ชลประทาน เตรียมชะลอน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ลดผลกระทบพื้นที่ตอนล่าง

ชลประทาน เตรียมชะลอน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ลดผลกระทบพื้นที่ตอนล่าง

กรมชลประทาน เตรียมชะลอปริมาณน้ำที่ไหลหลากมาจากตอนบน โดยใช้พื้นที่ว่างบริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ส่งผลให้ 3 จังหวัด เหนือเขื่อนระดับน้ำจ่อสูงขึ้น

ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ(SWOC) กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์ลุ่มน้ำเจ้าพระยาปัจจุบัน (5 ตุลาคม 2565) เมื่อเวลา 11.00 น. ตรวจวัดปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำ C.2 จ.นครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 3,019 ลบ.ม./วินาที  สมทบกับแม่น้ำสะแกกรังผ่านสถานีวัดน้ำ Ct.19 จ.อุทัยธานี วัดได้ 351 ลบ.ม./วินาที พร้อมทั้งใช้ระบบชลประทานฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปริมาณน้ำไหลผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มขึ้น ในเกณฑ์ 2,700 – 2,800 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.)/วินาที

ชลประทาน เตรียมชะลอน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ลดผลกระทบพื้นที่ตอนล่าง ชลประทาน เตรียมชะลอน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ลดผลกระทบพื้นที่ตอนล่าง ชลประทาน เตรียมชะลอน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ลดผลกระทบพื้นที่ตอนล่าง

โดยในช่วงวันที่ 3 – 9 ตุลาคม 2565 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์สภาพอากาศว่า อิทธิพลจากร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนังบางแห่งบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง

รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ส่งผลให้มีน้ำไหลหลากผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับมีน้ำฝน น้ำท่าไหลหลากลงคลองชัยนาท - ป่าสัก และแม่น้ำท่าจีน ก่อนจะไหลรวมกับแม่น้ำสะแกกรังและลำน้ำสาขาบริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มขึ้น ในเกณฑ์ 2,700 – 2,800 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.)/วินาที นั้น

 

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดผลกระทบต่อพื้นที่บริเวณลุ่มต่ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา กรมชลประทาน มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ว่างบริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยาชะลอน้ำไว้ ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 0.30 เมตร โดยน้ำจะเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมสองฝั่งเข้าพื้นที่การเกษตรและชุมชนริมน้ำนอกคันกั้นน้ำ

📍จ.ชัยนาท อ.เมืองชัยนาท อ.วัดสิงห์ อ.มโนรมย์

📍จ.อุทัยธานี อ.เมืองอุทัยธานี

📍จ.นครสวรรค์ อ.พยุหะคีรี

 

สำหรับสถานการณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และบริเวณต้นแม่น้ำชี  ยังมัน้ำเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรและพื้นที่ชุมชนหลายจังหวัดในพื้นที่ลุ่มน้ำชี-มูล   อาทิ  ที่จังหวัดมหาสารคาม  มีพื้นที่น้ำท่วม 4 อำเภอ ได้แก่ อ.เมือง อ.กันทรวิชัย อ.โกสุมพิสัย และอ.วาปีปทุม  กรมชลประทาน  โดยโครงการชลประทานมหาสารคาม ได้ทำการติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ จำนวน 15 เครื่อง  ติดตั้งเครื่องสูบน้ำจำนวน 12 เครื่อง  ที่บริเวณเขื่อนมหาสารคาม   และติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จำนวน 5 เครื่อง ที่บริเวณ ต.ท่าตูม อ.เมือง เพื่อเร่งผลักดันน้ำในแม่น้ำชี 

   โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหนองหวาย  เร่งเดินเครื่องสูบน้ำด้วยไฟฟ้าทั้ง 3 สถานี  ที่บริเวณประตูระบายน้ำ D.8 (ห้วยพระคือ)  ประตูระบายน้ำห้วยน้ำเค็ม และประตูระบายน้ำห้วยเชียงส่ง   รวมทั้งติดตั้งเครื่องสูบน้ำจำนวน 6 เครื่อง ที่บริเวณประตูระบายน้ำห้วยใหญ่   โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชีกลาง  ดำเนินการสูบน้ำบริเวณประตูระบายน้ำกุดเชียงสา และประตูระบายน้ำกุดเชียงบัง เพื่อเร่งการระบายน้ำ พร้อมทั้งจัดจราจรน้ำในพื้นที่    

 

 ที่จังหวัดยโสธร  เกิดน้ำท่วมขังจากอิทธิพลร่องมรสุมกำลังแรง พาดผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงวันที่ 19-21 ส.ค.65 ส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ เป็นเหตุให้ระดับน้ำในแม่น้ำชี ลำน้ำยัง ลำน้ำลำเซบาย และลำน้ำสาขา เพิ่มระดับขึ้นอย่างต่อเนื่อง  เข้าท่วมพื้นที่บริเวณแม่น้ำชี-ลำน้ำยัง และบริเวณพื้นที่ลำเซบาย-ลำห้วยโพง  รวมทั้งสิ้น  8  อำเภอ   กรมชลประทาน  โดยโครงการชลประทานยโสธร ได้ทำการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จำนวน 2 เครื่อง ที่บริเวณบุ่งน้อย-บุ่งใหญ่ เขตเทศบาลเมืองยโสธร    รวมทั้งจัดเตรียมเครื่องจักรเครื่องมืออื่นๆ อาทิ เครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ รถบรรทุก พร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที

 

ที่จังหวัดนครราชสีมา  มีพื้นที่น้ำท่วม 3 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองยาง อ.จักราช และ อ.พิมาย   กรมชลประทาน โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาทุ่งสัมฤทธิ์  ได้ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำที่ บริเวณเขื่อนพิมายจำนวน 20 เครื่อง และที่บริเวณสะพานขามใต้จำนวน 8 เครื่อง   โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง   ทำการติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำที่บริเวณประตูระบายน้ำข่อยงาม 3 เครื่อง    ที่บริเวณประตูระบายน้ำจอหอ 3 เครื่อง   และบริเวณมิตรภาพซอย 4  อีกจำนวน 2 เครื่อง

 

ส่วนที่จังหวัดศรีสะเกษ  เกิดฝนตกต่อเนื่องในพื้นที่ต้นน้ำของลุ่มน้ำห้วยทับทัน ส่งผลให้ระดับน้ำในลำน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับปริมาณน้ำที่ไหลรวมบริเวณเขื่อนราษีไศลมีจำนวนมาก   รวมทั้งบริเวณต้นน้ำของลุ่มน้ำมูลมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง  

จึงทำให้ปริมาณน้ำในลำน้ำมูลเอ่อล้นตลิ่งท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำเป็นบริเวณกว้าง  ส่งผลให้มีพื้นที่น้ำท่วมรวมทั้งสิ้น 13 อำเภอ ได้แก่ อ.เมือง อ.ยางชุมน้อย อ.กันทรารมย์ อ.ขุขันธ์   อ.ปรางค์กู่ อ.อุทุมพรพิสัย อ.ห้วยทับทัน อ.ภูสิงห์ อ.วังหิน อ.บึงบูรพ์ อ.ขุนหาญ   

  กรมชลประทาน   โดยโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามูลล่าง ได้ทำการยกบานระบายน้ำของเขื่อนราษีไศลทั้ง 7 บาน ให้พ้นน้ำทั้งหมด และระบายน้ำผ่านฝายสันกว้าง   ที่บริเวณใต้สะพานทางเข้าเขื่อนราษีไศลอีก 3 แห่ง  เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบจากน้ำเอ่อล้นตลิ่งลำน้ำมูลทั้ง 2 ฝั่งลำน้ำ