เศรษฐา ลุยแก้ 'เหลื่อมล้ำ' - กระตุ้นเศรษฐกิจ

นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เศรษฐา ทวีสิน นำเสนอทิศทางการขับเคลื่อนประเทศไทยในงาน Dinner Talk Thailand's Future อนาคตประเทศไทย 2024 จัดโดยเนชั่นกรุ๊ป

นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เศรษฐา ทวีสิน นำเสนอทิศทางการขับเคลื่อนประเทศไทยในงาน Dinner Talk Thailand's Future อนาคตประเทศไทย 2024 จัดโดยเนชั่นกรุ๊ป ระบุว่า รัฐบาลต้องทำงานหนัก เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น กลาง และยาว ซึ่งระยะสั้นที่ทำไปอาทิ การลดค่าไฟ ค่าน้ำมัน พักหนี้เกษตรกร สิ่งเหล่านี้เป็นมาตรการกระตุ้นระยะสั้นรวมถึงเรื่องของการแจกเงินดิจิทัล

ทั้งนี้ การกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ด้วยการแจกคนละ 10,000 บาท ถือว่ามีค่าหลายด้าน ครอบครัวมีหลายคนก็นำเงินตรงนี้ไปสร้างตัว โดยที่ต้องจ่าย 10,000 บาท และจำกัดเวลา 6 เดือน เป็นการหมุนเวียนของเงิน รวมทั้งต้องจำกัดระยะทางที่รัฐบาลกำลังรับฟังความเห็นจะเป็นอำเภอหรือตำบลตรงนี้เป็นส่วนสำคัญเพราะไม่อยากให้คนนำเงินมาใช้ในเมืองใหญ่และกระตุ้นเศรษฐกิจที่กรุงเทพฯ หาดใหญ่ ภูเก็ต

เราอยากให้ร้านค้าที่ต่างจังหวัดทั้ง หนองบัวลำภู กาฬสินธุ์ หรือศรีสะเกษ ได้ลืมตาอ้าปากจากตรงนี้ ทำไมไม่จ่ายเป็นเงินสด เพราะเงินสดเอามาใช้ในกรุงเทพฯ ได้ ซึ่งตรงนี้จะค่อย ๆ คลี่คลายและจะอธิบายให้ฟังต่อไป เรามั่นใจว่าจะอธิบายที่มาที่ไปของเงิน และแต่ละภาคส่วนเสนอแนะขึ้นมา อันนี้เป็นอีกนโยบายที่รัฐบาลตระหนักถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ยืนยันว่าความเหลื่อมล้ำ ของเศรษฐกิจประชาชนคนไทย ถือเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูงที่สุด”

นอกจากนี้ อยากให้เห็นว่า พื้นที่ต่างจังหวัดประชาชน เป็นปัญหาที่ต้องการการแก้ไข เงิน 10,000 บาทของแต่ละคน สามารถไปเปลี่ยนอาชีพได้ การรวมเงินเข้าด้วยกันและมีหลายเสียงบอกว่า เป็นการประชาชนไม่กระตุ้นเศรษฐกิจระยะยาว ซึ่งเชื่อว่าหากฟังอย่างมีเหตุมีผล ต่อระยะเวลาไม่ถึง 2 เดือน รัฐบาลนี้ เห็นความสำคัญของการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะกลางและระยะเวลา

การกระตุ้นเศรษฐกิจมีทั้งระยะสั้นถึงระยะยาว โดยต้องทำระยะสั้นไม่อย่างนั้นระยะยาวไม่เกิด ซึ่งเราจะแจกครั้งเดียว 5.4 แสนล้านบาท โดยในตอนนี้กำลังปรับปรุงนโยบายอยู่ซึ่งอาจจะดีเลย์บ้าง แต่ในส่วนนี้ก็คือการรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย

ส่วนประเด็นที่จะแจกให้เฉพาะคนรวยหรือไม่ เรื่องนี้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้ความคิดมาว่าคนรวยควรได้หรือไม่ แต่สิ่งที่ต้องคิดคือแค่ไหนถึงเรียกว่ารวย หากเราจะจำกัดรายได้แค่ 1 แสนบาท จะถูกต้องหรือไม่ แล้วเรื่องนี้ใครจะบอกว่ารวยหรือไม่รวยจะวัดอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ถ้าเอาเกณฑ์แบบนี้ไม่ง่าย แต่ว่ากำลังดูอยู่จะวัดจากอะไร เช่น รายได้หรือทรัพย์สินที่มีซึ่งจะได้ข้อสรุปจากคณะกรรมการที่ทำงานในเรื่องนี้

สำหรับประเด็นผู้รับเงินจะขึ้นเป็นเงินสดได้หรือไม่ เห็นว่าไม่สามารถเอาเงินสดออกมาหรือไปชำระหนี้ได้ แต่หากจะเอาเงินไปซื้อของมาใช้หนี้ทำได้ คนที่รับเงินในต่อแรกต้องไปใช้ซื้อสินค้า โดยในระยะเวลา 6 เดือน มั่นใจว่าสามารถหมุนในระบบเศรษฐกิจได้ เพราะมีระยะเวลาพอสมควรในการใช้ โดยต้องเอาเงินดิจิทัลต้องไปใช้ในพื้นที่ก็ต้องมีการเดินทางเพื่อไปใช้

