50 ชาติแห่ร่วมเวทีเมล็ดพันธุ์แห่งเอเชีย ยกไทยผู้นำเมล็ดพันธุ์เขตร้อน

50 ชาติแห่ร่วมเวทีเมล็ดพันธุ์แห่งเอเชีย ยกไทยผู้นำเมล็ดพันธุ์เขตร้อน

งานประชุมเมล็ดพันธุ์แห่งเอเชียได้กลับมาจัดที่กรุงเทพฯ ประเทศไทยอีกครั้ง หลังจากห่างหายไป 2 ปี โดยกลับมาอย่างยิ่งใหญ่พร้อมผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 1,100 คน จากมากกว่า 50 ประเทศ ทั่วโลกที่มาร่วมการประชุมธุรกิจเมล็ดพันธุ์ ระหว่างวันที่ 14-18 พ.ย. 2565

นายวิชัย เหล่าเจริญพรกุล ประธานคณะกรรมการ สมาคมเมล็ดพันธุ์พืชภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิค( APSA )และสมาชิกของ สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย กล่าว ว่า  งานประชุมเมล็ดพันธุ์แห่งเอเชีย เป็นเวทีในอุดมคติที่เปิดโอกาสให้ได้รวมตัวพบปะหารือกันเกี่ยวกับเทรนด์  ใหม่ๆ ความท้าทายและโอกาสต่างๆ ที่มี รวมถึงสิ่งที่ต้องกระทำเพื่อก้าวเดินต่อไปในภายหน้า เพื่อบรรลุพันธกิจ และความมุ่งมั่นตั้งใจที่มีต่อเกษตรกรและครอบครัว

 งานประชุมเมล็ดพันธุ์แห่งเอเชียในครั้งนี้ ถือเป็นการจัดประชุมธุรกิจครั้งที่ 7 ในประเทศไทย  ซึ่งในช่วงต่างๆที่ผ่านมาสะท้อนถึงภาคการเกษตรที่ปฏิบัติตามวิถีดั้งเดิมหรือ แบบปกตินั้น ไม่สามารถสร้างความยั่งยืนได้ การจะอยู่รอดและเจริญเติบโต จำเป็นต้องเข้าใจแนว โน้มและเทรนด์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น พร้อมปรับตัวตามเทรนด์เหล่านั้น

 

50 ชาติแห่ร่วมเวทีเมล็ดพันธุ์แห่งเอเชีย ยกไทยผู้นำเมล็ดพันธุ์เขตร้อน 50 ชาติแห่ร่วมเวทีเมล็ดพันธุ์แห่งเอเชีย ยกไทยผู้นำเมล็ดพันธุ์เขตร้อน 50 ชาติแห่ร่วมเวทีเมล็ดพันธุ์แห่งเอเชีย ยกไทยผู้นำเมล็ดพันธุ์เขตร้อน

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ประเทศไทยอยู่ในฐานะประเทศผู้นำในด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ การแปรรูปเมล็ดพันธุ์ และประเทศผู้จำหน่ายเมล็ด พันธุ์ที่มีคุณภาพ กรมวิชาการเกษตรเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ร่วมขับเคลื่อนนโยบายศูนย์กลางเมล็ดพันธุ์ของประเทศไทย โดยการผลัก ดันประเทศไทยให้เป็นผู้นำด้านเมล็ดพันธุ์เขตร้อนระดับโลก โดยมีแผนแม่บทยุทธศาสตร์พืชเพิ่มขีดความสามารถใน การแข่งขัน ได้แก่ ข้าวโพดและผัก และแผนแม่บทยุทธศาสตร์พืชเมล็ดพันธุ์คุณภาพดีเพื่อความยั่งยืน ได้แก่ ข้าว พืชไร่ พืชอาหารสัตว์ และพืชบำรุงดิน และมี 4 กลยุทธ์ ในการขับเคลื่อน ดังนี้

1. การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยี มุ่งเน้นงานวิจัยและพัฒนาการปรับปรุงพันธุ์พืชด้วยเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่อย่าง ปลอดภัย พัฒนาเทคโนโลยีการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ เช่น การตรวจสอบพืช GMOs การจำแนกพันธุ์หรือศัตรูพืช เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ (Seed enhancement technology) เช่น การเคลือบเมล็ดหรือการพอกเมล็ดด้วย จุลินทรีย์ส่งเสริมการเจริญของพืชหรือธาตุอาหาร การวิจัยการทำเกษตรที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนและ ให้การรับรองระบบการทำการเกษตรไร้ก๊าซเรือนกระจก งานวิจัยเพื่อเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมที่มีลักษณะดี เป็นที่ต้องการของตลาดทั้ง conventional breeding และ modern breeding biotechnology

