"สุเมธ” ห่วงสงครามแย่งอาหาร แนะเร่งเครือข่ายพัฒนายั่งยืน

"สุเมธ” ห่วงสงครามแย่งอาหาร แนะเร่งเครือข่ายพัฒนายั่งยืน

5 พันธมิตร หนุนพัฒนาที่ยั่งยืน เปิดมหกรรม SX 2022 สร้างแพลตฟอร์มผลักดันทศวรรษแห่งการปฏิบัติในแนวคิด พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก “สุเมธ” ห่วงอีก 10 ปี เกิดสงครามแย่งชิงอาหาร แนะทุกภาคส่วนต้องร่วมมือคงปัจจัย 4 ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

การขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นแนวทางที่ภาครัฐและภาคเอกชนให้ความสำคัญทั่วโลก ซึ่งทำให้ 5 องค์กรธุรกิจ ได้แก่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน), บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC, บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) และ บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ผนึกกำลังกันพัฒนาแพลตฟอร์มสู่มหากรรมด้านความยั่งยืนระดับภูมิภาคภายใต้ชื่อ Sustainability Expo 2022 หรือ SX 2022 ระหว่างวันที่ 26 ก.ย. ถึง 2 ต.ค.2565 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ประธานอำนวยการ Sustainability Expo 2022 กล่าวว่า งาน SX 2022 จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เพื่อเปิดพื้นที่ให้ทุกภาคส่วนรวมตัวกัน และขยายเครือข่ายออกไปต่างประเทศ แต่ยังคงยึดโมเดลและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาเป็นแนวทางการจัดงาน และสร้างแรงบันดาลใจให้นำไปประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ ให้เกิดความยั่งยืนในบริบทสังคมไทย

\"สุเมธ” ห่วงสงครามแย่งอาหาร แนะเร่งเครือข่ายพัฒนายั่งยืน ทั้งนี้ จากการริเริ่ม TSX Expo ภายใต้เครือข่ายห่วงโซ่อุปทาน หรือ Thailand Supply Chain Network (TSCN) ใน 2 ปีที่ผ่านมา โดยปีนี้จะเป็นแพลตฟอร์มที่นำเสนอโมเดลธุรกิจที่เรียกว่า B2C2B (Business-to Consumer-to-Business) ซึ่งยึดผู้บริโภคเป็นแกนกลาง โดยเชื่อมโยงระหว่างองค์กรธุรกิจกับผู้บริโภค และผู้บริโภคจะเชื่อมโยงกลับสู่ภาคธุรกิจ

หนุนจัดการทรัพยากรยั่งยืน

นายสุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา กล่าวปาฐกถาพิเศษว่า ปัญหาความยั่งยืนที่พูดกันตลอดระยะเวลา 4-5 ปี ยังเป็นปัญหาหนักอก ซึ่งคำว่า Sustainability จะยั่งยืนหรือไม่ยั่งยืนนั้น ต้องดูว่าขณะนี้มนุษย์ใช้ชีวิตสนุกสนามร่าเริงและใช้โลกตอบสนองความสนุกของตัวเอง เกิดการทำลายที่สะสมและความต้องการไม่รู้จบ และต้องอย่าลืมว่าจำนวนคนในโลกมีมากขึ้นและไม่อยู่นิ่ง

“ตอนที่ผมอายุ 14-15 ปี ประชาชนในประเทศไทยมีประมาณ 15 ล้านคน ส่วนตอนนี้ตนอายุ 83 ปี แต่จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นถึง 70 ล้านคน แต่ขนาดบ้านเท่าเดิมในจำนวนคนเพิ่มขึ้นถึง 5 เท่า ในขณะที่ประชากรชาวโลกมีจำนวน 7,400 ล้านคน โดย UN ได้เปิดเผยว่า ในอีก 30 ปีข้างหน้า จำนวนประชากรจะกระโดดไป 9,000 ล้านคน” 

ดังนั้น จึงต้องมาดูว่าปัจจัย 4 ยังเพียงพอหรือไม่ เพราะปัญหาต่อไปคือปริมาณทรัพยากรจะไม่สามารถรองรับจำนวนประชากรได้ เพราะวันนี้ทรัพยากรหายไปเฉลี่ย 1 ใน 3 ส่วนแล้ว สงครามแย่งชิงเกิดขึ้นตั้งแต่ทศวรรษที่แล้ว เกิดสงครามแย่งชิงพลังงานช่วง 10 ปี และอีก 10 ปีต่อจากนี้ จะเกิดสงครามแย่งน้ำ ถือว่าใหญ่กว่าพลังงาน

