เมื่อลาวมีรถไฟฟ้าความเร็วสูง (ตอนที่ 1) | ปรมะ ตันเดชาวัฒน์

เมื่อลาวมีรถไฟฟ้าความเร็วสูง (ตอนที่ 1) | ปรมะ ตันเดชาวัฒน์

300 ปีก่อนศริสต์ศักราช จีนได้ติดต่อค้าขายกับโลกตะวันตก โดยสินค้าผ้าไหมจากจีนซึ่งเป็นที่นิยมในราชสำนักโรมัน ถือเป็นสินค้าที่มีราคาแพง

เนื่องจากเส้นทางขนส่งทางบกที่ห่างไกลและยากลำบาก อัตราภาษีที่สูง และค่าผ่านทางในพื้นที่ต่าง ๆ แต่ด้วยคุณภาพของสินค้าที่ดีจึงเป็นที่ต้องการ ดังนั้น ไหมจึงมีค่ามาก บ่งบอกสถานะทางสังคมของผู้ครอบครอง ชาวโรมันซื้อสินค้าจากโลกตะวันออกมูลค่ามหาศาล ดั่งเช่นมาโคโปโลที่เป็นตัวแทนจากฝั่งตะวันตกเดินทางไปทำการค้าที่จีน

ยุคที่การค้าบนเส้นทางสายไหมรุ่งเรืองมีอยู่หลายช่วงเวลา เพราะจีนสามารถการควบคุมเส้นทางพัฒนาเส้นทางสายไหมได้ ได้แก่ สมัยราชวงศ์ฮั่น (ค.ศ.206 – 221) ราชวงศ์ถัง (ค.ศ.618 – 907) และราชวงศ์มองโกล (ค.ศ.1200 – 1360)

นักภูมิศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ เฟอร์ดินานด์ ฟวอน ไรซ์โธเฟน (Van Richthofen) เรียกเส้นทางนี้ว่า “เส้นทางสายไหม” (Silk Road) เส้นทางสายไหมมีอายุ 2,000 กว่าปี ก่อนจะเสื่อมถอยลงจากสาเหตุหลายประการ เช่น การพัฒนาการเดินเรือของชาติตะวันตกที่เปลี่ยนไป เทคนิคการเลี้ยงไหมที่ไม่ได้กลายเป็นความลับอีกต่อไปและการพัฒนาการขนส่งไปสู่รูปแบบอื่นๆ

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2564 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ได้เปิดใช้ขบวนรถไฟความเร็วสูงสายลาว-จีน โดยใช้งบในการก่อสร้าง 5,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.99 แสนล้านบาท) จากโครงการ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" (Belt and Road Initiative : BRI) ที่รัฐบาลจีนมุ่งเชื่อมโยงกับกว่า 70 ประเทศทั่วทั้งเอเชีย แอฟริกา และยุโรป โดยเส้นทางลาว-จีนซึ่งเชื่อมต่อระหว่างกรุงเวียงจันทร์ไปสู่นครคุนหมิง 

ตัวผมเองได้มีโอกาสใช้บริการรถไฟขบวนนี้เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา เรียกได้ว่า เปิดประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยวที่แปลกใหม่ของประเทศลาวได้เป็นอย่างดี

ในอดีตผมเคยมีโอกาสเดินทางไปประเทศลาวเพื่อดูงานจำนวนกว่า 12 ครั้งในรอบ สิบปีที่ผ่านมา ได้เห็นการพัฒนาทั้งด้านเมืองและด้านทรัพยากรท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ในอดีตการเดินทางข้ามเมืองต่างๆเป็นไปด้วยความยากลำบาก

