ไฮสปีดไทย-จีนคืบหน้าแค่ 39.6% ท้าทายเป้าหมายเปิดให้บริการปี70

ไฮสปีดไทย-จีนคืบหน้าแค่ 39.6%  ท้าทายเป้าหมายเปิดให้บริการปี70

โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร -หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา)

ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2560 สถานะปัจจุบัน มีความคืบหน้าการก่อสร้าง 1.37 กิโลเมตร คิดเป็น 39.6%  

ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีกำหนดการเดินทางไปตรวจราชการ ณ จังหวัดสระบุรี ในวันนี้ (17  ส.ค. 2566 )โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ร่วมคณะโดยในเวลาประมาณ 08.45 น. นายกรัฐมนตรีจะตรวจเยี่ยมโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ อุโมงค์ที่ 1 (อุโมงค์ผาเสด็จ) ณ พื้นที่โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ฯ สถานีรถไฟหินลับ อ.มวกเหล็ก จ.สะบุรี รับฟังรายงานความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ จากนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย

สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณพื้นที่ก่อสร้างงานอุโมงค์รถไฟผาเสด็จ ช่วงมาบกะเบา - หินลับ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2559 โดยสัญญาที่ 3 เป็นงานอุโมงค์รถไฟ จำนวน 3 อุโมงค์ ได้แก่ อุโมงค์ที่ 1 (อุโมงค์ผาเสด็จ) ปัจจุบันมีความคืบหน้า 98.13% คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2566 ส่วนอุโมงค์ที่ 2 ตั้งอยู่ระหว่างสถานีหินลับ และสถานีมวกเหล็ก จ.สระบุรี และอุโมงค์ที่ 3 ตั้งอยู่ระหว่างสถานีคลองขนานจิตร อ.ปากช่อง และสถานีคลองไผ่ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา

จากนั้น นายกรัฐมนตรีตรวจเยี่ยมโครงการความร่วมมือระหว่างไทย - จีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพฯ - หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา)

จากนั้น นายกรัฐมนตรีตรวจเยี่ยมโครงการความร่วมมือระหว่างไทย - จีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพฯ - หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา)

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ระบุถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ–นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร จำนวน 14 สัญญา วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท โดยระบุว่า ขณะนี้โครงการดังกล่าวก่อสร้างแล้วเสร็จ 1 สัญญา อยู่ระหว่างก่อสร้าง 10 สัญญา เพิ่งลงนาม และรอเข้าพื้นที่ก่อสร้าง 1 สัญญา และรอลงนาม 2 สัญญา ประกอบด้วย 1.สัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.3 กิโลเมตร โดยปัจจุบันสำนักงานอัยการสูงสุดอยู่ระหว่างตรวจร่างสัญญา หากแล้วเสร็จจะสามารถลงนามสัญญาจ้างกับ บริษัท บุญชัยพาณิชย์ (1979) จำกัด ผู้รับจ้าง วงเงิน 10,325 ล้านบาท เพื่อดำเนินการก่อสร้างต่อไป

ไฮสปีดไทย-จีนคืบหน้าแค่ 39.6%  ท้าทายเป้าหมายเปิดให้บริการปี70

ส่วนที่ 2.สัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.2 กิโลเมตร ซึ่งเป็นช่วงที่มีโครงสร้างทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปเรื่องการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินฯ คาดว่าต้องรอรัฐบาลชุดใหม่พิจารณา 

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของภาพรวมงานการก่อสร้างโครงการฯ ปัจจุบันมีความคืบหน้า 23.95% โดย ร.ฟ.ท. เริ่มงานก่อสร้างเมื่อเดือน ธ.ค.2560 ยังคงตั้งเป้าหมาย และจะพยายามเร่งรัดงานก่อสร้าง เพื่อให้โครงการรถไฟไฮสปีดไทย-จีน ระยะที่ 1 สามารถเปิดบริการได้ภายในปี 2570

สำหรับความคืบหน้างานก่อสร้างแต่ละสัญญา ประกอบด้วย สัญญาที่ 1-1 สถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร งานก่อสร้างแล้วเสร็จ 100% ส่วนสัญญาที่ 2-1 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กิโลเมตร คืบหน้า 98.67% คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2566 ขณะที่สัญญาที่ 3-2 งานอุโมงค์มวกเหล็ก และลำตะคอง ระยะทาง 12.2 กิโลเมตร คืบหน้า 31.53%, สัญญาที่ 3-3 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ระยะทาง 26.1 กิโลเมตร คืบหน้า 29.09%

สัญญาที่ 3-4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวด ระยะทาง 37.4 กิโลเมตร คืบหน้า 61.23%, สัญญาที่ 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 12.3 กิโลเมตร คืบหน้า 4.63%, สัญญาที่ 4-2 ช่วงดอนเมือง-นวนคร ระยะทาง 21.8 กิโลเมตร คืบหน้า 0.20%, สัญญาที่ 4-3 ช่วงนวนคร-บ้านโพ ระยะทาง 23 กิโลเมตร คืบหน้า 16.07%, สัญญาที่ 4-4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย คืบหน้า 00.12% สัญญาที่ 4-6 ช่วงพระแก้ว-สระบุรี ระยะทาง 31.6 กิโลเมตร คืบหน้า 0.32% และสัญญาที่ 4-7 ช่วงสระบุรี-แก่งคอย ระยะทาง 12.9 กิโลเมตร คืบหน้า 42.96%

ความคืบหน้างานสัญญา 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟ และจัดฝึกอบรมบุคลากร วงเงินประมาณ 50,633 ล้านบาท ขณะนี้บริษัทคู่สัญญาฝ่ายจีน ประกอบด้วย บริษัท ไชน่า เรลเวย์ อินเตอร์แนชันนัล (CHINA RAILWAY INTERNATIONAL CO., LTD.) และ บริษัท ไชน่า เรลเวย์ดีไซน์ คอร์เปอเรชัน (CHINA RAILWAY DESIGN CORPORATION) ได้ดำเนินงานออกแบบตามสัญญาเบื้องต้นเสร็จแล้ว อยู่ระหว่างฝ่ายไทยตรวจสอบ ปัจจุบันผู้รับจ้างอยู่ระหว่างดำเนินการจัดหาวัสดุ และอุปกรณ์งานระบบ