เปิดมหกรรมความยั่งยืน SX 2022 รวมพลังบวก แนวคิด “พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก”

เปิดมหกรรมความยั่งยืน SX 2022 รวมพลังบวก แนวคิด “พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก”

เปิดมหกรรมความยั่งยืน SX 2022 รวมพลังบวกสร้างแพลตฟอร์มความร่วมมือเพื่อผลักดันทศวรรษแห่งการปฏิบัติ แนวคิด “พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก” ห่วง อีก 10 ปี เกิดสงครามแย่งชิงอาหาร แนะทุกภาคส่วนต้องร่วมมือปัจจัย 4 ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงร.9

5 องค์กรธุรกิจ ได้แก่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน), บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC, บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), บริษัท เอสซีจี จำกัด (มหาชน) และ บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ผนึกกำลังกันพัฒนาแพลตฟอร์มสู่มหากรรมด้านความยั่งยืนระดับภูมิภาค ภายใต้ชื่อ Sustainability Expo 2022 หรือ SX 2022

เปิดมหกรรมความยั่งยืน SX 2022 รวมพลังบวก แนวคิด “พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก” นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ประธานอำนวยการ Sustainability Expo 2022 กล่าวว่า งาน SX 2022 จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เพื่อเปิดพื้นที่ให้ทุกภาคส่วนมารวมตัวกัน และขยายเครือข่ายออกไปยังต่างประเทศ แต่ยังคงยึดโมเดลและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาเป็นแนวทางในการจัดงาน และสร้างแรงบันดาลใจให้นำไปประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ ให้เกิดความยั่งยืนในบริบทของสังคมไทย

ทั้งนี้ จากการริเริ่ม TSX Expo ภายใต้เครือข่ายห่วงโซ่อุปทาน หรือ Thailand Supply Chain Network (TSCN) ใน 2 ปีที่ผ่านมา โดยปีนี้ จะเป็นแพลตฟอร์มที่น้ำเสนอโมเดลธุรกิจที่เรียกว่า B2C2B (Business-to Consumer-to-Business) ซึ่งยึดผู้บริโภคเป็นแกนกลาง โดยเชื่อมโยงระหว่างองค์กรธุรกิจกับผู้บริโภค และผู้บริโภคจะเชื่อมโยงกลับสู่ภาคธุรกิจ

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิชัยพัฒนา กล่าวปาฐกถาพิเศษว่า ปัญหาความยั่งยืนที่พูดกันตลอดระยะเวลา 4-5 ปียังเป็นปัญหาหนักอก ซึ่งคำว่า Sustainability จะยั่งยืนหรือไม่ยั่งยืนนั้น ต้องดูว่า ขณะนี้มนุษย์ยังใช้ชีวิตสนุกสนามร่าเริงและใช้โลกตอบสนองความสนุกของตัวเอง เกิดการทำลายที่สะสม และความต้องการไม่รู้จบ และต้องอย่าลืมว่าจำนวนคนในโลกนี้มีมากขึ้นและไม่อยู่นิ่ง

เปิดมหกรรมความยั่งยืน SX 2022 รวมพลังบวก แนวคิด “พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก”

ทั้งนี้ ตอนตนอายุ 14-15 ปี ประชาชนในประเทศไทยมีประมาณ 15 ล้านคน ส่วนตอนนี้ตนอายุ 83 ปี แต่จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นถึง 70 ล้านคน แต่ขนาดบ้านเท่าเดิมในจำนวนคนเพิ่มขึ้นถึง 5 เท่า ในขณะที่ประชากรชาวโลกมีจำนวน 7,400 ล้านคน โดย UN ได้เปิดเผยว่า ในอีก 30 ปีข้างหน้า จำนวนประชากรจะกระโดดไป 9,000 ล้านคน 

ดังนั้น จึงต้องมาดูว่าปัจจัย 4 ยังเพียงพอหรือไม่ เพราะปัญหาต่อไปคือปริมาณทรัพยากรจะไม่สามารถรองรับจำนวนประชากรได้ เพราะวันนี้ทรัพยากรหายไปเฉลี่ย 1 ใน 3 ส่วนแล้ว สงครามแย่งชิงเกิดขึ้นตั้งแต่ทศวรรษที่แล้ว โดยแย่งชิงพลังงานช่วง10 ปี และอีก 10 ปีต่อจากนี้ จะเกิดสงครามแย่งน้ำ ถือว่าใหญ่กว่าพลังงาน

