‘เฟด’ งัด 2 มาตรการหลักรับมือ ‘ปิด’ 3 แบงก์

อย่างที่คาดกันไว้นะครับ FED คงปล่อยให้ปัญหาเล็กๆทำทั้งระบบพังไปไม่ได้ เลยเริ่มหยิบปืนบาซูกาออกมาเตรียมไว้เลย 

ซึ่งต้องยอมรับเขาจัดการปัญหาได้เร็วจริงๆนะครับ สองวันปิดแบงก์ วันครึ่งประกาศมาตรการที่ต้องคุยกันระหว่างธนาคารกลาง กระทรวงคลัง FDIC และ president ได้เลย (ของไทย รมว ไม่ว่างยังแถลงข่าวไม่ได้เลยฮะ) 

เมื่อคืนนี้ประกาศมาตรสองอันใหญ่ๆนะครับ

#อันแรก คือประกาศเปิด Bank Term Funding Facility ที่รับสินทรัพย์คุณภาพดีเป็นหลักประกันในการกู้เงิน และคิดราคาที่ par value เพื่อแก้ปัญหาว่า ธนาคารต้องขายพันธบัตรแล้วต้อง book ขาดทุน อันนี้ตรงจุดกับปัญหานี้มาก

Treasury ประกาศหนุนเงินอีก 2.5 หมื่นล้าน เตรียมไว้ใช้งานนี้โดยเฉพาะ ซึ่ง Fed ปกติสามารถปั่นเงินไปใช้อีกสักสิบเท่า แปลว่ามีเม็ดเงินกว่าสองแสนล้านไว้ลุย

#สอง คือ FDIC ประกาศ bailout เงินฝากทั้งหมด ของ SVB และ signature bank ที่เพิ่งโดนปิด และบอกอีกว่าวันจันทร์ไปถอนเงินได้เลย

ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ ปกติแล้ว FDIC หรือสถาบันประกันเงินฝากจะคุ้มครองเงินฝากไม่เกิน 250,000 ดอลลาร์ต่อบัญชีเท่านั้น 

ยกเว้นจะบอกว่าเคสนี้เป็น systemic risk ซึ่งเป็นการยอมรับว่าเคสนี้น่ากังวลจริงๆ

ผมว่าเกิดหลายประเด็นเลยครับ

1. เห็นได้ว่า Fed ทุ่มเต็มที่ งัดเอามาตรการมาเต็มที่ เพื่อพยายามรักษาความมั่นใจและความเชื่อใจในระบบ

2. เชื่อได้ว่าตรงนี้คงช่วยหยุดความตระหนกได้พอสมควร และน่าจะหยุด bank run ที่ไม่จำเป็นได้ เห็นตลาดคลายความกังวลไปได้เยอะเลย

3. ผมว่าปัญหารอบนี้มันยังค่อนข้างง่าย เพราะเป็นประเด็นสภาพคล่องมากกว่าปัญหาคุณภาพสินทรัพย์ 

สิ่งที่ทำให้เกิดปัญหาคือตราสารหนี้คุณภาพดีที่ลดมูลค่าเพราะอัตราดอกเบี้ย แต่ถือจนครบอายุ มูลค่าก็กลับไปที่เดิม 

สิ่งที่ระบบต้องการคือคนไปถือสินทรัพย์ในระหว่างที่เกิด panic ซึ่ง Fed ควรทำตรงนี้ได้ง่ายๆเลย โดยน่าจะมีต้นทุนความเสียหายน้อยมาก

ปัญหาจะยากกว่านี้มาก ถ้ามันเป็นเรื่องคุณภาพสินทรัพย์ (เช่นหนี้เสีย) ที่ต้องคิดหนักมากว่าใครจะมารับความเสียหายตรงนี้

และสุดท้ายนะครับ ถ้าไปดูงบของ FDIC มีเงินอยู่แค่แสนกว่าล้าน นับจริงๆก็แค่ 1% กว่าของเงินฝากที่ต้องรับประกัน เจ๊งกันมาจริงๆก็ไม่พอ

ดังนั้นประเด็นสำคัญคือจะทำยังไงให้ trust และ confidence กลับมาได้ เพราะต้นทุนของการไม่ทำอาจจะสูงกว่านี้มาก และเชื่อว่าเฟดคงต้องช่วยกันเต็มที่แม้ต้องเอาปืนใหญ่กว่านี้มายิงก็ตาม

จึงเป็นที่มาของการ bailout อย่างที่เห็น แม้อาจจะทำให้เกิดปัญหา moral hazard ต่อเนื่องในอนาคตได้

แต่จะเรียกความเชื่อมั่นได้จริงๆหรือไม่ ต้องจับตาดูกันครับ