ปี 65 จีนนำเข้าผลไม้ไทยสูงสุด 2.17 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 3.72 %

ปี 65 จีนนำเข้าผลไม้ไทยสูงสุด  2.17 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 3.72 %

ตลาดผลไม้จีนปี 65 โต 8 % มูลค่า 14,600 ล้านดอลลาร์ แนวโน้มนำเข้าผลไม้โตต่อเนื่อง “ทูตพาณิชย์” เผยจีนนำเข้าผลไม้ไทยมูลค่าสูงสุด ชี้ตลาดผลไม้จีนแข่งขันสูง หลายประเทศจ้องแย่งส่วนแบ่งตลาด แนะผู้ประกอบการไทยรับมือ

ตลาดผลไม้นำเข้าของจีน ถือเป็นตลาดใหญ่ โดยปัจจุบัน จีนนำเข้าผลไม้จากทั่วโลกคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์   โดยจีนมีความต้องการผลไม้นำเข้าของจีนยังคงสูง หากเทียบกับประเทศอื่น ๆ จนทำให้จีนกลายเป็นหนึ่งในประเทศนำเข้าผลไม้ที่สำคัญของโลก 

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ(สคต.) ณ เมืองเซี่ยเหมิน ประเทศจีน  ได้รายงานว่า จากข้อมูลของหอการค้านำเข้าและส่งออกสินค้าอาหารและผลไม้ (CFNA) ได้ออกมาเผยแพร่สถิติการนำข้าส่งออก ผลไม้ทั้งหมดของจีนในปี 2565 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 14,600 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 8 % ปริมาณการนำเข้าผลไม้รวม 7.33 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 4 %  ด้านการส่งออกทั้งปี 2565 ของจีนมีมูลค่า 4,600 ล้านดอลลาร์ ลดลง 15 % ปริมาณการส่งออกผลไม้รวม 3.26 ล้านตัน ลดลง 8 % 

ผลไม้ 5 อันดับแรกที่จีนนำเข้าในปี 2565 ได้แก่ กล้วยหอม มะพร้าวอ่อน ทุเรียน แก้ว มังกร และลำไย แต่หากเรียงลำดับจากมูลค่าผลไม้ที่จีนนำเข้าสูงสุด ได้แก่ ทุเรียน เชอร์รี่ กล้วย มังคุด และมะพร้าว ทั้งนี้การนำเข้าผลไม้ของจีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 7,600 ล้านดอลลาร์ ในปี 2561 เป็น 14,600 ล้านดอลลาร์ในปี 2565 

สำหรับประเทศผู้ส่งออกผลไม้ไปจีน ข้อมูลระบุว่า  กระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์วางแผนร่วมมือกับธุรกิจเอกชนและกลุ่มเกษตรกรเพิ่มความเข้มแข็งในการส่งเสริม พืชศักยภาพในการส่งออกให้เพิ่มสูงขึ้น อาทิ มะม่วง โกโก้ กาแฟ กล้วยหอม กระเจี๊ยบ รวมไปถึงทุเรียน เป็นต้น โดยตั้งแต่วันที่ 7 ม.ค. 2566 จีนอนุญาตให้นำเข้าทุเรียนสดจากฟิลิปปินส์อย่างเป็นทางการ (นับว่าเป็น ประเทศที่สาม ที่จีนอนุญาตให้นำเข้าทุเรียนสด รองจาก ไทย และ เวียดนาม ) ทำให้ฟิลิปปินส์เริ่มให้ความสำคัญใน การพัฒนาคุณภาพทุเรียนสำหรับการส่งออก  

ปี 65 จีนนำเข้าผลไม้ไทยสูงสุด  2.17 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 3.72 %

ขณะที่เวียดนามเป็นอีกประเทศที่มีศักยภาพส่งออกผลไม้ที่น่าจับตามอง หลังจากที่จีนอนุญาตให้นำเข้าทุเรียนสด จากเวียดนามเมื่อเดือนก.ค. ปี 2565 และจีนนำเข้าทุเรียนสดล๊อตแรกจากเวียดนามในวันที่ 17 ก.ย. 2565 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน เวียดนามส่งออกทุเรียนมายังประเทศจีนแล้วรวมทั้งสิ้น 41,000 ตัน รวมเป็นมูลค่า 190 ล้านดอลลาร์แต่วันที่ 28 ม.ค. 2566 เป็นต้นมา 5 ท่าเรือสำคัญของจีน-เวียดนาม  ได้แก่ HU Nghi International port, Tan Thanh port, Chi Ma port, Dong Dang International port และ Coc Nam port) ที่ระงับการนำเข้าส่งออกชั่วคราวในช่วงเทศกาลตรุจีน ได้กลับมาเปิดทำการอย่างเต็มรูปแบบ ส่งผลการนำเข้า ส่งออกสินค้าระหว่างจีน-เวียดนามเริ่มกลับมาคึกคักขึ้น โดยปัจจุบัน พิธีการศุลกากรในการนำเข้าและส่งออกสินค้า ไปยังประเทศจีน มีการเอื้ออำนวยความสะดวกมากขึ้น 