พร้อมทั้ง การสร้างฐานข้อมูลทรัพยากรพันธุกรรมพืชและพันธุ์พืชของประเทศไทยที่ทันสมัย นอกจากนี้ยังให้ความ สำคัญกับการเก็บรักษาพันธุกรรมพืชพื้นเมืองของชุมชนที่เกษตรกรสามารถดำาเนินการได้เองโดยได้รับการ ถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชที่ดีและเพิ่มความหลากหลายทางพันธุกรรมเพื่อความ ยั่งยืน

2. การปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบและมาตรการของภาครัฐ ด้วยการแก้ไข ปรับปรุงพระราชบัญญัติคุ้มครอง พันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ให้ทันสมัยมากขึ้น ปรับปรุงกฎระเบียบ ประกาศที่เกี่ยวข้องกับพืชดัดแปรพันธุกรรม และ พืชที่ได้จากเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ภายใต้ พรบ. กักพืช และเร่งรัดการออกกฎหมายเฉพาะเพื่อกำกับดูแล สิ่งมีชีวิตที่ได้จากเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ตามร่าง พรบ. ความหลากหลายทางชีวภาพ และเตรียมพร้อม กฎหมายลำดับรองเพื่อกำากับดูแลให้ครอบคลุมในทุกกิจกรรมด้านเมล็ดพันธุ์

3. การส่งเสริมการผลิตและการตลาด กรมวิชาการเกษตรมีแผนในการให้การรับรองห้องปฏิบัติตรวจสอบสุข อนามัยเมล็ดพันธุ์ของภาคเอกชน (Seed Health Lab Accreditation) ให้สามารถตรวจรับรองการปลอด ศัตรูพืชในเมล็ดพันธุ์ได้ถูกต้องตามกฎหมายและสามารถออกใบรับรองสุขอนามัยพืชอิเล็กทรอนิกส์     (e-Phyto) ได้ โดยผ่านระบบบริการออนไลน์ระบบใหม่ของกรมวิชาการเกษตร (NEW DoA-NSW) เกี่ยวข้องกับการนำเข้า ส่งออก และนำผ่านของด่านตรวจพืช พร้อมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์เพื่อช่วยอำนวยความ สะดวกให้แก่ผู้ประกอบการและส่งเสริมอุตสาหกรรมการค้าธุรกิจเมล็ดพันธุ์ของประเทศ นอกจากนี้ยังมีแผน การผลิตเมล็ดพันธุ์ร่วมกับชุมชนและผู้ประกอบการ เพื่อให้ได้ราคาเมล็ดพันธุ์ที่ยุติธรรมและเหมาะสมสำหรับ เกษตรกรรายย่อย

4. การสร้างและพัฒนาบุคลากร กรมวิชาการเกษตรมีความร่วมมือระหว่างกับสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทยและ ภาคเอกชนอื่น ๆ ในด้านการตรวจสอบคุณภาพและสุขอนามัยเมล็ดพันธุ์ การตรวจสอบความบริสุทธิ์ทาง พันธุกรรม (Seed purity และ Seed free-GMs) เช่น โครงการทดสอบความชำนาญ (PT) ระหว่างห้องปฏิบัติ การของรัฐและเอกชน การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ (นานาชาติ) เช่น สมาคมเมล็ด พันธุ์แห่งภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิค (APSA) และ สมาคมทดสอบเมล็ดพันธุ์นานาชาติ (ISTA) รวมถึงการฝึก อบรมระหว่างห้องปฏิบัติการของภาครัฐและภาคเอกชน

 

50 ชาติแห่ร่วมเวทีเมล็ดพันธุ์แห่งเอเชีย ยกไทยผู้นำเมล็ดพันธุ์เขตร้อน 50 ชาติแห่ร่วมเวทีเมล็ดพันธุ์แห่งเอเชีย ยกไทยผู้นำเมล็ดพันธุ์เขตร้อน 50 ชาติแห่ร่วมเวทีเมล็ดพันธุ์แห่งเอเชีย ยกไทยผู้นำเมล็ดพันธุ์เขตร้อน 50 ชาติแห่ร่วมเวทีเมล็ดพันธุ์แห่งเอเชีย ยกไทยผู้นำเมล็ดพันธุ์เขตร้อน 50 ชาติแห่ร่วมเวทีเมล็ดพันธุ์แห่งเอเชีย ยกไทยผู้นำเมล็ดพันธุ์เขตร้อน

ดร. ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร รองผู้อำานวยการ (ด้านบริหารการวิจัยและพัฒนา) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า   สวทช. ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ร่วมขับเคลื่อนนโยบาย Seed Hub โดยการส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยในอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ เกิดการทำงานร่วมกันที่เรียกว่า Seed cluster ประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา

