ว่ามีศัพยภาพที่ดีในการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม และมีมติให้ฝ่ายเลขาฯ ประสาน รฟม.นำข้อมูลมาเสนออีกครั้ง โดยให้ รฟม.ตรวจสอบข้อมูลการประเมินข้อเสนอด้านคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอว่ามีความถูกต้องตาม RF

นอกจากนี้ คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 ได้มีการประชุมอีกครั้งในวันที่ 22 ส.ค.2565 โดยมีการเสนอในที่ประชุมให้ รฟม.ทำหนังสือถึงสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ เพื่อวินิจฉัยหรือสร้างความชัดเจนในประเด็นคุณสมบัติของกรรมการบริษัทที่ยื่นซองมีความเหมาะสมหรือไม่ ก่อนมีการพิจารณาคุณสมบัติของเอกชนผู้ยื่นข้อเสนอซอง 1 แต่มีการแสดงความเห็นเพิ่มเติมว่าประเด็นดังกล่าวเป็นการตรวจสอบในช่วงที่ได้ผู้ผ่านการคัดเลือกแล้ว 

ท้ายที่คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 ประชุมเมื่อวันที่ 22 ส.ค.2565 ให้ความเห็นชอบ BEM และ ITD Group ผ่านการตรวจคุณสมบัติและเข้าสู่ขั้นตอนการเปิดซองการเงิน โดย BEM เป็นผู้ชนะการประมูล ด้วยเสนอผลประโยชน์สุทธิดีกว่า จากการเสนอตัวเลขติดลบ 78,287 ล้านบาท ทำให้รัฐจ่ายค่างานโยธาต่ำกว่าราคากลางที่ 96,000 ล้านบาท และให้เงินตอบแทนสูงกว่า

รวมทั้ง กระทรวงคมนาคมได้เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) นัดสุดท้ายของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในวันที่ 14 มี.ค.2566 ก่อนมีการยุบสภา ซึ่งนายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช้่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้เสนอวาระนี้

กระทรวงคมนาคมรายงาน ครม.ว่า คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 พิจารณาผลการประเมินเอกสารซอง 1 ข้อเสนอด้านคุณสมบัติ แล้วมีมติให้ BEM และ ITD Group ผ่านการตรวจคุณสมบัติ ทั้งคุณสมบัติทั่วไป เป็นนิติบุคคลไทยหรือกลุ่มนิติบุคคลที่มีสัดส่วนการถือหุ้นของนิติบุคคลไทย

รวมถึงผ่านคุณสมมบัติทางการเงิน โดยได้มีการตรวจสอบสินทรัพย์มีมูลค่าเฉลี่ยเป็นบวกใน 3 ปี และมีสินทรัพย์สภาพคล่องหรือสินเชื่อหรือแหล่งการเงินอื่นๆ รวมกันไม่น้อยกว่า 96,000 ล้านบาท นอกจากนี้ทั้ง 2 ราย ยังผ่านคุณสมบัติทางด้านเทคนิก ประสบการณ์และผลงาน ซึ่งเป็นไปตามที่ รฟม.และบริษัทที่ปรึกษาได้เสนอมา