รอ ‘ลุ้น’ ค่าไฟรอบหน้าต่ำกว่า 5 บาท/หน่วย

ลุ้นค่าไฟภาคเอกชนราคาต่ำกว่าหน่วยละ 5  บาท​ หลัง​ ​กพช.ส่งสัญญาณ ค่าไฟงวดเดือนพ.ค.-ส.ค.มีแนวโน้มลดลง เป็นอัตราเดียวทั้งภาคครัวเรือน และเอกชน​ พร้อมฟังมุมมอง​รองประธาน ส.อ.ท.​ อิศเรศ​ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต

นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า หากราคาค่าไฟงวดเดือนพ.ค.- ส.ค.2566 ลดลงกลุ่มเอกชนก็ยินดีอยู่แล้ว แต่ลดลงในอัตราเดียวกันนั้นจะต้องไม่ไปกระทบกับภาคครัวเรือน คือ ควรจะอยู่ในราคาไม่เกินหน่วยละ 4.72 บาท อีกทั้ง ราคาลดลงก็จะต้องลดภาระค้างจ่ายของ กฟผ.ตามอัตราค่าพลังงานที่ต่ำลงด้วยเช่นกัน ซึ่งตอนนี้เทรนด์ราคาก๊าซนำเข้าลดลง แต่เชื่อว่า กพช.ก็คงยังไม่กล้าพูดอะไรมากไปกว่านี้แน่นอน เพราะกว่าจะพิจารณาค่าไฟฟ้างวดใหม่ ราวเม.ย.2566 ซึ่งกพช.จะต้องมีการพิจารณาอีกครั้ง โดยใช้ข้อมูลของ กกพ. มาพิจารณา

“เขาจะเซ็นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ก็ยังไม่มีการเซ็นตั้งคณะทำงานร่วมกัน เราก็ติดตามอย่างใกล้ชิด แม้ว่าวันนี้กพช.จะบอกว่าราคาค่าไฟมีโอกาสต่ำกว่าหน่วยละ 5 บาท ก็ไม่ไว้วางใจ หลักการเราเหมือนเดิม เพราะวันนี้เพิ่มจะวันที่ 13 ก.พ.2566 ยังไม่ถึงครึ่งทางของงวดแรก ยังเห็นภาพไม่ชัด แต่เทรนด์ลงอย่างเห็นได้ชัด แต่นโยบายจะอุ้มให้ครัวเรือนถูกกว่าเอกชนก็ไม่จำเป็นถ้าราคาตลาดรวมต่ำลง เรายังต้องรอดูเทรนด์ราคาพลังงานเดือนมี.ค.2566 อีกครั้ง”
นอกจากนี้ สิ่งสำคัญคือ ปริมาณก๊าซในอ่าวไทยสำคัญสุด เพราะถือเป็นต้นทุนที่ทำให้ราคาค่าไฟถูกลงที่สุด ซึ่งต้องจับตาดูว่าจะมีการนำเอาไปทำปิโตรเคมีน้อยลงหรือไม่ ซึ่งแก๊สที่มี มีเทนอยู่เยอะมาทำไฟฟ้าก็ดี แต่การเอามาทำปิโตรเคมีที่ราคาถูกก็ไม่คุ้มค่า เป็นการจ่ายราคาเพียวๆ ไม่เหมือนการนำมาผลิตไฟที่เอามารวมราคาก๊าซในอ่าวไทย ก๊าซในเมียนมา ก๊าซนำเข้า เฉลี่ยราว 20 ดอลลาร์ต่อล้านบีทียู ส่วนก๊าซที่นำไปทำปิโตรเคมีจ่ายเพียงแค่ 5 ดอลลาร์ต่อล้านบีทียู เป็นต้น ซึ่งการเอาของดีไปใช้ก็ควรจ่ายที่ราคาสูงกว่า 5 ดอลลาร์

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์