เปิดมหกรรมความยั่งยืน SX 2022 รวมพลังบวก แนวคิด “พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก” ทั้งนี้ ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงให้ความสำคัญในการรักษา ดิน น้ำ ลม ไฟ ตลอดระยะเวลา 70 ปี ทรงเน้นย้ำถึงการมีน้ำที่เพียงพอ ท่านริเริ่มกว่า 4,000 โครงการ แม้ว่าคนไทยจะปลื้มในการมอง เห็นปัญหาของพระองค์ท่าน แต่น้อยคนที่จะลงมือกระทำด้วยตนเอง ดังนั้น โลกใบนี้อยู่ในมือของทุกคน เป็นที่รองรับชีวิตและกำลังแตกสลาย 

ทั้งนี้ ปี 2531 พระองค์ท่านทรงรับสั่งให้ตั้งมูลนิธิชัยพัฒนา เพราะท่านทรงมองเห็นปัญหาที่ชาวโลกกำลังเผชิญว่าใหญ่โตขึ้นทุกที กลายเป็นสงครามที่มนุษย์ต่อสู้แต่ไม่ได้ใช้อาวุธ แต่จะเป็นการพัฒนาเพื่อเอาชนะปัญหาให้ได้ เพื่อผลสุดท้ายคือปัจจัย 4 และตลอดเกือบ 3ปี มีทั้งโรคระบาดและสงคราม เราหนีไม่พ้นการนำสิ่งรอบข้างมาเป็นวัคซีน ยารักษาโรค รวมถึงหน้ากากอนามัย เป็นต้น

สำหรับผลกระทบจากอาวุธในการกระจายอำนาจ ส่งผลกระทบถึงโครงสร้างเศรษฐกิจภาพรวม ทำให้ให้ราคาปุ๋ย หรือน้ำมันแพง สร้างความลำบากมายิ่งกว่าพื้นที่กว้างขวาง มนุษย์รู้ถึงปัญหา และพยายามแสวงหาทางออกผ่านแนวคิดต่างๆ เหลือแค่ลงมือทำหรือไม่ ดังนั้น หวังว่าจากการจัดงานตลอด 3-4 ปีจะเกิดผลเป็นรูปธรรม

“ท่านทรงเสนอเศรษฐกิจพอเพียงไปทั่วโลก ประกอบไปด้วยหลายอย่างทั้งอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไม่ใช่แค่การยกร่องปลูกผัก หมายถึงความเปลี่ยนแปลง การก้าวให้ทัน และสามารถเผชิญต่อความเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกภายใน เพราะความเปลี่ยนแปลงมาอย่างรวดเร็วทุกมิติทั้งเศรษฐกิจ สังคม สภาพแวดล้อม ถ้าปรับตัวไม่ทันจะเกิดการดิสทรัปชัน ซึ่งท่านให้หลักความคิด 3 ประการ คือ พอประมาณ มีเหตุมีผล และมีคุณธรรม ซึ่งการจะยั่งยืนต้องยั่งยืนไปสู่คนรุ่นหน้า หากรักษาความพอเพียง พอดี สุดท้ายทั่วโลกจะอยู่ได้อย่างยั่งยืน และต้องทำร่วมกันทั้งโลก และทำให้ทันการ”

ม.ล.ดิศปนัดดา ดิศกุล ประธาน้จ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า ความท้าทายในช่วง2-3ปีที่ผ่านมา มูลนิธิฯ ได้นำเรื่องของสภาพภูมิอากาศมาเป็นวาระสำคัญ เพราะมีความสำพันกับปัญหาทั่วโลก จึงได้พยายามเปลี่ยนวิธทำงาน โดยการลดคาร์บอน ลดใช้วัสดุ ลดพลังงานเพื่อนำไปสู่ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพิ่มผลกระทบต่อชุมชนเชิงบวก ให้มูลนิธิฯ ชุมชน มีความเข้มแข็งมากขึ้น

