ฉะเชิงเทรา รอฟื้นฟาร์มสุกร รับบริโภคในอีอีซีเพิ่ม

ฉะเชิงเทรา รอฟื้นฟาร์มสุกร     รับบริโภคในอีอีซีเพิ่ม

ที่ผ่านมา จ.ฉะเชิงเทราเป็นเพียงทางผ่าน เพื่อมุ่งสู่แหล่งท่องเที่ยวสากลอย่าง จ.ชลบุรี แต่หลังจากที่เกิดเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) จะส่งผลให้มีคนในเขตนี้มากขึ้น และมีการบริโภคมากขึ้นตามไปด้วย จึงเป็นโอกาสของกลุ่มผู้ผลิตอาหาร

นายสัตวแพทย์วรวุฒิ ศิริปุณย์ ประธานชมรมผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดฉะเชิงเทรา เปิดเผยว่า ด้วยลักษณะของภูมิศาสตร์ จ.ฉะเชิงเทรา มีความเหมาะสมต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทั้งประมง ปศุสัตว์ และเพาะปลูก ในส่วนของปศุสัตว์ที่โดดเด่นคือการเลี้ยงไก่ไข่ และฟาร์มสุกร

โดยในส่วนของสุกร นั้นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกประกาศเพื่อให้ท้องที่ภาคตะวันออกของแม่น้ำบางปะกง ใน จ.ฉะเชิงเทรา เป็นเขตปลอดโรคระบาดชนิดปากและเท้าเปื่อย (FMD)ในโค กระบือ แพะ แกะ สุกร หมูป่า และกวาง ตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2499 มีเป้าหมายเพื่อส่งออกสัตว์เท้ากีบมีชีวิต ที่เลี้ยงในบริเวณเหล่านี้ได้ ซึ่งเป็นความหวังของกลุ่มผู้เลี้ยงสุกร โดยเฉพาะตลาดจีน ที่มีความต้องการสูงมาก  ฉะเชิงเทรา รอฟื้นฟาร์มสุกร     รับบริโภคในอีอีซีเพิ่ม ฉะเชิงเทรา รอฟื้นฟาร์มสุกร     รับบริโภคในอีอีซีเพิ่ม

อย่างไรก็ตาม การกำหนดเขตปลอดโรคดังกล่าว กรมปศุสัตว์อยู่ระหว่างเสนอให้สถาบันโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ(OIE)พิจารณา ซึ่งเบื้องต้นยังไม่ให้การรับรอง เนื่องจากเห็นว่ายังไม่ปลอดโรคจริง ในขณะที่การเลี้ยงสุกรของไทยประสบปัญหาการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกา (ASF) ในช่วงปลายปี 2564 จนถึงปัจจุบัน

ดังนั้น การกำหนดเขตปลอดโรคปากและเท้าเปื่อยจึงต้องระงับไปก่อน ยังไม่รีบ และแม้จะไม่สามารถส่งสัตว์มีชีวิตหรือเนื้อสดของสัตว์เหล่านั้นในตลาดจีนได้ แต่ในตลาดชายแดนยังค้าขายได้อยู่ เนื่องจากมีโรคประจำถิ่นเป็นปากและเท้าเปื่อยเช่นกัน

สิ่งที่อยากให้ทุกฝ่ายดำเนินการมากที่สุดอย่างเร่งด่วนคือ ปัญหาASF โดยการระบาดของโรคทำให้ผู้เลี้ยงสุกรต้องปรับตัว และลงทุนมากขึ้นเพื่อสร้างระบบไบโอซิเคียวริตี้ ป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อไวรัสเข้าสู่ฟาร์ม

ASF เป็นโรคที่ติดต่อจากการกิน ดังนั้น ถ้าป้องกันไม่ให้เชื้อเข้าไปในปากหมูได้ ลดความหนาแน่น ก็จะสามารถป้องกันได้ ดังนั้นฟาร์มหมูที่ จ.ฉะเชิงเทรา ที่รอดจาก ASF ได้ ต่างติดตั้งระบบทำความสะอาด มากขึ้นจากเดิม 1-2 ด่าน เป็น 3 ด่าน กำหนดระเบียบให้คนงานที่เข้าสู่ฟาร์มต้องเคร่งครัวระมัดระวัง เรื่องการทำความสะอาดร่างกาย รวมทั้งอาหารที่เป็นเนื้อหมูต้องไม่นำเข้ามาในพื้นที่ “

อย่างไรก็ตาม จากความต้องการเนื้อสุกรในพื้นที่ ที่เพิ่มขึ้น ทั้งจากปริมาณประชากรที่เพิ่มขึ้น และจำนวนสุกรในพื้นที่ ที่ไม่เพียงพอกับความต้องการ ทำให้ผู้เลี้ยงสุกรบางรายเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงในทิศทางที่เสี่ยงต่อการระบาดของโรคโดยนำสุกรขุนในพื้นที่อื่นเข้ามาเลี้ยงต่อใช้เวลา 3 สัปดาห์ แล้วนำออกจำหน่าย กรณีนี้สามารถตั้งข้อสังเกตได้ว่าอาจมีการใช้สารเร่งเนื้อแดง ซึ่งเป็นสารต้องห้ามอีกทั้งการเคลื่อนย้ายสุกรข้ามเขตก็ผิดกฎหมายเช่นกัน

