ถอดโมเดลกำหนด ‘ค่าจ้างแรงงาน’ ทั่วโลก ใช้วิธีไหนบ้าง? กำหนดผลตอบแทนแรงงาน

ถอดโมเดลกำหนด ‘ค่าจ้างแรงงาน’ ทั่วโลก ใช้วิธีไหนบ้าง? กำหนดผลตอบแทนแรงงาน

"ค่าจ้าง" หรือผลตอบแทนของแรงงานเป็นสิ่งสำคัญที่สะท้อนคุณภาพชีวิตของแรงงานโดยตรง โดยแรงงานจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีหากได้รับค่าจ้างที่เหมาะสมสอดคล้องกับค่าครองชีพ

นอกจากนี้ระดับค่าจ้างที่เหมาะสมยังมีส่วนช่วยแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม รวมทั้งจูงใจให้แรงงานพัฒนาทักษะและมีผลิตภาพที่เพิ่มขึ้นได้

ทั้งนี้มีหลายพรรคการเมืองที่พูดเรื่องนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ โดยค่าแรงขั้นต่ำนั้นเป็นเพียงรูปแบบหนึ่งของการกำหนดค่าจ้างแรงงานที่มีอยู่หลากหลายในโลกนี้

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยข้อมูลในรายงานเรื่อง “เรียนรู้การกำหนดค่าจ้างจากต่างประเทศ” ในการแถลงภาวะสังคมไทยไตรมาสที่ 4 และภาพรวมในปี 2565 เปิดเผยรูปแบบการกำหนดค่าจ้างของประเทศต่างๆ โดยมี 3 รูปแบบหลักที่สำคัญได้แก่

3 โมเดลกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำทั่วโลก 

1. การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ โดยมีวัตถุประสงค์ให้แรงงานได้รับค่าจ้างเพียงพอต่อความต้องการพื้นฐานที่ช่วยปกป้องแรงงานให้พ้นจากความยากจน และสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจให้แก่แรงงาน จากข้อมูลขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) พบว่า ทั่วโลกมีประเทศที่มีการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำถึง 170 ประเทศ จาก 182 ประเทศ หรือคิดเป็นสัดส่วน 92%

โดยแนวคิดในการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำที่ ILO ระบุไว้ในอนุสัญญา ฉบับที่131 อธิบายว่า การกำหนดค่าจ้างจะต้องคำนึงถึงความต้องการของลูกจ้างและครอบครัว ระดับค่าจ้างทั่วประเทศ ค่าครองชีพ สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ มาตรฐานการครองชีพเทียบกับกลุ่มสังคมอื่น และปัจจัยทาง เศรษฐกิจ โดยรูปแบบการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำของแต่ละประเทศยังมีความหลากหลายด้วย

 

 

2. การกำหนดโครงสร้างค่าจ้าง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับแรงงานมากขึ้น โดยแรงานจะได้รับการปรับค่าจ้างเพิ่มขึ้นตามประสบการณ์และทักษะ ซึ่งปัจจุบันมีการดำเนินการแล้วในอินโดนีเซียที่ได้ออกกฎหมายในปี 2560 ซึ่งกำหนดให้นายจ้างต้องประกาศโครงสร้างค่าจ้างให้กับลูกจ้างทราบ

โดยโครงสร้างลูกจ้างจะแบ่งตามตำแหน่ง ระยะเวลาในการทำงาน การศึกษา และทักษะเพื่อให้เกิดความชัดเจน และแรงงานสามารถทราบถึงระยะเวลาในการทำงาน การศึกษา และทักษะเพื่อให้เกิดความชัดเจน และแรงงานทราบถึงสิทธิ์ที่ควรได้รับด้วย 

โดยล่าสุดสภาเทศบาลนิวยอร์ก ได้อนุมัติกฎหมายให้นายจ้างต้องระบุ เงินเดือนขั้นต่ำ และสูงสุดสำหรับตำแหน่งงานทั้งหมดในเดือนธ.ค.2565

 

 

3.การกำหนดค่าจ้างแรงงานโดยการตกลงกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้างหรือการใช้กลไกตลาด ซึ่งในส่วนนี้เป็นรูปแบบที่ไม่มีการแทรกแซงจากภาครัฐ โดยเป็นการตกลงกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ซึ่งในบางกรณีอาจมีสหภาพแรงงานเข้ามาช่วยในการเจรจาต่อรอง ทั้งการกำหนดค่าจ้าง สวัสดิการ สิทธิประโยชน์อื่นๆและสภาพแวดล้อมการทำงานด้วย ซึ่งรูปแบบนี้เป็นที่นิยมในกลุ่มประเทศนอร์ดิก เช่น สวีเดน เดนมาร์ก นอร์เวย์ ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีสหภาพแรงงานเข้มแข็ง หรือมีสัดส่วนแรงงานที่อยู่ในสภาพจำนวนมาก 

ตัวอย่างการกำหนดค่าจ้างของประเทศต่างๆมีดังนี้

1.มาเลเซีย กำหนดค่าจ้างขั้นต่ำตามแนวทาง IL0 หลักเกณฑ์การปรับ ได้แก่ เส้นความยากจนด้านรายได้ และค่ามัธยฐานของค่าจ้าง โดยมีองค์ประกอบการปรับเพิ่มเติมจาก CPI ผลิตภาพแรงงาน และอัตราการว่างงานที่แท้จริง โดยปรับทุก 1 - 2 ปี พิจารณา โดยคณะกรรมการไตรภาคีรวมผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการ ศึกษารวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล

2.ฟิลิปปินส์ กำหนดค่าจ้างขั้นต่ำเป็นค่าจ้างที่เพียงพอต่อมาตราฐานค่าครองชีพขั้นต่ำ ที่รวมถึงด้านสุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดีของแรงงานและครอบครัว ที่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจในแต่ละภูมิภาค โดยปรับทุก 1 - 3 ปี โดยการปรับพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ความต้องการของแรงงานและครอบครัว สภาะเศรษฐกิจ รวมถึง การกระจายรายได้ที่เท่าเทียมความสามารถจ่ายของนายจ้าง CPI พิจารณาโดยไตรภาคีของคณะกรรมการ National Wages and Productivity Commission ซึ่งมีอยู่ประจำในทุกภูมิภาค

3.เวียดนาม กำหนดค่าจ้างขั้นต่ำตามแนวคิด ค่าจ้างที่อย่างน้อยที่สุดที่สามารถทำให้แรงงานและครอบครัวสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีมาตรฐาน ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจของท้องถิ่นนั้น โดยปรับทุก 1 - 2 ปี ตาม CPI มาตรฐานค่ครองชีพขั้นต่ำของแรงงานและครอบครัว การขยายตัวของเศรษฐกิจรัฐบาลจะประกาศค่าจ้างขั้นต่ำในระดับภูมิภาคตามคำแนะนำของสภาค่าจ้างแห่งชาติ ซี่งองค์กรไตรภาคีที่มีตัวแทนจากรัฐบาล นายจ้าง และคนงาน อัตราค่าจ้างขั้นต่ำกำหนดเป็นรายชั่วโมง รายวัน และรายเดือนสำหรับภาคส่วนและภูมิภาคต่าง ๆ

4.อินโดนีเซีย อัตราค่าจ้างชั้นต่ำกำหนดขึ้นเพื่อคุ้มครองให้แรงงานและครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ดีโดยคำนึงถึงการจ้างงานและการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยทั่วไปค่จ้างขั้นต่ำจะกำหนดที่ระดับจังหวัดและระดับเขตปกครอง/เมือง มีผลบังคับใช้เฉพาะกับแรงานที่มีอายุงานน้อยกว่าหนึ่งปี สำหรับแรงานที่มีอายุงานมากกว่าหนึ่งปีจะได้รับค่าจ้างตามโครงสร้างค่าจ้างของบริษัทหรือตามที่ตกลงกัน โดยปรับทุก 1 - 2 ปี คำนวณจากสูตรที่มีการใช้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อระดับจังหวัด และดัชนีอื่น ๆ ประกอบ เช่น การบริโภคของสมาชิกครัวเรือน อำนาจซื้อ โดยผู้ว่าการท้องถิ่นเป็นผู้กำหนด ตามคำแนะนำจากสภาค่าจ้างระดับจังหวัดและ/หรือเขต ที่ได้ทำการศึกษาและคำนวณอัตราค่าจ้าง

5.สิงคโปร์ ไม่มีการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ ค่จ้างขึ้นอยู่กับการต่อรองของนายจ้างและลูกจ้าง โดยมีการจัดตั้ง National Wages Council เป็นองค์กรไตรภาคี จากรัฐบาล สหภาพแรงานและนายจ้าง เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะในการปรับค่าจ้าง ประจำปี จากการวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้ ยังมีโครงการ Progressive Wage Model เพื่อสนับสนุนแรงงานให้ฝึกอบรมในบางสาขา ได้แก่ การทำความสะอาด การรักษาความปลอดภัย ฯลฯ ซึ่งจัดให้มี การอบรมและทดสอบเพื่อให้ได้รับค่าจ้างที่สูงขึ้น

6.ฝรั่งเศส กำหนดค่าจ้างขั้นต่ำตามแนวทาง ILO หลักเกณฑ์การปรับ ที่ใช้ CPI ค่าจ้างแรงงานทั่วไป โดยมีการปรับทุกปีและปรับ อัตโนมัติเมื่อ CPI เพิ่มขึ้นมากกว่า 2.5 พิจารณาโดยรัฐบาล กรรมการผู้เชี่ยวชาญ หอการค้า องค์กรนายจ้างมีการกำหนดคำจ้างขั้นต่ำและค่าจ้างเพื่อชีวิต โดยแบ่งตามช่วงอายุ วัยทำงานตั้งแต่ออกจากโรงเรียนและไม่เกิน 23 ปี ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ เกิน 23 ปี ได้รับค่าจ้างเพื่อชีวิต

นอกจากนี้ยังมีค่าจ้างตามกลุ่มอาชีพเช่นเกษตรกรที่แบ่งเป็นระดับ 1 - 6 โดยมีการปรับทุกปี กำหนดโดยภาครัฐตามคำแนะนำของคณะกรรมการค่าจ้างต่ำ ประกอบด้วย สมาชิกที่เป็นตัวแทนของแรงงาน นายจ้าง และผู้เชี่ยวชาญอิสระ

7.นิวซีแลนด์ มีการกำหนดค่าจ้างชั้นต่ำรายอายุและกำหนดให้เข้ารับการฝึกอบรมทักษะเพื่อได้รับอัตราค่าจ้างที่สูงขึ้น โดยแบ่งเป็น 3ประเภท ได้แก่ ค่าจ้างสำหรับแรงงานแรกเข้า อายุ 16 - 19 ปี ที่ต้องได้รับการฝึกอบรมทักษะเพื่อที่จะได้รับค่าจ้างประเภทอื่นที่สูงขึ้น ค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับผู้ใหญ่ ที่ใช้กับแรงงานตั้งแต่อายุ 16 ปีขึ้นไปที่ได้รับการฝึกอบรมทักษะ ตามเกณฑ์ และค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับการฝึกอบรมให้กับแรงงานที่อายุ 20 ปีขึ้นไป และได้รับการอบรมตามเกณฑ์