ทั้งนี้ เช่นปี 2012-2013 ดอยตุงได้เริ่มจัดการปัญหาของเหลือใช้ และตั้งเป้าปี 2018 จะไม่มีการผังกลบขยะ ซึ่งปี 2023 ดอยตุงบรรลุเป้าหมาย โดยขณะนี้ มีการเผาขยะ 15% และ 85% เอาไปรีไซเคิล พร้อมกับใช้พลังงานหมุนเวียน ผ่านการรีไซเคิลน้ำ เป้าหมาย 9% มีการทำงานโดยตรงกับเอกชนเพื่อที่จะทำเรื่องคาร์บอนเครดิตและสนับสนุนชุมชน โดยเฉพาะปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าที่เกิดจากการทำไร่เลื่อนลอย พบว่ารายได้ต่อไร่ไม่เยอะ จึงเปลี่ยนการทำเกษตรกรรมลดการตัดไม้ทำลายป่าผ่านพ.ร.บ.ป่าไม้ชุมชน เพื่อเพิ่มพื้นที่

“เวทีนี้จะช่วยดึงดูดบริษัทต่าง ๆ เพื่อนำของชำร่วยที่ชุมชนทำไปจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนในมูลนิธิฯ เพราะมีชุมชนมากมายอยากทำงานกับเรา เราก็ได้ร่วมมือกับเอกชนเพื่อลดผลกระทบ ให้ธุรกิจเหล่านี้ดี สร้างไทยสีเขียวมากขึ้นตลอดระยะเวลา 15 ปี เรามีความรู้มากขึ้นในเรื่องของการพัฒนาความยั่งยืน พร้อมร่วมบริษัทต่าง ๆ อีกทั้งยังช่วยหนุนความยั่งยืนให้บริษัทต่าง ๆ ด้วย”

ทั้งนี้ ความท้าทายของความยั่งยืน คืออัตราการยอมรับ เรายังค่อนข้างช้า เช่น ปัญหาน้ำแข็งคั่วโลกละลาย เราสร้างผลกระทบได้มาก หากมองในเชิงบวก เอกชนได้คุยกันในก้าวแรกอ และก้าวต่อ ๆ ไปต้องใช้เวลาซึ่งสิ่งสำคัญตอนนี้คือการขยายความรู้ไปสู่ภาคเอกชน เกี่ยวกับมาตรการความยั่งยืนว่าทำได้ไม่ยาก แต่ต้องเปลี่ยนวิธีการคิด คือคิดถึงโลกมากกว่าผลกำไร

นางต้องใจ ธนะชานันท์ ผู้อำนวยการคณะจัดงาน Sustainability Expo 2022 กล่าวว่า การจัดงานนี้ เป็นส่วนหนึ่งของคำตอบแต่ไม่ใช่ทั้งหมด เวทีนี้คนสามารถมาแบ่งปันประสบการ สิ่งที่อยาหเห็นคือคนได้พูดคุย เรียนรู้จักกัน การร่วมมือจัดงานมีทั้งพาสเนอร์ ซัพพลายเชน คอนเน็คชัน สตาร์ทอัพ คนรุ่นใหม่ เพื่อให้เกิดการลงมือทำจริงไม่ใช่แค่พูด ซึ่งการจัดงานนี้ จะเป็นการผลักดันและพยายามต่อไปที่ไม่ใช่แค่สัปดาห์นี้สัปดาห์เดี่ยว แต่จะทำทุก ๆ ปี เพราะสิ่งสำคัญคือการสื่อสารอย่างเดียวไม่เพียงพอ

ทั้งนี้ เราจะให้ผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง โดยองค์กรต่างๆ ความสำคัญของความยั่งยืนไม่พอ จึงต้องส่งต่อความรู้ความเข้าใจไปถึงผู้บริโภค นอกจากว่าผู้บริโภคเข้าใจคุณค่า ก็จะใส่ใจสินค้าที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม ให้เข้าใจว่าอาหารก่อให้เกิดของเสียจำนวนมาก ถ้าบริหารจัดการอาหารและนำมาเป็นเครื่องมือเพื่อสื่อสารว่าทุกคนสามารถทำได้โดยการรับผิดชอบและร่วมมือกันจะช่วยโลกให้ยั่งยืนได้ ตนยังมีความศรัทธาในมนุษยชาติ จะเห็นว่าโควิด-19 เป็นดีสทรัปชันที่มีความท้าทาย แต่ก็ผ่านพ้นมาได้