โดยคาดว่าการส่งออกแก้วมังกรและทุเรียนของเวียดนาม มายังจีนในปี 2566 จะสูงถึง 1,000 ล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับประเทศไทยแล้ว ทุเรียนจากประเทศเวียดนามมี ข้อได้เปรียบทางด้านการขนส่งที่สั้น ช่วยลดต้นทุนด้านการขนส่ง ทำให้มีข้อได้เปรียบทางด้านราคา ทุเรียนเวียดนาม มีฤดูการเก็บเกี่ยวยาว ได้ผลผลิตต่อปีค่อนข้างสูง สามารถกระจายผลผลิตได้ตลอดทั้งปี ทุเรียนเวียดนามจึงมีข้อ ได้เปรียบทางการแข่งขันในตลาดสูง นอกจากนี้ มูลค่าการส่งออกผลไม้ชนิดอื่นๆ เช่น กล้วย ขนุน มะม่วง เป็นต้น ที่ เวียดนามส่งออกไปยังจีนคิดเป็นมูลค่ากว่า 100 ล้านดอลลาร์ 

 

นางสาวนันท์นภัส งามแม้น  ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ(สคต.) ณ เมืองเซี่ยเหมิน ประเทศจีน  กล่าวว่า  จากข้อมูลตัวเลขการนำเข้าที่เพิ่ม สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นการตอกย้ำว่าจีนยังคงมีความต้องการผลไม้จากทั่วโลก จีนยังคงเป็นตลาดบริโภคผลไม้ ขนาดใหญ่ ข้อมูลจาก Intelligence Research ระบุว่า ปริมาณการบริโภคผลไม้ของคนจีนในปี 2564 อยู่ที่ ประมาณ 296 ล้านตัน เมื่อเทียบกับปี2555 ปริมาณการบริโภคเพิ่มขึ้นถึง 34% การบริโภคผลไม้ต่อหัวของ คนจีนอยู่ที่ประมาณ 175.27 กิโลกรัม ด้วยการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของขนาดชนชั้นกลาง ส่งผลให้ผู้คนใส่ใจต่อ สุขภาพและการแสวงหาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป็นการสร้างโอกาสให้กับตลาดผลไม้คุณภาพสูง 

โดยในปี 2564 สัดส่วนการบริโภคผลไม้นำข้าของจีนเพิ่มขึ้นถึง  2.51%  ข้อมูล GTA ปี 2565 แหล่งนำเข้าผลไม้ของจีน 5 อันดับแรก ได้แก่ ไทย ชิลี เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และ สหรัฐอเมริกา ซึ่งไทยอยู่ในอันดับที่ 1 ของประเทศที่จีนนำเข้าผลไม้มูลค่าสูงสุด ปริมาณการนำเข้าที่ 2.17 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 3.72 % โดยผลไม้จากประเทศไทยเข้าทางมณฑลกว่างตง ปริมาณสูงสุด รองลงมาเข้ามาทาง มณฑลเจ้อเจียง ยูนหนาน ฉงชิ่ง และเซี่ยงไฮ้   ซึ่งมณฑลฝูเจี้ยน นำเข้าผลไม้จากประเทศ เวียดนามปริมาณมากที่สุด รองลงมาคือประเทศไทย ในปี 2565 มณฑลฝูเจี้ยนนำเข้าผลไม้จากประเทศไทยแล้ว ปริมาณ 101,534 ตัน เพิ่มขึ้น  71.91 % คิดเป็นมูลค่า 179 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น  55.31 %  โดยนำเข้า ลำไยจากไทย มูลค่าสูงสุด รองลงมาคือ ทุเรียน และมะพร้าว   

“ตลาดผลไม้ในจีนมีอัตราการแข่งขันที่นับวันจะยิ่งสูงมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคู่แข่งจาก หลายประเทศที่ต้องการเข้ามาแย่งส่วนแบ่งในตลาดจีน รวมไปถึงคู่แข่งจากประเทศจีนเอง ที่มีการปรับปรุงพัฒนา คุณภาพสินค้าอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสถานการณ์ตลาดปัจจุบันที่ จีนอนุญาตให้นำข้าทุเรียนสดจากประเทศฟิลิปปินส์และเวียดนามเพิ่มขึ้นอีก 2 ประเทศ ทำให้ไทยต้องเตรียมรับมือกับผู้เล่นจากประเทศอื่นในตลาด” 

ทั้งนี้ สคต.เซี่ยเหมิน ให้คำแนะนำ ผู้ประกอบการไทยว่า  ต้องรักษาคุณภาพสินค้า ดำเนินการตามมาตรการคุณภาพสินค้า และความปลอดภัยต่างๆ อีกทั้ง ทุกภาคส่วนโดยเฉพาะในพื้นที่ต่างๆในจีน จึงมีแผนดำเนินการประชาสัมพันธ์ตอกย้ำความเชื่อมั่นในคุณภาพสินค้า ให้เป็นที่ประจักษ์ เพื่อรักษาและขยายส่วนแบ่งในตลาดคลอบคลุมเมืองหลักในจีน ทั้งนี้ สคต.เซี่ยเหมิน มีแผนต่อ ยอดจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายสินค้าผลไม้ไทยไปยังเมืองรองในมณฑลเจียงซี