สวทช. สนับสนุนการดำาเนินงานใน 5 พันธกิจ ดังนี้

1. วิจัยและพัฒนา สร้างองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมตลอดห่วงโซ่เมล็ดพันธุ์ ได้แก่

•      เทคโนโลยีการผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีและชุดตรวจวินิจฉัยต่อเชื้อก่อโรคพืชในอุตสาหกรรมผลิตเมล็ด พันธุ์ โดย BIOTEC

•      เทคโนโลยีจีโนมในการวินิจฉัย ตรวจสอบ โรคและความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์ลูกผสมสำาหรับการส่งออก เมล็ดพันธุ์ และการใช้เทคโนโลยีจีโนมในการคัดเลือกพันธุ์ ซึ่งช่วยให้ภาคเอกชนส่งออกเมล็ดพันธุ์และพัฒนา พันธุ์ได้รวดเร็วขึ้น โดยศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ (NOC)

2. โครงสร้างพื้นฐาน เช่น หน่วยบริหารเชื้อพันธุกรรมพืชทั้งในระดับ working collection และ long-term security เช่น National Biobank of Thailand(NBT) โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเครือข่าย ได้แก่ ม.ขอนแก่น ม.เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และ ม.เกษตรศาสตร์

3. พัฒนาบุคลากร ได้แก่ การสร้างนักปรับปรุงพันธุ์รุ่นใหม่ ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์รุ่นใหม่

 

 

4. ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ภาคเอกชนและเกษตรกรรวมถึงกลุ่มอุตสาหกรรมต่อเนื่อง

5. สร้างความร่วมมือกับต่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและข้อมูลด้านตลาดเมล็ดพันธ์ุ การทดสอบพันธุ์ การทำ Business matching ของภาคเอกชน

 

เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้ภาคเอกชนด้วยการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมุ่งหวังให้อุตสาหกรรมเมล็ด พันธุ์เติบโต และมีความมั่นคงยั่งยืนทั้งระบบ

 

ความร่วมมือระหว่างสมาคมฯ และกรมวิชาการเกษตร ในการพัฒนา Thailand Seed Hub สมาคมการค้าเมล็ด พันธุ์ไทย ได้ส่งผู้แทนเข้าเป็นคณะกรรมการร่วมกับกรมวิชาการเกษตร ในการส่งเสริมและพัฒนาการเป็นศูนย์กลาง เมล็ดพันธุ์พืช (Thailand Seed Hub) อย่างต่อเนื่อง ซึ่งสมาคมฯ ได้จัดงาน THAILAND INTERNATIONAL SEED TRADE ประจำาปีขึ้นที่กรุงเทพฯ และได้เชิญผู้ประกอบการค้าเมล็ดพันธุ์รวมทั้งองค์กรพันธมิตรจากทั่วโลกมาประชุม เจรจาการค้าและการแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ เป็นการแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของประเทศไทยในการ เป็นศูนย์กลางเมล็ดพันธุ์ในระดับสากล

 

แล้วในฐานะสมาคมเมล็ดพันธ์พืชระดับภูมิภาค ทาง APSA มีบทบาทสำคัญเช่นกันในการส่งเสริมอุตสาหกรรม เมล็ดพันธ์ ผ่านแพลตฟอร์มระดับภูมิภาคและระดับโลกที่หลากหลาย และแหล่งทรัพยากรระหว่างประเทศมีบทบาท สำคัญในการมองผ่านผลของกลยุทธ์นี้

 

และงานสำคัญอย่าง Asian Seed Congress ก็เป็นหนึ่งในเวทีหลักที่จะรวบรวมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมารวมกัน เพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายของภาคส่วนนี้ และด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าประเทศไทยจะคงตำแหน่งในฐานะ “เมืองหลวง” เมล็ดพันธุ์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไป สร้างความมั่นใจว่าประเทศจะสามารถยืนหยัดในสถานะของตนในฐานะ ศูนย์กลางการจัดหาเมล็ดพันธุ์พืชเมืองร้อนชั้นนำระดับโลกได้ทันท่วงที

        ดร. บุญญานาถ นาถวงษ์ นายกสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย  กล่าวว่า การจัดงานที่มุ่งเน้นด้าน อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ในครั้งนี้จะทำให้ไทยเข้าใกล้เป้าหมายเพื่อยืนยันสถานะศูนย์กลางเมล็ดพันธุ์ระดับภูมิภาคมากขึ้น ซึ่งโดยศักยภาพของไทย ที่มีมูลค่าส่งออกเมล็ดพืชผักเมืองร้อนในปีที่ผ่านมากว่า 1 หมื่นล้านบาท   และคาดว่าปี 66 นี้จะส่งออกได้กว่า1.5 หมื่นล้านบาท ถือว่าประสบผลสำเร็จ ที่ไทยจะขึ้นเป็นผู้นำในการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชเขตร้อน