KTC ลุยติวเข้ม ‘คิดก่อนคลิก’ รู้ทันโจรไซเบอร์

ปัจจุบันนี้การทำธุรกรรมทางการเงินนั้นทำได้ง่ายมากๆค่ะ แต่นี่ก็ถือว่าเป็นภัยเงียบเพราะเกิดช่องทางให้เหล่ามิจฉาชีพสรรหาวิธีหลอกลวงกันออกมามากมาย วันนี้มุกปริมจะพาไปสังเกตวิธีการ และการรับมือกับเหล่ามิจฉาชีพพวกนี้กันค่ะ

"รู้ทันภัยไซเบอร์ คิดก่อนคลิกทำธุรกรรมการเงิน"ถือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนควรรู้  ทางเคทีซีได้เปิดเวทีเสวนาติดอาวุธให้กับคนไทยพร้อมรับมือความเสี่ยงก่อนทำธุรกรรมการเงินจากภัยคุกคามครั้งใหม่ในโลกไซเบอร์

พ.ต.ต.เทียนชัย เข็มงาม สารวัตรกลุ่มงานสนับสนุนทางไซเบอร์ บอกว่าตลอดปีที่ผ่านมาได้รับแจ้งความเกี่ยวกับการถูกหลอกลวงในการทำธุรกรรมการเงิน 2 แสนกว่าเคส รวมมูลค่าความเสียหาย 3 หมื่นกว่าล้านและสามารถจัดการจับกุมบัญชีม้า อายัดทรัพย์ได้มูลค่า 400-500 ล้านบาทได้ทันเวลา พร้อมเผย 5 อันดับประเภท กลโกงภัยออนไลน์ใกล้ตัวให้ฟังว่า อันดับ 1 คือ เรื่องโดนหลอกลวงซื้อขายสินค้าออนไลน์  อันดับ 2 คือ หลอกให้โอนเงินเพื่อหารายได้จากกิจกรรม  ผ่านการชักชวน กดไลค์ กดแชร์ กดลิงค์กรอกข้อมูลส่วนตัว หลอกให้โอนค่ามัดจำ อันดับ3 คือ หลอกให้กู้เงินแต่สุดท้ายไม่ได้ อันดับ4 แก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกลวง  แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ  ให้ติดตั้งแอพ  อันดับ5 หลอกให้ลงทุน  เทรดหุ้น คริปโต ให้ผลตอบแทนสูง แต่สุดท้ายถอนไม่ได้

นายนพรัตน์ สุริยา ผู้บริหารแผนกสืบสวนทุจริต "เคทีซี" กล่าวว่า  วิธีการรับมือกับมิจฉาชีพคือจะต้องหมั่นติดตามข่าวสาร มีสติ คิดพิจารณาก่อนที่จะกดลิงค์กรอกข้อมูลส่วนตัวหรือรหัสOTP ให้คนอื่น และสำคัญมากคือควรตั้งค่า Notification setting ของแอพพลิเคชั่นธนาคารอย่าปิดเด็ดขาด แต่กรณีที่พลาดไปกดลิงค์หรือคิวอาร์โค้ดและรู้สึกว่ากำลังตกเป็นเหยื่อจากการรีโมทคอนโทรล ให้รีบตัดการเชื่อมต่อไวไฟ ปิดเครื่อง ถอดแบต หรือถอดซิมการ์ดออกให้ไวที่สุด และรีบโทรสอบถามธนาคารทำการอายัดบัตรให้ไวที่สุดด้วยเช่นกัน สิ่งที่ควรทำเพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อ คือ การตั้งรหัสที่แตกต่างกัน อย่าใช้รหัสเดียวกันทั้งหมดเพราะจะทำให้มิจฉาชีพเจาะเข้าไปทำรายการได้ง่าย

ซึ่งคุณไรวินทร์ วรวงษ์สถิตย์ ผู้บริหารสูงสุด สายงานควบคุมงานปฏิบัติการและปฏิบัติการร้านค้า "เคทีซี" หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) บอกว่า ทิศทางของเคทีซีจะเปลี่ยนไปจากเดิมเน้นความสะดวก แต่ปัจจุบันต้องเน้นความปลอดภัยอาจจะทำให้ความสะดวกลดลงแต่จะปลอดภัยมากขึ้น ขณะนี้หน่วยงานก็เริ่มมีการปรับแผนและเชื่อมั่นในระบบเพราะมีทีมดูแลทั้งระบบหน้าบ้านและหลังบ้าน

 

ส่วนการตั้งข้อสังเกตว่าคือมิจฉาชีพหรือเปล่า คือ เบอร์มือถือที่ขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย+ ตามด้วยรหัส ตปท. หรือ เบอร์ที่มาจาก ตปท. และแนะนำติดตั้งแอพฯ WHO CALL  หรือ CALL BLOCKER เอาไว้ในเครื่องเพื่อเป็นตัวช่วยค่ะ