“HomeHug รักษ์โลก” จาก กาบหมาก สู่ ภาชนะ

“HomeHug รักษ์โลก”  จาก กาบหมาก สู่ ภาชนะ

กรมส่งเสริมการเกษตร หนุนวิสาหกิจชุมชนโฮมฮักตาก ผลิตภาชนะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย “กาบหมาก” ลดการกำจัดเศษวัสดุเหลือใช้จากการทำการเกษตรด้วยการเผาทำลาย และช่วยลดการเกิดปัญหาหมอกควัน

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตร มีนโยบายในการใช้ BCG Model ด้วยกระบวนการส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่ ซึ่งเป็นการพัฒนาโดยยึดพื้นที่เป็นหลัก (Area – Based) มีการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงลึกทั้งมิติพื้นที่ คน และสินค้า ใช้กระบวนการมีส่วนร่วม พัฒนาตามความต้องการของพื้นที่ บูรณาการการดำเนินงานและงบประมาณกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงานภาคีในระดับพื้นที่และระดับนโยบาย

“HomeHug รักษ์โลก”  จาก กาบหมาก สู่ ภาชนะ “HomeHug รักษ์โลก”  จาก กาบหมาก สู่ ภาชนะ “HomeHug รักษ์โลก”  จาก กาบหมาก สู่ ภาชนะ “HomeHug รักษ์โลก”  จาก กาบหมาก สู่ ภาชนะ “HomeHug รักษ์โลก”  จาก กาบหมาก สู่ ภาชนะ

มุ่งเน้นการพัฒนาต่อยอดจากฐานการพัฒนาที่มีอยู่แล้ว ให้เกิดผลสำเร็จที่ชัดเจน สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรและชุมชน โดยมีเป้าหมายปรับเปลี่ยนระบบการเกษตรของไทยสู่ 3 สูง ได้แก่ ประสิทธิภาพสูง มาตรฐานสูง และรายได้สูง 

นายเข้มแข็ง กล่าวเพิ่มเติมว่า เนื่องด้วยจังหวัดตาก มีพื้นที่ปลูกต้นหมากมากกว่า 10,000 ไร่ และมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต การกำจัดเศษวัสดุเหลือใช้จากการทำการเกษตรของเกษตรกรส่วนใหญ่คือการเผาทำลาย ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดไฟป่าและปัญหาหมอกควัน หรือ PM 2.5 ในปัจจุบัน

ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงเป็นแรงจูงใจให้มีแนวคิดในการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน “โฮมฮักตาก” โดยวิสาหกิจชุมชนโฮมฮักตาก อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เริ่มจากเป็นกลุ่มผู้ผลิตภาชนะกาบหมากเล็กๆ ภายในจังหวัดตาก โดยมีแนวความคิดในการแยกขยะและการรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน จากการเป็น “ผู้ใช้” ที่ใส่ใจในสิ่งแวดล้อม และผันตัวมาเป็น “ผู้ผลิต” ภาชนะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเล็งเห็นว่าในพื้นที่จังหวัดตากมีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหลายอย่างที่สามารถนำมาเพิ่มมูลค่าและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมได้ เช่น ใบไม้แห้ง กาบไผ่ และกาบหมาก เป็นต้น โดยกลุ่มได้มุ่งเน้นวัตถุดิบหลักไปที่ “กาบหมาก”

สำหรับวิสาหกิจชุมชนโฮมฮักตาก ได้นำ BCG Model มาใช้ขับเคลื่อนการดำเนินกิจกรรมของกลุ่ม ได้แก่ การเพิ่มมูลค่าเศษวัสดุเหลือใช้จากการทำการเกษตร โดยนำกาบหมากมาผลิตเป็นภาชนะใส่อาหารและบรรจุภัณฑ์หลากหลายรูปแบบ ภายใต้แบรนด์ “HomeHug รักษ์โลก” การทำปุ๋ยหมัก น้ำส้มควันไม้ ถ่านดูดกลิ่น (Char Leaf) และถ่านไบโอชาร์กาบหมาก จากเศษกาบหมากที่เหลือจากการทำบรรจุภัณฑ์

โดยมีการเข้าร่วมโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล (U2T) ซึ่งเป็นการบูรณาการร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์สบู่จากถ่านไบโอชาร์กาบหมาก และผลิตภัณฑ์แชมพูอาบน้ำสัตว์จากน้ำส้มควันไม้กาบหมาก อีกทั้งยังพัฒนาระบบการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน ไม่มีการใช้สารเคมีในทุกขั้นตอนในกระบวนการผลิต และยังมีเป้าหมายที่จะผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่างๆ

โดยใช้กระบวนการผลิตที่สร้างขยะเป็นศูนย์ “Zero Waste Production” ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้ เป็นการขับเคลื่อน BCG Model ในส่วนของ Circular Economy และ Green Economy คือ สามารถลดต้นทุนในการผลิตมีการใช้ประโยชน์จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถสร้างรายได้จากวัตถุดิบในชุมชนได้อย่างยั่งยืน