ไทย-จีนร่วมปล่อยขบวนรถไฟขนส่งสินค้าสายประวัติศาสตร์

ไทย-จีนร่วมปล่อยขบวนรถไฟขนส่งสินค้าสายประวัติศาสตร์

ภาครัฐ-เอกชนไทยและจีนร่วมปล่อยขบวนรถไฟขนส่งสินค้าสายประวัติศาสตร์ ณ เมืองเฉิงตู มณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 เวลา 10.00 น. ที่สถานีรถไฟเมืองเฉิงตู มณฑลเสฉวน รัฐบาลเมืองเฉิงตู สาธารณรัฐประชาชนจีน ประกอบด้วยบริษัท CRCT บริษัท Laos-China Railway บริษัท China Railway Container Transport และ ฝ่ายไทยประกอบด้วย บริษัท Pan-Asia Silk Road หรือ PAS และ บริษัท GML ซึ่งเป็นบริษัท logestic ในเครือของบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) 

โดยฝ่ายรัฐบาลจีน และผู้แทนเอกชนฝ่ายไทยได้ร่วมกันปล่อยรถไฟขนส่งสินค้าจีนพร้อมตู้คอนเทนเนอร์สินค้าจำนวน 35 ตู้ มีจุดหมายปลายทางที่สถานีรถไฟมาบตาพุด ประเทศไทย 

การเดินทางขนส่งจะผ่านประเทศลาว และผ่านพรมแดนเข้าประเทศไทย ที่จังหวัดหนองคาย แล้วเดินทางต่อไปจนถึงปลายทางที่สถานีรถไฟมาบตาพุด 

คาดการณ์ว่าจะใช้เวลาเดินทางประมาณ 3-4 วัน อันถือได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์การขนส่งสินค้าทางรางครั้งแรกเป็นทางการจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนสู่ประเทศไทย ผ่านประเทศลาว

โดยภายในเดือนธันวาคม 2566 นี้ รัฐบาลไทย ภายใต้กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรจะดำเนินการส่งสินค้าเกษตรหลากหลายชนิดกลับไปที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเช่นกัน มีจุดหมายปลายทางที่สถานีรถไฟเมืองเฉิงตู และจะจัดส่งสินค้าเกษตรบางส่วนต่อผ่านสถานีรถไฟเฉิงตูไปยังประเทศรัสเซีย และประเทศในภาคพื้นยุโรปต่อไป อาทิเช่น โปแลนด์ เบลเยี่ยม และ เยอรมันนี
 
สินค้าเกษตรที่จะดำเนินการส่งออกไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน รัสเซีย และยุโรป ประกอบด้วย ผลไม้ไทย โดยเฉพาะ ทุเรียน มังคุด มะพร้าว 

นอกจากนั้น จะมี ข้าว มันสำปะหลัง ไก่แช่แข็ง เนื้อสัตว์แช่แข็ง และ อาหารทะเลแช่แข็งประเภทกุ้ง และ ปลา 

การส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตรทางรางถือเป็นมิติใหม่ของการขนส่งสินค้าเกษตรของประเทศไทย โดยเน้นส่งไปขายทางภาคใต้และภาคตะวันตกของประเทศจีน ซึ่งประกอบด้วย เมืองคุนหมิง ฉงชิ่ง และ เฉิงตู ที่มีประชากรทางภาคใต้ ภาคตะวันตก และภาคเหนือบางส่วนรวมกันประมาณ 700-800 ล้านคน 

อันถือได้ว่าการขนส่งหรือการบริการ logestic ทางราง รวดเร็ว ปลอดภัย และ ประหยัดในการขนส่งสินค้ามากที่สุด และเป็นการสนับสนุนโครงการ One belt one road ของสาธารณรัฐประชาชนจีนโดยตรง 

และรัฐบาลไทยพยายามผลักดันการส่งออกสินค้าเกษตรเพื่อให้เกษตรกรไทยได้ประโยชน์สูงสุดในการขายผลผลิตทางการเกษตร โดยการขนส่งสินค้าทางรางระหว่างสถานีมาบตาพุด ประเทศไทย และสถานีรถไฟเมืองเฉิงตู จะดำเนินการขนส่งระหว่างประเทศเป็นประจำ โดยบริษัท Pan Asia Silk Road จะเป็นผู้ให้บริการหลักในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