‘เอสซีจี’ เปิด 3 กลยุทธ์ลงทุน รับมือเศรษฐกิจชะลอ-สงครามยืดเยื้อ

‘เอสซีจี’ เปิด 3 กลยุทธ์ลงทุน รับมือเศรษฐกิจชะลอ-สงครามยืดเยื้อ

“เอสซีจี” ชี้แนวโน้มเศรษฐกิจภูมิภาคยังชะลอตัว เร่งปรับตัวเดินหน้าต่อด้วย 3 กลยุทธ์รับมือเศรษฐกิจผันผวน รัดเข็มขัด ลดต้นทุนพลังงาน ทบทวนการลงทุน เน้นธุรกิจเติบโตสูง เร่งเครื่องนวัตกรรมกนสู่ตลาดโลก

นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสชีจี กล่าวว่า ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2566 ผลประกอบการของเอสซีจีชะลอตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า และลดลงจากช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจากเศรษฐกิจภูมิภาคยังไม่ฟื้นตัว ประกอบกับธุรกิจเคมิคอลส์อยู่ในช่วงขาลง ซึ่งเอสซีจีได้มีการปรับกลยุทธ์ธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และดำเนินงานด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง จึงยังรักษาเสถียรภาพการเงินได้มั่นคง 

ทั้งนี้ มองว่าในไตรมาส 4 เศรษฐกิจอาเซียนมีแนวใน้มดีขึ้น โดยเฉพาะอินโดนีเซียที่จะมีการลงทุนและการบริโภคเพิ่มขึ้นจากการก่อสร้างเมืองหลวงใหม่ "นูชันตารา" 

ขณะที่เศรษฐกิจไทยคาดการณ์ว่าจะฟื้นตัวดีขึ้นจากภาคอสังหาริมทรัพย์และภาคการค้าในเมืองท่องเที่ยว ซึ่งได้รับอานิสงส์จากนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ค่าไฟฟ้าและราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับตัวลง ช่วยให้ภาคธุรกิจสามารถควบคุมต้นทุนพลังงานได้ดีขึ้น

นายธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่า เศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอนสูงจากต้นทุนพลังงานที่มีความผันผวน โดยสงครามที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลางและระหว่างสงรัสเซีย-ยูเครน เป็นความเสี่ยงที่ยังต้องจับตาโดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-ฮามาส ที่อาจขยายวงกว้างขึ้น และส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันในตลาดโลกให้ปรับสูงขึ้น 

ทั้งนี้ภาคธุรกิจได้เตรียมความพร้อมในการรับมือความเสี่ยง โดยเอสซีจีจึงเร่งเดินหน้า 3 กลยุทธ์เพื่อให้ธุรกิจดำเนินได้ต่อเนื่อง ได้แก่

1.รัดเข็มขัด ควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างรัดกุม โดยการมุ่งลดต้นทุนพลังงาน เพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาดแทนการใช้พลังงานฟอสซิลซึ่งมีราคาผันผวน อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ ปัจจุบันมีการใช้ 220 เมกะวัตต์ และเชื้อเพลิงชีวมวลในโรงงานปูนซีเมนต์ในไทย มีสัดส่วนการใช้ 40% พร้อมทั้งเร่งหาแหล่งพลังงานสะอาดอื่นๆ อาทิ ปลูกหญ้าเนปียร์ พืชให้พลังงานสูง1,000 ไร่ ที่สระบุรีแซนด์บ็อกเมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำแห่งแรกของไทย โดยตั้งเป้าปลูก 30,000 ไร่ ในปี 2571

2.ทบทวนแผนการลงทุน ชะลอโครงการที่ไม่เร่งด่วน โดยเน้นลงทุนธุรกิจที่เติบโตสูง อาทิ ร่วมมือกับ Denka ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ลงทุนร่วมกับ Braskem ในอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ และลองเชิน ปิโตรเคมิคอลส์(Long Son Petrochemicals - LSP) ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างและเตรียมทดสอบเครื่องจักร เพื่อผลิตเม็ดพลาสติกคุณภาพสูงป้อนตลาดโลก

3.รุกนวัตกรรมกรีน ตอบโจทย์เมกะเทรนด์โลก มุ่งพัฒนาสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม SCC Creen Choco เติบโตโดดเด่น 9 เดือนของปีมียอดขาย 54% จากการขายสินค้าทั้งหมด พร้อมเดินเครื่องเต็มที่เพิ่มยอดขายให้ได้ 2 ใน 3 ของขายทั้งหมดในปี 2573 

ขณะที่ SCG Cleanergy ธุรกิจพลังงานสะอาดครบวงจร ให้บริการระบบเครือข่าย (Smart Grid) กับเครือเซ็นทารา พัฒนาเป็น Smart Hotel ควบคู่กับการร่งส่งออกปูนคาร์บอนต่ำ และผลักคันนวัตกรรมกรีนอื่นๆ อาทิ พลาสติกรักษ์โลก ธุรกิจรีไซเคิล

สำหรับผลประกอบการเอสซีจีไตรมาสที่ 3 ปี 2566 มีรายได้จากการขาย 125,649 ล้านบาท ลดลง 12% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากยอดขายในทุกธุรกิจลดลง ขณะที่กำไรสำหรับงวด 2,441 ล้านบาท ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อน กำไรจากการดำเนินงาน เพิ่มขึ้น 26% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อแยกผลประกอบการตามรายธุรกิจ ดังนี้