เมื่อลาวมีรถไฟฟ้าความเร็วสูง (ตอนที่ 1) | ปรมะ ตันเดชาวัฒน์

ทุกครั้งที่ต้องบินไปดูงานที่นั้น ผมใช้การเดินผ่านสายการบินลงที่ เวียงจันทร์หรือหลวงพระบางแล้วให้คนขับรถพาไปยังสถานที่ต่างๆ ถนนหนทางก็ยังแคบเมื่อเทียบกับปัจจุบัน ทำให้การเดินทางไปดูงานตามเมืองอื่นๆ เป็นไปได้อย่างล้าช้า พราะไม่สามารถแพลนเวลาที่เหมาะสมได้

ดังนั้น การเข้ามาของรถไฟความเร็วสูงจึงนับเป็น Opputonity ที่สำคัญของประเทศลาวอย่างแน่นอน การเดินทางบนรถไฟขบวนนี้ ใช้ความเร็วประมาณ 155 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยความเร็วจะขึ้นอยู่บนหน้าจอ

แต่ละตู้ขบวนให้ผู้โดยสารได้เห็น ห้องน้ำ พื้นที่ส่วนกลางมีการจัดวางอย่างเรียบร้อย บรรยากาศ(ไม่นับเรื่องความแตกต่างด้านความเร็ว) คล้ายกับรถไฟชินคันเซ็น (Shinkansen) แปลได้ว่า “เส้นทางไกลสายใหม่” ของญี่ปุ่นและ เหอเสีย ห้าว รถไฟความเร็วสูงของจีน มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า "China Railway High-speed" อักษรย่อ "CRH" ซึ่งได้เริ่มดำเนินการ เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2550 

คาดว่าการ Operation ทั้งด้านการบริการและระบบจัดการต่าง ๆ ทางจีนน่าจะเป็นผู้ที่วางรางฐานเอาไว้และมีการจัดการอย่างต่อเนื่อง

สำหรับสถานีรถไฟสายนี้ เฉพาะในฝั่งลาวมีด้วยกัน 6 สถานี ได้แก่ 
• สถานีเวียงจันทน์ Vientiane
• สถานีโพนโฮง Phon Hong
• สถานีวังเวียง Vang Vieng
• สถานีหลวงพระบาง Luang Prabang
• สถานีเมืองไซ Meuang Xay
• สถานีบ่อเต็น Bo Ten

เมื่อลาวมีรถไฟฟ้าความเร็วสูง (ตอนที่ 1) | ปรมะ ตันเดชาวัฒน์

หากเราเดินทางจากเวียงจันทน์ - วังเวียง ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 5 นาที ราคาประมาณ 500 บาท (ตั๋วชั้น1) ระยะทางประมาณ 129 กิโลเมตรหากใช้การขับรถใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง
เวียงจันทน์ - หลวงพระบาง ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 50 นาที ราคาประมาณ 957 บาท (ตั๋วชั้น1) ระยะทางประมาณ 311 กิโลเมตรหากใช้การขับรถใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง 
เวียงจันทน์ - บ่อเต็น ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง 20 นาที ราคาประมาณ 1,618 บาท (ตั๋วชั้น1) ระยะทางประมาณ 593 กิโลเมตรหากใช้การขับรถใช้เวลาประมาณ 13 ชั่วโมง 30 นาที

หากเราสังเกตเฉพาะเส้นทางเวียงจันทร์-วังเวียง อาจไม่เห็นความแตกต่างด้านการประหยัดเวลามากนัก เพราะเส้นทางไม่ไกลมาก ทำให้ความเร็วไม่แตกต่างมากนักกับการเดินทางโดยรถยนต์ แต่หากเราเปรียบเทียบกับระยะทางที่ไกลขึ้นเราจะเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นถึงความแตกต่างด้านเวลา

ฉบับหน้าเราจะมาติดตามถึงเส้นทางรถไฟฟ้าลาวจีนกันต่อว่าจะสามารถส่งผลกระทบเชิงบวกและลบใดๆให้กับการค้าระหว่างประเทศและประเทศไทยกันต่อครับ

Credit:

http://www.cuti.chula.ac.th/triresearch/saimai/1/saimai.html
https://www.bbc.com/thai/international-59498032
https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/1012743