ม.หอการค้าไทยเสนอรัฐบาล ทบทวนนโยบายแจกเงินดิจิทัล

ม.หอการค้าไทยเสนอรัฐบาล ทบทวนนโยบายแจกเงินดิจิทัล

ม.หอการค้าฯ ชี้เงินดิจิทัลกระตุ้นเศรษฐกิจได้มาก แต่ควรทบทวนแจกเฉพาะกลุุ่มคนจน คนชั้นกลางที่มีปัญหา เสนอโยกงบไปลงทุนด้านระบบน้ำเพื่อรับมือเอลนีโญ ด้าน”อนุสรณ์ ธรรมใจ”ชี้แจกเงินกระตุ้นเศรษฐกิจน้อยกว่าการจ้างงาน

นายธนวรรธน์ พลวิชัย  อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ   เปิดเผยว่า ผลการสำรวจประชาชนจำนวนทั้งสิ้น 1,280 ตัวอย่างทั่วประเทศ ถึงทัศนะต่อนโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท พบว่า 76.4% พอใจและคาดว่าจะใช้เงินดิจิทัล ส่วนผู้ที่มีรายได้เดือนละ 40,001 บาทขึ้นไป จำนวน 15.6% ระบุว่าจะไม่ใช้ โดยในส่วนของผู้ที่จะใช้เงินดิจิทัล อยากใช้ซื้อสินค้าในครัวเรือนมากที่สุด 24.5% รองลงมาคือใช้ซื้ออาหาร 21.0% และมาตรการการใช้ในรัศมี 4 กม. ประชาชนตอบไม่เห็นด้วย ในสัดส่วนที่สูงและกังวลเรื่องความไม่สะดวกในการใช้เงิน ขณะเดียวกัน

เมื่อถามว่าผู้ประกอบการว่าจะมีร้านค้าเข้าร่วมโครงการดิจิทัลหรือไม่ มีผู้ตอบแบบสอบถามว่าไม่แน่ใจมากที่สุด 38.4% เนื่องจากมีความกังวลเรื่องการได้เงินสดช้ากว่าขายปกติ  และกลัวเรือ่งถูกเก็บภาษี  รวมทั้งยังไม่ทราบหลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการที่ชัดเจน  และ 33.8% ตอบว่าจะมีร้านค้าเข้าร่วมโครงการเพราะจะทำให้มียอดขายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม 48.3% เชื่อว่าเงินดิจิทัลจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ได้มาก และ 35.6% เชื่อว่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ปานกลาง

นายธนวรรธน์ กล่าวว่า ขณะนี้ รัฐบาลยังไม่ตกผลึกเรื่องโครงการนี้ว่าจะดำเนินการอย่างไร แต่ทางที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน กกร. ได้เสนอ ให้ทบทวนการแจกเงินเฉพาะกลุ่มเพื่อกันเงินไว้สำหรับลงทุนระบบจัดการน้ำ เพื่อรับมือกับผลกระทบเอลนีโญ่ และ ควรส่งเสริมให้มการมีการใช้ local contentหนี้สิน เพื่อเหลือเงินส่วนหนึ่งไปลงทุนในระบบบริหารจัดการน้ำ รับมือเอลนีโญ่ในปีหน้า

ม.หอการค้าไทยเสนอรัฐบาล ทบทวนนโยบายแจกเงินดิจิทัล

นายอุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิดัล การลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ ม.หอการค้าไทย กล่าวว่า  มาตรการของรัฐบาลที่จะแจกเงิน 10,000 บาท ผ่าน digital Wallet  โดยใช้ blockchain technology ว่า รัฐบาล อาจจะมีเป้าหมายแรก เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อปีหน้าเศรษฐกิจไทยโตได้ที่ 5-6%  ผ่านการใช้งบ 560,000 ล้านบาท  ซึ่งหากประเมินภายใต้สมติฐาน การหมุนของเงิน 1-3 รอบ  ประเมินว่า จะเกิดการหมุนเวียนของเงิน 1.6 ล้านล้านบาท   ซึ่งจะทำให้จีดีพีโตเพิ่มขึ้นได้ อีก 1.14--3%  จากฐานเศรษฐกิจเดิมแต่กรณีที่มีการรั่วไหล ใส่เงินลงไป เกิดแรงกดดันเงินเฟ้อ อาจจทำให้กนง. จำเป็นต้องปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นอีก มันจะไปหักล้างประสิทธิภาพของการใช้จ่าย

