เปิดแผน ‘Better and Green Thailand 2030’ อัพ GDP 1.7 ล้านล้าน ดึงลงทุน 2 ล้านล้าน

เปิดแผน ‘Better and Green Thailand 2030’ อัพ GDP 1.7 ล้านล้าน ดึงลงทุน 2 ล้านล้าน

รัฐบาลได้ตั้งทีมปฏิบัติการเชิงรุกเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยมีการทำงานมาเป็นระยะเวลาประมาณ 1 ปีครึ่ง ล่าสุดได้มีการวางแผนงานการทำงานในด้านต่างๆ 8 ด้าน ภายใต้ชื่อ “Better and Green Thailand 2030”โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มจีดีพีให้ได้ 1.7 ล้านล้านบาท

โดยแผนงานนี้ได้มีเป้าหมายในการสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) เพิ่มขึ้น1.7ล้านล้านบาท เพิ่มการลงทุนของภาคเอกชนไม่น้อยกว่า2ล้านล้านบาท ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ6.25แสนราย คิดเป็นปริมาณรวมที่สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯได้กว่า13% โดยแผนทั้ง 8 ด้านประกอบไปด้วยการดึงดูดการลงทุน 5 แผนงาน และแผนการสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศ 3 แผนงาน 

โดยมีสาระสำคัญ การดำเนินงาน และความคืบหน้าของทั้ง 8 แผนงาน ดังนี้ 

1.แผนงานขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV)โดยแผนงานนี้คาดว่าจะมีการลงทุนเพิ่ม3.6แสนล้านบาท เพิ่มมูลค่าจีดีพีได้2.1แสนล้านบาท สามารถสร้างงาน และเพิ่มทักษะแรงงานในประเทศได้6แสนราย และลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนฯได้13%เทียบเท่าน้ำนัมันดิบ (BAU)โดยแผนงานนี้ได้มีการกำหนดเป้าหมายEV30@30มาตั้งแต่เดือน ต.ค.2564และมีการออกมาตรการEV3ในเดือน ก.พ.2565ในเดือน มี.ค.2565ถึงปัจจุบันมีผู้ผลิตที่ทำข้อตกลงกับกรมสรรพสามมิตแล้ว ได้แก่ เกรทวอร์มอเตอร์MGและโตโยต้า ส่วน ปตท.กับFoxconnกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการส่วนผู้ประกอบการค่ายรถยนต์ที่ให้ความสนใจในการเข้ามาลงทุนในไทย ได้แก่BYDบริษัทฮอนด้าบริษัทHONZON BMWเมอร์ซิเดสเบนท์ และกลุ่มรถประเภทLuxury Car

สำหรับแผนงานในระยะต่อไปภายในไตรมาสที่ 3 จะมีการปรับปรุงมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนสำหรับแบตเตอรี่ และสถานีอัดประจุไฟเพิ่มเติมโดยจะเห็นความชัดเจนของแผนในเร็วๆนี้ 

เปิดแผน ‘Better and Green Thailand 2030’ อัพ GDP 1.7 ล้านล้าน ดึงลงทุน 2 ล้านล้าน

2.การดึงชาวต่างชาติศักยภาพสูงข้ามาอาศัยในประเทศไทยตามมาตรการวีซ่าสำหรับผู้อยู่อาศัยระยะยาว (LTR) โดยมีเป้าหมายที่จะดึงชาวต่างชาติที่มีศักยภาพและรายได้สูงเข้ามาอยู่ในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 1 ล้านราย เพื่อเพิ่มมูลค่าจีดีพีให้ได้ 1 ล้านล้านบาท และมูลค่าการลงทุนที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 5 – 6 แสนล้านบาท

โดยมาตการนี้ผ่านความเห็นชอบจาก ครม. ตั้งแต่เดือน ก.ย. 2564 ต่อมาในดือน พ.ค.2565 อนุมัติหลักเกณฑ์ LTR และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการ LTR ขั้นตอนการทำงานในปัจจุบันอยู่ในระหว่างการเตรียมความพร้อมระบบการทำงาน และการเปิดให้เอกชนมาร่วมให้บริการ และจัดทำแพลตฟอร์มดิจิทัลครบวงจร (LTR OSS)