ปัญหานี้ได้แจ้งให้กรมปศุสัตว์รับทราบแล้ว เพราะการเคลื่อนย้ายสัตว์ต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่รับทราบก่อนทุกครั้ง หากผู้เลี้ยงสามารถทำได้อย่างเปิดอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ แสดงว่าต้องมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะเนื้อสุกรมีราคาแพงการเสียค่าใช้จ่ายรายทางครั้งละ 1-2 หมื่นถือว่าคุ้มกับการลงทุน”

ทั้งหมดนี้ยังไม่รวมกับเนื้อหมูที่ลักลอบนำเข้าหรือที่ตลาดเรียก “หมูกล่อง”มีราคาเสนอขายต่ำมากนั้น มั่นใจว่าเป็นหมูติดเชื้อ ASF ทั้งหมด เก็บตามห้องเย็นต่างๆ ซึ่งอันตรายมากเป็นระเบิดเวลา ที่จะทำให้เกิดการระบาดไม่สิ้นสุด และเชื่อว่ากลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเนื้อหมู กลุ่มแปรรูปถนอมอาหารก็น่าจะสำรองเนื้อหมูเหล่านี้ไว้เช่นกัน โดยใช้เหตุผลที่ว่า “ไวรัสไม่ติดต่อสู่คน” มาเป็นประโยชน์ในการรับซื้อของขบวนการลักลอบนำเข้าหมูกล่องเหล่านี้

ปัจจุบันการเลี้ยงสุกรขุนในฟาร์มขนาดเล็ก ปริมาณ 1 หมื่นตัว ไม่รวมกลุ่มสหกรณ์ใน ฉะเชิงเทราเหลืออยู่ไม่ถึง10 รายเท่านั้น หรือหายไปประมาณ 50%จากการระบาดของ ASF การกลับเข้ามาเลี้ยงใหม่ มีน้อย ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของประชากรในพื้นที่ ทำให้การเลี้ยงสุกรใน ฉะเชิงเทราต้องย้ายอยู่นอกเขตชุมชน เพราะเลี่ยงปัญหาสิ่งแวดล้อม หลักๆ คือเรื่องกลิ่น และน้ำเสีย

เดิมการลงทุนเลี้ยงสุกร ก็แพงอยู่แล้ว พอมี ASF เข้ามา ทำให้ยิ่งแพงขึ้นไปอีก อัตราง่ายๆ ไม่รวมค่าที่ดิน หรือเฉพาะ โรงเรือน อุปกรณ์ ที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เฉลี่ยที่ 1 แสนบาทต่อแม่สุกร1 ตัว จากเดิม ไม่ถึง1 แสน รวมทั้งยังมีปัญหาขาดแคลนแรงงาน และค่าแรงสูงด้วยเนื่องจากต้องใช้แรงงานที่มีฝีมือ เช่นคนทำคลอด ทำให้การฟื้นตัวของแต่ละฟาร์มทำได้ยาก”

ในขณะที่ ภาวะต้นทุนการผลิตสุกรปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2563 จนถึงปัจจุบัน จากราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่สูงขึ้น มี Supply น้อยกว่าความต้องการ และถูกซ้ำเติมจากสถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ทำให้การเลี้ยงสุกรในปัจจุบัน ผู้เลี้ยงต้องแบกรับภาระต้นทุน ในไตรมาสที่ 2-3/2565 อยู่ในช่วง 98-101 บาทต่อกิโลกรัม โดยแบกรับภาระต้นทุนดูแลทั้งกลุ่มพืชไร่-ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และชาวนา-ข้าว 

ในขณะที่ราคาขายสุกรหน้าฟาร์มต้องให้ความร่วมมือกับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เพื่อดูแลผู้บริโภคในประเทศ ดังนั้น ปัญหาการลักลอบนำเข้าเนื้อหมูที่มีราคาต่ำมาจำหน่ายในประเทศ จึงเป็นเรื่องที่เอารัดเอาเปรียบผู้เลี้ยงสุกรไทย จนถึงขั้นสามารถทำลายการเลี้ยงสุกรไทยเลยก็ว่าได้

อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมสุกรในประเทศให้ฟื้นตัวได้ ป้องกันการลักลอบนำเข้าอย่างจริงจัง คาดว่ากลุ่มผู้เลี้ยงหมูในประเทศพร้อมตัดสินใจลงทุนใหม่ เพราะตลาดมีความต้องการอยู่แล้วทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันการส่งเสริมให้เกษตรกรผู้เลี้ยงที่เสียหายจากปัญหาโรคระบาดโดยเฉพาะ ASFทั่วประเทศ เริ่มกลับมาเข้าขุนใหม่แล้วกว่า 1 ล้านตัว คาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดในไตรมาสที่ 4 ในปีนี้