นโยบาย การเงินการคลังที่ดีไม่ใช่ระมัดระวังเฉพาะเรื่องของนโยบายการเงินการคลังแต่ต้องตอบโจทย์ความต้องการของพี่น้องประชาชนคนไทยทุกคนและต้องยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนคนไทยทุกคนด้วย รัฐบาลนี้ทราบดีถึงวินัยการเงินการคลังของประเทศ เรารับฟังความเสี่ยง และข้อเสนอแนะโดยตลอด แต่หากเราไม่แก้ปัญหาเศรษฐกิจและแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในระยะสั้น สังคมอยู่ไม่ได้ เราต้องแก้ปัญหาตรงนี้ และต้องมองอย่างเป็นธรรม และกระตุ้นเศรษฐกิจให้ตรงจุด มีวิธีการชัดเจน

ทั้งนี้ หลายประเด็นไม่ใช่เรื่องของการใช้ประชานิยม จะเป็นการแก้ปัญหา เป็นเรื่องที่เราควรต้องช่วยกันให้การสนับสนุน นโยบายที่ดี ไม่ใช่แค่ระมัดระวังวินัยทางการเงินกันคลัง แต่เป็นนโยบาย การเงินการคลังที่ตอบโจทย์พี่น้องประชาชนคนไทยยกระดับความชื้นเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนทุกคนโดยคำนึงถึงวินัยทางการเงิน

แลนด์บริดจ์ดึงลงทุนต่างประเทศ

ส่วนการลงทุนในระยะยาวรัฐบาลต้องมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ โดยโครงการสะพานเศรษฐกิจภาคใต้ หรือโครงการ “แลนด์บริดจ์” นั้นเป็นโครงการสำคัญที่รัฐบาลนี้สานต่อและต้องการทำให้ก้าวหน้าประสบผลสำเร็จเป็นรูปธรรมโดยตนเองได้นำโครงการนี้ไปโรดโชว์ในการเดินทางไปจีนและซาอุดีอาระเบียเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

นอกจากนี้เรื่องแลนด์บริดจ์เป็นนโยบายที่รัฐบาล ที่แล้วทำเราก็จะสานต่อ จะยกระดับ โลจิสติกส์ ทำให้ไทยเป็นโลจิสติกส์ฮับระดับโลก ไม่ใช่จะแย่งธุรกิจช่องแคบมะละกาจากสิงคโปร์ จะเป็นทรานสปอร์ตวอลุ่มที่มา จากทั่วโลก จะมีความหนาแน่นมากทำให้การเดินทางขนถ่ายสินค้าไม่สะดวก การที่เรามีแลนด์บริดจ์ตรงนี้ จะลดระยะเวลาในการขนถ่ายสินค้า ไป 6-9 วัน ค่าใช้จ่าย การขนถ่ายน้ำมันเป็น 10% ของทั่วโลกต้องผ่านช่องแคบมะละกา 

ดังนั้นการลงทุนครั้งนี้จึงใหญ่สุดซึ่งเราจะมี ไม่แน่ใจว่า 4 ปีจะเริ่มต้นหรือเปล่าแต่จะเริ่มต้นตรงนี้รัฐบาลนี้จะเริ่มต้นลงมา เพื่อสร้างสุขภาพในการแข่งขัน ให้พี่น้องประชาชนคนไทยทุกคน 

อย่างไรก็ตาม โครงการนี้มีความละเอียดอ่อนมาก โดยโครงการนี้อยู่ภายใต้เรื่องของภูมิรัฐศาสตร์ทั้งสหรัฐและจีนที่เป็นมหาอำนาจ โดยสิ่งสำคัญคือเราต้องให้ประเทศไทยเป็นคนดูแลโครงการนี้ ส่วนรูปแบบการร่วมทุน การบริหารงานของเอกชนเราต้องดูความสมดุลให้ดี รวมทั้งการเลือกว่าจะทำเรื่องของท่อส่งน้ำมัน และโรงกลั่นน้ำมันจะต้องมีการดึงประเทศจากตะวันออกกลางเข้ามาถ่วงดุลในโครงการนี้หรือไม่ซึ่งเราต้องพิจารณาด้วยเพราะการขนส่งน้ำมันประมาณ 60% ของโลกนั้นผ่านการขนส่งในเส้นทางช่องแคบมะละกา

ถ้าหากเรามีแลนด์บริดจ์จะลดระยะเวลาในการขนส่งสินค้าไป 6-9 วัน โดยไม่ใช่การเป็นคู่แข่งกับมาเลเซียและสิงคโปร์ แต่ในอนาคตการขนส่งที่จะผ่านช่องแคบมะละกาจะมีความแออัดมากขึ้น เราก็จะเป็นทางออกในการขนส่งสินค้า รัฐบาลนี้จึงจะลงทุนโครงการแลนด์บริดจ์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยยืนยันว่ารัฐบาลจะเป็นโครงการที่รัฐบาลนี้ทิ้งไว้ และสร้างความสำเร็จให้กับเศรษฐกิจไทยในระยะยาว