การสร้าง Agriculture Brand เพื่อเปลี่ยนประเทศไทย!

การสร้าง Agriculture Brand เพื่อเปลี่ยนประเทศไทย!

Agriculture brand สำคัญอย่างไร เคยได้ยินเพลงนี้ไหมครับ "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว แผ่นดินของเรานี่แสนอุดมสมบูรณ์" เพลงนี้มีบ่งชี้ถึงพื้นเพของประเทศไทยที่มีรากฐานมาจากการเกษตร อาหารการกินของเรานั้นไม่ขาดแคลนเพราะธรรมชาติสร้างสรรค์ให้มีความหลากหลายทางธรรมชาติ

แต่สิ่งที่เรามีของเดิมที่ดีก็ทำให้เราประมาทได้ในยุคปัจจุบันที่เป็นโลกแห่งการค้าเสรีนั้น หลายประเทศจึงพัฒนาสินค้าเกษตรด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้มีผลผลิตที่มากขึ้น หรือมีความพิเศษที่แตกต่างออกไปในด้านต่างๆ 

สินค้าเกษตรของประเทศเราจึงประสบปัญหาของเกษตกรที่ยิ่งปลูกยิ่งจน และ ประสบปัญหากับราคาที่ตกต่ำ เพราะเราขาดมุมมองเรื่องการสร้างแบรนด์, การตลาด และ นวัตกรรม 

เราเริ่มเสียแชมป์ด้านต่างๆ มากขึ้นในเวทีโลก ทั้งข้าวที่เราเคยภูมิใจแม้กระทั่งทุเรียนก็ตาม 

ปัญหาโดยสรุปของเราคือทำเยอะ เหนื่อยเยอะแต่ผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจน้อย 

ดังนั้นในยุคนี้หากเราต้องการเป็นประเทศมหาอำนาจด้านสินค้าเกษตร เราต้องเน้นการสร้างแบรนด์, การตลาดและนวัตกรรมเป็นแกนหลักสำคัญ ซึ่งจะส่งผลให้เราสามารถพัฒนาขีดความสามารถของธุรกิจ ของประเทศเราให้สามารถแข่งขันได้มากยิ่งขึ้น

Agriculture brand คืออะไร ? 

คือการสร้างแบรนด์สินค้าเกษตร หมายถึง พืชผลทางการเกษตรทั้งผัก ผลไม้ และ เนื้อสัตว์ทุกประเภท โดยแบรนด์ประเภทนี้ถือเป็นต้นน้ำของอาหารทุกๆ ประเภท ซึ่งสินค้าเกษตรมี Value chain ที่ยาวและมีความเฉพาะในแต่ละกระบวนการรายละเอียด

โดยการสร้างแบรนด์ให้สินค้าเกษตรมีความแตกต่างนั้น ต้องดึงจุดเด่นมาจาก Value Chain ที่เกิดขึ้นจริง เพื่อสะท้อนความจริงใจ ตรงไปตรงมาต่อลูกค้า โดยสามารถสร้างจุดเด่นได้จาก 

1. การคัดเลือกสายพันธุ์ที่ปลูก หรือ เลี้ยง 

    - คุณลักษณะพิเศษ 

    - ความสามารถในการปรับตัวทนต่อโรค 

    - การพัฒนาสายพันธุ์ตามที่ต้องการของตลาด 

2. วิธีการปลูก หรือ วิธีการเลี้ยง

    - แหล่งที่ปลูก หรือเลี้ยง 

    - ฤดูกาล และ การเก็บเกี่ยว 

    - อาหาร และ การป้องกันโรค 

    - การบำรุงรักษา 

ลองดูตัวอย่างที่ดีของการเลี้ยงหมูดำ ที่คาโงชิมา ในประเทศญี่ปุ่น เป็นการสร้างแบรนด์ให้มีชื่อเสียง 

การสร้าง Agriculture Brand เพื่อเปลี่ยนประเทศไทย!

3. การเก็บเกี่ยว หรือ การแปลงสภาพก่อนจำหน่าย 

     - วิธีการรักษาความสด 

4. การขนส่ง 

     - การ Package 

     - การรักษาความสด สะอาด ปลิดภ้ย 

5. การเข้าตลาด go to market 

     - การแปรรูป

     - การกำหนดวิธีการขาย 

     - การสร้างสินค้าเรือธง 

     - ช่องทางจัดจำหน่ายแบบ B2B

     - ช่องทางจัดจำหน่ายแบบ B2C  

6. การสื่อสารแบรนด์ 

      - Key Objective 

      - Key Visual 

      - Key Message 

      - Key Tools of communication 

การสร้าง Agriculture Brand เพื่อเปลี่ยนประเทศไทย!

