ส่องปัจจัย ‘เสี่ยง’ หลังรัฐลดระดับ ‘โควิด’

จับปัจจัยเสี่ยง หลังรัฐบาลลดระดับ ‘โควิด-19’ จาก โรคติดต่ออันตราย เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง​ กับ​ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์​สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

จับปัจจัยเสี่ยง หลังรัฐบาลลดระดับ ‘โควิด-19’ จากโรคติดต่ออันตราย เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง​ กับ​ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์​สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

เป้าหมายเพื่อการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อม ให้ได้เร็วที่สุด แม้ยังไม่มีอาการก็ตาม ว่าเริ่มมีการเพาะบ่มแล้วหรือไม่ และถ้ามีแล้วมีอัตราการทำลายสมองอยู่ในระดับรุนแรงหรือไม่ โดยในระยะที่ไม่มีอาการนี้เป็นโอกาสทองในการที่จะทำให้โรคไม่ดำเนินต่อไป หรือถ้ามีอาการแต่น้อย ก็ยังสามารถที่จะดึงกลับมาได้
และในขณะที่มีอาการเริ่มเห็นชัด สามารถที่จะประเมินการพัฒนาของความรุนแรงเป็นอย่างไร ทั้งนี้ถ้าสมองเสื่อมเกิดจากอัลไซเมอร์ จะมีโอกาสที่จะถ่ายทอดกลายเป็นมรดกให้ลูกหลานได้

การตรวจประกอบไปด้วยการตรวจเลือดโดยไม่ต้องอดอาหาร และควบรวมกับการตรวจต้นทุนทางสมองโดยนักจิตวิทยาทางสมองผลนำมาวิเคราะห์เพื่อได้ข้อมูลสรุปให้ผู้ได้รับการตรวจ และทำการวางแผนการป้องกันหรือการชะลอสมองเสื่อม 

นอกจากนั้นจุลินทรีย์ในลำไส้ยังเกี่ยวพันกับสมองเสื่อม และเชื่อมโยงกับประเภท และชนิดของอาหารที่กินโดยตัวร้ายจะก่อให้เกิดการอักเสบในลำไส้ และทำให้ผนังลำไส้รั่วปล่อยการอักเสบลุกลามไปทั่วร่างกาย และสมอง และเร่งการสร้างโปรตีนพิษ บิดเกลียว สะสมและทำลายสมองไปอย่างต่อเนื่อง

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์