ธุรกิจเคมิคอลส์ (SCGC) ในไตรมาสที่ 3 ปี 2566 มีรายได้จากการขาย 49,663 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2% จากไตรมาสก่อนเนื่องจากปริมาณขายเพิ่มขึ้น ขณะที่ลดลง 13% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากราคสินค้าที่ปรับตัวลง กำไรสำหรับงวด 1,052 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 311 ล้านบาท จากไตรมาสก่อน เนื่องจากมีกำไรจากการปรับมูลค่าสินค้าคงเหลือและปริมาณขายเพิ่มขึ้น ประกอบกับส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมเพิ่มขึ้น

ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ในไตรมาสที่ 3 ปี 2566 มีรายได้จากการขาย 47,015 ล้านบาท ลดลง 9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้รับผลกระทบจากตลาดภูมิภาคอาเชียนโดยเฉพาะที่เวียดนามและกัมพูชา โดยมีการขาดทุนสำหรับงวด 176 ล้านบาท สาเหตุหลักมาจากความท้าทายในตลาดภูมิภาคอาเซียน รวมถึงรายการขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์ของโรงงานชีเมนต์ในภูมิภาค ทั้งนี้ หากไม่รวมรายการขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์ของโรงานซีมนต์ในภูมิภาค กำไรสำหรับงวดอยู่ที่ 402 ล้านบาท ลดลง 49% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ธุรกิจแพคเกจจิ้ง (SCGP) ในไตรมาสที่ 3 ปี 2566 มีรายได้จากการขาย 31,572 ล้านบาท ลดลง 17% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหลักจากราคาขายของกระดาษบรจุภัณฑ์ที่ลดลง ท่ามกลางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ล่าช้าในประเทศจีนและยุโรป ขณะที่ภาคการส่งออกจากอาเชียนโดยเฉพาะสินค้าฟุ่มเฟือยยังได้รับแรงกดดันต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากกลุ่มกระดาษบรรจุภัณฑ์ในอินโดนีเซีย มีการส่งออกสินค้าไปยังประเทศจีนน้อยลงและการแข่งขันด้านราคาในประเทศที่รุนแรง 

ขณะที่ผลประกอบระกอบการ 9 เดือนแรกปี 2566 มีรายได้จากการขาย 379,028 ล้านบาท ลดลง 15% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหลักจากยอดขายที่ลดลงของทุกกลุ่มธุรกิจจากสถาการณ์ตลาดในภูมิภาค มีกำไรสำหรับงวด 27,049 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ กำไรจากการดำเนินงาน 12,805 ล้านบาท ลดลง 40% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากปิโตรเคมียังอยู่ในวัฏจักรขาลง ตลาดอาเชียนอ่อนตัว

สำหรับสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่ม (High-Value Added Products & Services - HVA) ในช่วง 9 เดือนของปี 2566 มีรายได้ 129,125 ล้านบาท คิดเป็น 34% ของรายได้จากการขายรวม ยอดขายสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม SCG Green Choice 206,048 ล้านบาท คิดเป็น 54% ของรายได้จากการขายรวม 

นอกจากนี้ยังมีรายได้จากการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศ รวมการส่งออกจากประเทศไทย ในช่วง 9 เดือนของปี 163,505 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 43% ของรายได้จากการขายรวม สินทรัพย์รวมของเอสซีจี ณ วันที่ 30 ก.ย. 2566 มีมูลค่า 960,058 ล้านบาท โดย 44% เป็นสินทรัพย์ในอาเซียน (ไม่รวมไทย) 

"การก้าวข้ามความผันผวนทางเศรษฐกิจครั้งนี้ ทุกภาคส่วนต้องผนึกกำลังร่วมกัน หากภาครัฐช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างตรงจุด รวมทั้งการเดินหน้ามาตรการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวเร็วขึ้น โดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นห่วงโซ่สำคัญของทุกธุรกิจ อาทิ ปรับระเบียบชั้นตอนให้สะดวกรวดเร็ว ส่งเสริมการปรับปรงโครงสร้างพื้นฐาน ประเมินภาษีที่ดินใหม่ ทำมาตรการ Green Buliding ให้เป็นรูปธรรม” 

นอกจากนี้ รัฐบาลยังต้องมองถึงแผนการระยะกลางและระยะยาวในการขับเคลื่อนไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ซึ่งจะทำให้ไทยสามารถยืนอยู่บนเวทีการค้าโลกได้อย่างมั่นตงและยั่งยืน ด้วยการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด ผลักดันเศรษฐกิจหมุนเวียนช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางให้เข้าถึงความรู้ เทคโนโลยี รวมทั้งเงินทุน 

โดยปัจจุบันเอสซีจีได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันเมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำแห่งแรกที่ “สระบุรีแชนด์บ็อกซ์” ซึ่งเชื่อมั่นว่าจะเป็นจังหวัดนำร่องความสำเร็จสู่การขยายผลให้เศรษฐกิจไทยเติบโต และเปลี่ยนประเทศสู่สังคมคาร์บอนต่ำได้อย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ เอสซีจีให้ความสำคัญกับการสร้างธุรกิจเติบโตควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อมตามแนวทาง ESG 4 Plus และพร้อมขยายผลความสำเร็จของ ESG symposium 2023 ในไทยสู่อาเชียน โดยมีกำหนดจัดงานที่อินโดนีเชียและเวียดนามในเดือนพ.ย.นี้