การสร้าง Brand Superfans สินค้าเกษตรให้เกิดลูกค้าบอกต่อนั้นต้องทำอย่างไร ?

ก่อนจะหาวิธีการว่าสร้างอย่างไรนั้นเราต้องยอมรับสัจจะธรรมข้อหนึ่งก่อนว่าไม่มีแบรนด์สินค้าไหนที่จะสามารถบอกว่าลูกค้าเราคือทุกคนบนโลกจริงไหมครับ ? 

ดังนั้น การกำหนดลักษณะกลุ่มเป้าหมายให้มีความชัดเจนนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญก่อนที่จะลงมือปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์เสียด้วยซ้ำครับ 

การสร้าง Brand superfans นั้นเป็นการสร้างกลไกให้ลูกค้ากระจายชื่อเสียงแบรนด์เราบอกต่อแบรนด์เราด้วยตัวเขาเหล่านั้นเอง 

ถ้าเป็นแบรนด์สินค้าเกษตร จะเป็นการสร้างกลไกที่ทำให้ลูกค้าอยากได้แบรนด์นั้นๆหรือเรียกว่าเป็นการตลาดเชิง Pull มากกว่า Push

ดังนั้น หากท่านไหนที่ต้องการสร้าง Brand Superfans ของสินค้าเกษตรลองทำตามขั้นตอน ดังนี้ 

1. กำหนดกลุ่มเป้าหมายแบบ Target persona ให้ชัดเจน ขนาดตลาดใหญ่พอ เป็นตลาดที่มีกำลังซื้อที่ดี

2.กำหนดคุณค่าพิเศษจาก Value chain โดยเลือกเน้นจุดใด จุดหนึ่งที่ท่านคิดว่าท่านทำได้ดีและสามารถนำมาสร้างนวัตกรรมให้แตกต่างได้ ตามตัวอย่าง ข้าวบ่มหิมะ ที่ขายได้มากกว่าข้าวปกติ 5 เท่า 

3. นำคุณค่าในข้อสองมานำเสนอหรือสื่อสารแบรนด์ให้น่าสนใจ , ดึงดูด, จรืงใจและเข้าใจง่าย

การสร้าง Agriculture Brand เพื่อเปลี่ยนประเทศไทย!

4. การตั้งชื่อแบรนด์สินค้าเกษตร หลักคิดของการตั้งชื่อแบรนด์คือ เน้นการสร้างประสบการณ์ที่สะท้อนความรู้สึกถึงความเป็นต้นตำรับ เป็นแหล่งปลูกจริงๆ ทำให้แบรนด์นั้นๆสร้างความรู้สึกว่า เป็นสินค้าที่มาจากแหล่งปลูกจริงๆ สด สะอาด และ ไว้วางใจได้ เช่น ไร่กำนันจุล, จิมทอมสันฟาร์ม, ดอยคำ เป็นต้น 

5. การเข้าตลาดที่แตกต่างทำให้รู้สึกถึงประสบการณ์ที่พิเศษ ทำให้รู้สึกอยากได้มากกว่าพยายามจะยัดเยียดการขาย หรือ ลดแลกแจกแถม กลยุทธ์ที่มักนิยมใช้กันคือ 

กลยุทธ์แรกคือ การสร้างตลาดการประมูลสินค้าเกษตร เพื่อสร้างคุณค่าให้กับแบรนด์ของสินค้าเกษตรเอง เราจะเห็นได้เยอะมากในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งสามารถขายสินค้าเกษตรได้ราคาที่ดี เช่น การเปิดตลาดประมูลเมล่อนยูบาริของญี่ปุ่นในตลาดซัปโปโร เป็นต้น 

กลยุทธ์ที่สองคือ การเปิดจองล่วงหน้าตั้งแต่การปลูก ทำใหสร้างคุณค่าที่ได้รู้สึกว่าเป็นคนพิเศษจริงๆ ที่จะได้ลิ้ทลองสัมผัสสินค้านั้นก่อนใคร บางครั้งเราจะเห็นว่ามีการจองแปลงที่น่าในการจ้างปลูกข้าวเลยด้วยซ้ำโดยผู้ซื้อสามารถดูการปลูกและการเติบโตข้าวของตนเองผ่านกล้องวงจรปิดได้เลย 

ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างแบรนด์สินค้าเกษตร ที่ผมคิดว่าถึงเวลาของประเทศไทยหรือยังครับที่จะทำให้สินค้าเกษตรเรามีแบรนด์โด่งดังไปทั่วโลก ไม่ใช่ต้องรอการประกันราคาจากภาครัฐ รัฐบาลเองก็ควรสนับสนุนอย่างถูกทางด้วยครับ.