3.แผนการพัฒนาดิจิทัล (Hyperscalers Data Center & Cloud Service) ซึ่งในส่วนนี้คาดว่าจะสามารถเพิ่มการลงทุนได้มากกว่า 1 แสนล้านบาท โดยในส่วนนี้คาดว่าจะมีการลงทุนไม่น้อยกว่า 1 แสนล้านบาท โดนในเดือนมิ.ย.2565 ครม.เห็นชอบให้มีการปรับปรุงการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เพื่อสนับสนุนธุรกิจดาต้า เซนเตอร์ในประเทศไทย โดยความคืบหน้าล่าสุดภายในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้จะมีการลงทุนของ ศูนย์ข้อมูล (Data Center) ขนาดใหญ่ที่อาศัยพลังการประมวลผลอย่างมหาศาล (Hyperscalers) ในเมืองไทยของนักลงทุนต่างประเทศ จำนวน 2 ราย

4.อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งคาดว่าจะมีมูลค่าการลงทุนเพิ่มในสาขานี้ 6.7 แสนล้านบาทช่วยเพิ่มการจ้างงานในระดับปริญญาโท/เอก 10400 ตำแหน่ ช่วยเพิ่มจีดีพีได้กว่า 5 แสนล้านบาท

โดยการดำเนินการผลักดันในเรื่องในเดือน ก.ค.2564 Arcelik Hitachi ย้ายสำนักงานใหญ่มายังประเทศไทย ในวันที่ 22 มิ.ย.มีการลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) ระหว่างปตท.กับบริษัท เดลต้า อิเล็กทรอนิกส์ ส่วนในระยะต่อไปจะมีการทำแผนและเสนอมาตรการสนับสนุนการลงทุนผลิตอิเล็ทรอนิกส์ต้นน้ำในประเทศไทย

5.การส่งเสริมเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Soft Power) ซึ่งคาดว่าจะช่วยเพิ่มรายได้ให้ประเทศประมาณ 5 พันล้านบาท เพิ่มมูลค่าจีดีพี 3 หมื่นล้านบาท ช่วยเพิ่มการจ้างงานใหม่ในสาขาครีเอทีพและดิจิทัลได้ประมาณ 1.5 หมื่นตำแหน่ง

6.ความร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่น โดยร่วมมือกับกระทรวงอุตสากรรมและการค้าของญี่ปุ่น (METI) โดยคาดว่าจะมีมูลค่าการลงทุนร่วมกันประมาณ 2.1 แสนล้านบาท แบ่งเป็น 5 โครงการความร่วมมือ ได้แก่ โครงการการพัฒนาเชื้อเพลิงไฮโดรเจน โครงการพัฒนาคลัสเตอร์เทคโนโลยีการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CCUS) ร่วมกัน การพัฒนารถยนต์ EV แบบที่ใช้แบตเตอรี่ให้ได้ 2.4 แสนคันต่อปี และแบตเตอรี่ขนาด 14 – 15 กิกะวัตต์ รวมทั้งโครงการการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และโครงการพลังงานหมุนเวียน

7.ความร่วมมือกับประเทศซาอุดีอาระเบีย คาดว่าจะมีมูลค่าการลงทุนร่วมกันประมาณ 3 – 6 แสนล้านบาท โดยหลังจากที่ได้มีการหารือกับรัฐบาลซาอุฯในหลายระดับ ตั้งแต่เดือน มี.ค. 2565 ที่ผ่านมาได้มีการกำหนดแผน 7 โครงการเชิงกลยุทธ์ และในเดือน พ.ค.ได้ร่วมเดินทางกับกระทรวงการต่างประเทศเพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ โดยความคืบหน้าคือได้เริ่มมีการประชุมหารือเพื่อสร้างความร่วมมมือทางเศรษฐกิจในด้านพลังงาน ปิโตรเคมี เชื้อเพลิงชีวภาพ การเกษตร เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และการบริการ

ส่วนความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้นั้นจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อขับเคลื่อนขั้นตอนการทำงานในด้านต่างๆ โดยมีความร่วมมือที่จะหยิบจึ้นมาขับเคลื่อนเป็นลำดับต้นๆ เช่น การสร้างความร่วมมือด้านสถานีอัดประจุไฟฟ้า EV และการพัฒนาอุตสาหกรรมเกม และเมตาวร์สร่วมกัน

และ 8.ความร่วมมือกับประเทศสิงคโปร์ ได้มีการหารือกับการพัฒนาโครงการความร่วมมือระหว่างสิงคโปร์ในด้านพลังงานหมุนเวียน เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการลงทุนในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ร่วมกัน