เช็คลิสท์พื้นที่ ‘เสี่ยง’ อุทกภัย ฟังมุมมอง ฐนโรจน์ วรรัฐประเสริฐ

เช็คลิสท์พื้นที่ ‘เสี่ยง’ อุทกภัย​ จากผู้เชี่ยวชาญด้านวิเคราะห์สถานการณ์น้ำสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ฐนโรจน์ วรรัฐประเสริฐ

สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 9 ก.ย.65 65 เวลา 7.00 น.
+ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
+ ปริมาณฝน 24 ชั่วโมง สูงสุดที่ จ.ตราด (202) จ.ร้อยเอ็ด (166) และ จ.ปทุมธานี (158)
+ ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 52,479 ล้าน ลบ.ม. (64%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 45,885 ล้าน ลบ.ม. (64%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 1 แห่ง บริเวณภาคเหนือ เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 9 แห่ง ได้แก่ แม่งัด แควน้อยบำรุงแดน อุบลรัตน์ น้ำพุง ขุนด่านฯ บางพระ หนองปลาไหล นฤบดิทราจินดา และบึงบระเพ็ด

+ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติเปิดศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าฯ 
จ.อุบลราชธานี บูรณาการหน่วยงานเตรียมรับมวลน้ำจากฝนตกหนักอีกระลอกในภาคอีสาน
วานนี้ (8 ก.ย. 65) ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เป็นประธานเปิดศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามข้อสั่งการของ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการ กอนช.
 เพื่อทำหน้าที่บูรณาการ เชื่อมโยงข้อมูล คาดการณ์และวิเคราะห์สภาพอากาศ ปริมาณน้ำ พื้นที่น้ำหลาก และแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำในพื้นที่ พร้อมทั้งอำนวยการ บูรณาการ ติดตาม และตรวจสอบการบริหารจัดการน้ำ ร่วมกับกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บกปภ.ช.) และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการแก้ไขสถานการณ์อุทกภัยให้กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็ว อีกทั้งยังทำหน้าที่อำนวยการ สั่งการ และประสานการปฏิบัติงานกับหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อร่วมกันป้องกัน แก้ไข บรรเทาผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มน้ำจนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ มีความห่วงใยต่อสถานการณ์น้ำที่จะกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน จึงสั่งการให้มีการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมอบหมายให้ สทนช. เป็นเจ้าภาพในการบูรณาการทุกภาคส่วนในพื้นที่ เพื่อบริหารจัดการมวลน้ำและช่วยเหลือประชาชน ตาม 13 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 65 อย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งเน้นย้ำให้มีการสร้างการรับรู้แก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถเตรียมพร้อมรับมือได้ทันสถานการณ์ลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นให้ได้มากที่สุด