\"สุเมธ” ห่วงสงครามแย่งอาหาร แนะเร่งเครือข่ายพัฒนายั่งยืน ทั้งนี้ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงให้ความสำคัญในการรักษา ดิน น้ำ ลม ไฟ ตลอดระยะเวลา 70 ปี ทรงเน้นย้ำถึงการมีน้ำที่เพียงพอ ท่านริเริ่มกว่า 4,000 โครงการ แม้ว่าคนไทยจะปลื้มในการมอง เห็นปัญหาของพระองค์ท่าน แต่น้อยคนที่จะลงมือกระทำด้วยตนเอง ดังนั้น โลกใบนี้อยู่ในมือของทุกคน เป็นที่รองรับชีวิตและกำลังแตกสลาย 

นอกจากนี้ ปี 2531 พระองค์ท่านทรงรับสั่งให้ตั้งมูลนิธิชัยพัฒนา เพราะท่านทรงมองเห็นปัญหาที่ชาวโลกกำลังเผชิญว่าใหญ่โตขึ้นทุกที กลายเป็นสงครามที่มนุษย์ต่อสู้แต่ไม่ได้ใช้อาวุธ แต่จะเป็นการพัฒนาเพื่อเอาชนะปัญหาให้ได้ เพื่อผลสุดท้ายคือปัจจัย 4 และตลอดเกือบ 3 ปี มีทั้งโรคระบาดและสงคราม เราหนีไม่พ้นการนำสิ่งรอบข้างมาเป็นวัคซีน ยารักษาโรค รวมถึงหน้ากากอนามัย

หวังความร่วมมือเป็นรูปธธรม

สำหรับผลกระทบจากอาวุธในการกระจายอำนาจ ส่งผลกระทบถึงโครงสร้างเศรษฐกิจภาพรวม ทำให้ให้ราคาปุ๋ย หรือน้ำมันแพง สร้างความลำบากมายิ่งกว่าพื้นที่กว้างขวาง มนุษย์รู้ถึงปัญหา และพยายามแสวงหาทางออกผ่านแนวคิดต่างๆ เหลือแค่ลงมือทำหรือไม่ ดังนั้น หวังว่าจากการจัดงานตลอด 3-4 ปีจะเกิดผลเป็นรูปธรรม

“ท่านทรงเสนอเศรษฐกิจพอเพียงไปทั่วโลก ประกอบไปด้วยหลายอย่างทั้งอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไม่ใช่แค่การยกร่องปลูกผัก หมายถึงความเปลี่ยนแปลง การก้าวให้ทัน และสามารถเผชิญต่อความเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกภายใน เพราะความเปลี่ยนแปลงมาอย่างรวดเร็วทุกมิติทั้งเศรษฐกิจ สังคม สภาพแวดล้อม ถ้าปรับตัวไม่ทันจะเกิดการดิสทรัปชัน ซึ่งท่านให้หลักความคิด 3ประการ คือ พอประมาณ มีเหตุมีผล และมีคุณธรรม ซึ่งการจะยั่งยืนต้องยั่งยืนไปสู่คนรุ่นหน้า หากรักษาความพอเพียง พอดี สุดท้ายทั่วโลกจะอยู่ได้อย่างยั่งยืน และต้องทำร่วมกันทั้งโลก และทำให้ทันการ”

ผลักดันวาระภูมิิอากาศ

ม.ล.ดิศปนัดดา ดิศกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า ความท้าทายในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มูลนิธิฯ ได้นำเรื่องของสภาพภูมิอากาศมาเป็นวาระสำคัญ เพราะมีความสัมพันธ์กับปัญหาทั่วโลก จึงได้พยายามเปลี่ยนวิธทำงาน โดยการลดคาร์บอน ลดใช้วัสดุ ลดพลังงานเพื่อนำไปสู่ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพิ่มผลกระทบต่อชุมชนเชิงบวก ให้มูลนิธิฯ และชุมชน มีความเข้มแข็งมากขึ้น