ดังนั้นการแจกเงินจะมีประสิทธิภาพน้อยกว่า  การกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการจ้างงานที่จะเกิดผลทวีคูณมากกว่า หรือการลงทุนด้านการบริหารจัดการน้ำที่มีผลยังยืนกว่า และการทำนโยบายนี้ ต้องมองถึง ค่าเสียโอกาสในการเอาเงินไปลงทุนด้านต่างๆด้วยด้งนั้น ทางมหาวิทยาลัยมีข้อเสนอ ให้ทบทวนการใช้เงินโดยมุ่งแจกเงินไปสู่คนที่มีรายได้น้อย หรือคนจน และคนชั้นกลางที่มีปัญหาหนี้ครัวเรือน ซึ่งจะ รัฐมีฐานข้อมูลอยุ่แล้วทั้งนี้การแจกเงินคนทั้งหมดยังไม่จำเป็น  ซึ่งเงินส่วนที่เหลือสามารถนำไปใช้ลงทุนในระบบบริหารจัดการน้ำ

ส่วนการเอาระบบบล็อกเชนมาใช้ รัฐอาจจะต้องการเริ่มต้นการ test blockchain technology system โดยให้บริษัทเอกชนดำเนินการ เพื่อเตรียมการไปในอนาคตในการรองรับ ด้าน government services ต่างๆ และ  การนำไปสู่การเลือกตั้งแบบ direct democracy แต่ทั้งนี้ การจะหาเงินมาใช้โครงการนี้ มี 3 วิธี เช่น การก่อหนี้ผ่านธนาคารของรัฐ เพื่อจะทำให้เร็วภายในเดือนกพ.  แม้มันจะไม่ปรากฎอยุ่ในงบประมาณ แต่ สุดท้ายรัฐก็ต้องมาตั้งงบประมาณชดเชย ซึ่ง มันจะสร้างภาระทางการคลังให้รัฐบาลมากขึ้น และจะกลายเป็น public debt  เช่นกัน และ ถือว่าเพิ่มความเสี่ยง ทางการคลังมากขึ้น โดยรัฐบาลที่ผานมาเพิ่งลดเพาดนหนี้ลงมาเหลือ 32% จาก 35% แต่รัฐบาลนี้มีข่าวว่าจะขายเพดานหนี้เป้น ร้อยละ 45 ซึ่งต้องระมัดระวังความเสี่ยงที่จะมากขึ้น วิธีที่2 คืดการปรับลดงบประมาณในโครงการที่ไม่จำเป็นลงส่วนหนึ่งผลที่ตามมาผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจจะลดลงหากโครงการนั้นนำไปสู่การจ้างงาน เช่นสร้างถนน เพราะเป้นโครงการที่มีการวางแผนใช้จ่ายอยู่แล้ว

วิธีที่ 3 การกู้เงินเพิ่มโดยการตั้งงบประมาณขาดดุล  

รัฐควร แสกนกลุ่มนำ เม็ดเงินลงมาไปโฟกัสช่วยเฉพาะกลุ่มที่เดือดร้อนจริงๆ และคนชนกลางที่มีปัญหาหนี้สินซึ่งคนกลุ่มเมื่อได้เงินจะมีผลต่อการใช้จ่ายสูง แต่การแจกทั่วไปทั้งหมด โดยหวังผลการปูทางการใช้ blockchain   technology เพื่อประโยชน์ในอนาคต ควบคู่กันไปอาจจะไม่ได้ผลเต็มที่ในการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างที่คาดเอาไว้  อย่างที่คาดเอาไว้