ไม่ไหวแล้ว ผู้เลี้ยงไก่ไข่แบกต้นทุนสูง จี้เกษตร-พาณิชย์ หาทางปรับลด

ไม่ไหวแล้ว ผู้เลี้ยงไก่ไข่แบกต้นทุนสูง จี้เกษตร-พาณิชย์ หาทางปรับลด

ธรรมนัส เล็งหารือ ภูมิธรรม ถกปัญหาต้นทุนไก่ไข่เพิ่ม หลังสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ ชี้ราคาอาหารสัตว์ พุ่งแตะ 17 บาทต่อกก. วอนปรับสมดุลระหว่างต้นทุนผลิตและราคาขายให้ทุกฝ่ายอยู่ได้

ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการเข้าพบของสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ ว่า ได้หารือถึงปัญหาต้นทุนการเลี้ยงไก่ไข่ที่ปรับเพิ่มขึ้น ตามราคาอาหารสัตว์ที่เป็นสัดส่วนต้นทุนการเลี้ยงไก่ไข่ ถึง 70% ซึ่งเป็นผลมาจากวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับราคาเพิ่มขึ้นก่อนหน้านี้ ทำให้ราคาอาหารไก่ไข่ ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 17 บาทต่อกิโลกรัม(กก.) เทียบกับปี 2563 อยู่ที่ราคา 10 บาทต่อกก.รวมทั้งการเลี้ยงไก่ไข่ยังได้รับผลกระทบจากราคาพลังงานด้วย

ไม่ไหวแล้ว ผู้เลี้ยงไก่ไข่แบกต้นทุนสูง จี้เกษตร-พาณิชย์ หาทางปรับลด ไม่ไหวแล้ว ผู้เลี้ยงไก่ไข่แบกต้นทุนสูง จี้เกษตร-พาณิชย์ หาทางปรับลด

ทั้งนี้กระทรวงเกษตรฯจะหารือกับนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ดูแลการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ให้ช่วยดูแลปัญหาดังกล่าว รวมทั้งปรับสมดุลระหว่างผลผลิตและราคา เพื่อให้ทุกฝ่ายอยู่ได้

“เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ อยากให้ภาครัฐเข้าดูแลเรื่องของต้นทุนการผลิต ซึ่งปัจจุบัน มีคณะอนุกรรมการพิจารณาต้นทุนการผลิตดูแลอยู่แล้ว แต่อยากสะท้อนปัญหาไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้พิจารณา ปรับลดต้นทุนลงมาบ้างเพราะขณะนี้ ราคาน้ำ ราคาข้าวสาลี และข้าวโพดต่างลดลงมาแล้ว แต่ราคาอาหารสัตว์ซึ่ง คิดเป็นต้นทุนมากกว่า 70% ของการเลี้ยงไก่ไข่ ยังไม่มีท่าทีที่จะลดลง”

ไม่ไหวแล้ว ผู้เลี้ยงไก่ไข่แบกต้นทุนสูง จี้เกษตร-พาณิชย์ หาทางปรับลด

นายมงคล พิพัฒสัตยานุวงศ์ นายกสมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่มีความลำบาก เพราะขายไข่ขาดทุน เพิ่งจะดีขึ้นในช่วง 3-4 ปีนี้ ที่ราคาเพิ่มขึ้น มีส่วนต่างจากต้นทุนบ้าง โดยขณะนี้ราคาประกาศอยู่ที่ฟองละ 4.0 บาท แต่ราคาขายส่งอยู่ที่ฟองละ 3.90 บาท ขณะที่ต้นทุนการผลิตไข่ไก่อยู่ที่ฟองละ 3.70 บาท แม้จะมีส่วนต่างระหว่างราคาขายกับต้นทุนการผลิต แต่ก็ถือว่าใกล้เคียงกันมาก จึงอยากให้รัฐบาลช่วยเข้ามาแก้ไขในเรื่องต้นทุนของเกษตรกรบ้าง

ไม่ไหวแล้ว ผู้เลี้ยงไก่ไข่แบกต้นทุนสูง จี้เกษตร-พาณิชย์ หาทางปรับลด

 

สำหรับผลผลิตไข่ไก่ส่วนใหญ่จะบริโภคในประเทศ มีส่งออกบ้างประมาณ 2-3% ในตลาดหลัก ซึ่งการส่งออกเป็นเพียงกลไกในการรักษาเสถียรภาพของราคาเท่านั้น

“เกษตรกรรายย่อย คือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวเป็นลำดับแรกๆ อยากให้รัฐบาลช่วยดูแลเกษตรกรรายย่อยมากกว่านี้ ไม่อยากให้สังคมมองเป็นจำเลยสังคม พอราคาไข่ขยับขึ้นภาครัฐก็เข้ามากำกับ อยากให้ภาครัฐเข้ามาดูแลผลผลิต ต้นทุนและราคาเพื่อให้เกษตรกรอยู่ได้ สร้างความมั่นคงให้อุตสาหกรรมอาหาร ไม่ใช่ทำให้เกษตรกรอ่อนแอและเลิกเลี้ยงไปในที่สุด”