ทั้งนี้ เช่นปี 2012-2013 ดอยตุงได้เริ่มจัดการปัญหาของเหลือใช้ และตั้งเป้าปี 2018 จะไม่มีการผังกลบขยะ ซึ่งปี 2023 ดอยตุงบรรลุเป้าหมาย โดยขณะนี้ มีการเผาขยะ 15% และ 85% เอาไปรีไซเคิล พร้อมกับใช้พลังงานหมุนเวียน ผ่านการรีไซเคิลน้ำ พร้อมการทำงานโดยตรงกับเอกชนเพื่อที่จะทำเรื่องคาร์บอนเครดิตและสนับสนุนชุมชน โดยเฉพาะปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าที่เกิดจากการทำไร่เลื่อนลอย พบว่ารายได้ต่อไร่ไม่เยอะ จึงเปลี่ยนการทำเกษตรกรรมลดการตัดไม้ทำลายป่าผ่านพ.ร.บ.ป่าไม้ชุมชน เพื่อเพิ่มพื้นที่

“เวทีนี้จะช่วยดึงดูดบริษัทต่างๆ เพื่อนำของชำร่วยที่ชุมชนทำไปจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนในมูลนิธิฯ เพราะมีชุมชนมากมายอยากทำงานกับเรา เราก็ได้ร่วมมือกับเอกชนเพื่อลดผลกระทบ ให้ธุรกิจเหล่านี้ดี สร้างไทยสีเขียวมากขึ้นตลอดระยะเวลา 15 ปี เรามีความรู้มากขึ้นในเรื่องของการพัฒนาความยั่งยืน พร้อมร่วมบริษัทต่าง ๆ อีกทั้งยังช่วยหนุนความยั่งยืนให้บริษัทต่าง ๆ ด้วย”

ทั้งนี้ ความท้าทายของความยั่งยืน คืออัตราการยอมรับ เรายังค่อนข้างช้า เช่น ปัญหาน้ำแข็งคั่วโลกละลาย เราสร้างผลกระทบได้มาก หากมองในเชิงบวก เอกชนได้คุยกันในก้าวแรกอ และก้าวต่อ ๆ ไปต้องใช้เวลาซึ่งสิ่งสำคัญตอนนี้คือการขยายความรู้ไปสู่ภาคเอกชน เกี่ยวกับมาตรการความยั่งยืนว่าทำได้ไม่ยาก แต่ต้องเปลี่ยนวิธีการคิด คือคิดถึงโลกมากกว่าผลกำไร

หวังสร้างเครือข่ายยั่งยืน

นางต้องใจ ธนะชานันท์ ผู้อำนวยการคณะจัดงาน Sustainability Expo 2022 กล่าวว่า การจัดงานนี้ เป็นส่วนหนึ่งของคำตอบแต่ไม่ใช่ทั้งหมด เวทีนี่คนสามาถมาแบ่งปันประสบการ สิ่งที่อยากเห็นคือคนได้พูดคุย เรียนรู้จักกัน การร่วมมือจัดงานมีทั้งพาสเนอร์ซัพพลายเชน คอนเน็คชัน สตาร์ทอัพ คนรุ่นใหม่ เพื่อให้เกิดการลงมือทำจริงไม่ใช่แค่พูด ซึ่งการจัดงานนี้ จะเป็นการผลักดันและพยายามต่อไปที่ไม่ใช่แค่สัปดาห์นี้สัปดาห์เดียว แต่จะทำทุก ๆ ปี เพราะสิ่งสำคัญคือการสื่อสารอย่างเดียวไม่เพียงพอ

ทั้งนี้ เราจะให้ผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง โดยองค์กรต่างๆ ความสำคัญของความยั่งยืนไม่พอ จึงต้องส่งต่อความรู้ความเข้าใจไปถึงผู้บริโภค นอกจากว่าผู้บริโภคเข้าใจคุณค่า ก็จะใส่ใจสินค้าที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม ให้เข้าใจว่าอาหารก่อให้เกิดของเสียจำนวนมาก ถ้าบริหารจัดการอาหารและนำมาเป็นเครื่องมือเพื่อสื่อสารว่าทุกคนสามารถทำได้โดยการรับผิดชอบและร่วมมือกันจะช่วยโลกให้ยั่งยืนได้ ตนยังมีความศรัทธาในมนุษยชาติ จะเห็นว่าโควิด-19 เป็นดีสทรัปชันที่มีความท้าทาย แต่ก็ผ่านพ้นมาได้