‘ครม.’ เผยที่ประชุม ‘AEC Council’ หนุนเครือข่าย ‘อีวี อาเซียน’

‘ครม.’ เผยที่ประชุม ‘AEC Council’  หนุนเครือข่าย ‘อีวี อาเซียน’

ครม.รับทราบผลประชุมประชาคม ศก.อาเซียน หนุนเครือข่ายระบบนิเวศรถไฟฟ้าภูมิภาค ไทยโชว์อาเซียนแผนงานดันการผลิตรถไฟฟ้า 30% ในปี 2030

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  เปิดเผยผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ผลการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Council: AEC Council) ครั้งที่ 22 ระหว่างวันที่ 17 – 22 ส.ค. 2566 ที่ผ่านมา โดยมีประเด็นในการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ว่าอินโดนีเซียในฐานะประธานอาเซียนผลักดันประเด็นความยั่งยืน อย่างแข็งขันโดยเฉพาะเรื่องการพัฒนาระบบนิเวศสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งหลายประเทศสมาชิก เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม ต่างมีนโยบายสนับสนุนการใช้งานและการผลิตอย่างจริงจัง

โดยตัวแทนไทยที่เข้าร่วมการประชุมได้รายงานที่ประชุม ตั้งเป้าการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 30% ของปริมาณการผลิตภายใน ค.ศ. 2030  และพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี AEC Council  ว่าประเทศไทยได้ให้ความสําคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ส่งเสริมนโยบายที่ช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ยกระดับองค์ความรู้ด้านยานยนต์ไฟฟ้าของผู้ผลิตและแรงงานไทย เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย เพื่อให้สามารถเข้าไปอยู่ในห่วงโซ่การผลิตในภูมิภาคอาเซียนด้วย

สำหรับวาระที่เกี่ยวกับความยั่งยืนของอาเซียน ติดตามความคืบหน้า เช่น  แผนปฏิบัติการตามกรอบ เศรษฐกิจหมุนเวียนของอาเซียนซึ่งจะใช้กับ 3 สาขา ได้แก่ ภาคเกษตร พลังงาน และขนส่ง และการจัดตั้งหน่วยงาน ประสานงานหลักของประเทศสมาชิกเพื่อสนับสนุนการจัดทํายุทธศาสตร์อาเซียนเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน

นอกจากนี้ที่ประชุมได้รายงานภาพรวมเศรษฐกิจ และการค้าในภูมิภาคอาเซียน  คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียน  (พ.ศ. 2565-2567) จะมีการขยายตัวในระดับปานกลาง ที่ 5.6% ในปี 2565 เป็น 4.7%  ในปี 2566  และคาดว่าจะขยายตัวเป็น 5% ในปี 2567  ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อลดลงจาก5% ในปี 2565 เป็น4.4% ในปี 2566  และคาดว่าจะลดลงเหลือ 3.3 % ในปี 2567

สำหรับประเด็นสําคัญด้านเศรษฐกิจที่อินโดนีเซีย ในฐานะประธานอาเซียนผลักดัน ให้บรรลุผลสําเร็จในปี 2566   (Priority Economic Deliverable: PEDs) จํานวนทั้งสิ้น 16  ประเด็น โดยอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน จํานวน 7 ประเด็น เช่น การลงนามพิธีสาร ฉบับที่ 2  เพื่อปรับปรุงความตกลงการค้าเสรี อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ และการจัดทําแถลงการณ์ผู้นําอาเซียน ว่าด้วยการจัดทํากรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน

ส่วนวาระที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล เน้นย้ำความสําคัญของวาระเศรษฐกิจดิจิทัล โดยขอให้เร่งศึกษาประโยชน์และผลกระทบของการจัดทํากรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียนให้เสร็จภายในปีนี้  โดยตั้งเป้า การประกาศเริ่มเจรจาความตกลงดังกล่าวภายในการประชุม AEC Council ครั้งที่ 23 ในเดือน กันยายน 2566 ต่อไป

ส่วนการจัดทําวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนภายหลังปี 2568 พิจารณาองค์ประกอบหลัก ในส่วนของเสาเศรษฐกิจ จํานวน 6 องค์ประกอบ เช่น การยกระดับ เศรษฐกิจให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน  การส่งเสริม เศรษฐกิจให้มีความยั่งยืนและตอบสนองต่อสภาพภูมิอากาศ การผลักดันให้อาเซียนเป็นประชาคมดิจิทัลชั้นนํา และ การมีบทบาทเชิงรุกในประชาคมโลกโดยมีอาเซียนเป็นแกนกลาง

ส่วนเอกสารผลลัพธ์ ที่ประชุมได้รับรองและให้ความเห็นชอบต่อเอกสารผลลัพธ์ จํานวน 2 ฉบับได้แก่ การรับรองร่างภาคผนวกประกอบแผนการดําเนินงานสําหรับ การเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของติมอร์-เลสเต ในส่วน ของเสาเศรษฐกิจ การเห็นชอบร่างปฏิญญาผู้นําอาเซียนว่าด้วยการพัฒนา ระบบนิเวศสําหรับยานยนต์ไฟฟ้าระดับภูมิภาค ซึ่งเสนอให้ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 42 ให้การรับรองระหว่างวันที่ 10-11 พ.ค. 2566