เปิดปีใหม่ 'ข้าวแกง-ก๋วยเตี๋ยว’ ขึ้นราคา ส่องลิสต์สินค้าแพงต่อ

เปิดปีใหม่ 'ข้าวแกง-ก๋วยเตี๋ยว’ ขึ้นราคา ส่องลิสต์สินค้าแพงต่อ

เปิดศักราชใหม่ ปี 2567 สินค้ามีการปรับขึ้นราคาแล้ว โดยเฉพาะบรรดาร้านอาหารขนาดเล็ก สตรีทฟู้ดต่างๆ ทั้งข้าวแกง ก๋วยเตี๋ยว ขณะที่แนวโน้มข้าวของจำเป็นมีทั้งขยับราคาขายเพิ่ม และลดไซส์

กรุงเทพธุรกิจ สำรวจสถานการณ์ร้านอาหารตามตรอก ซอกซอย พบว่ามีการปรับขึ้นราคาบางส่วน เช่น ในย่านสุขุมวิท ร้านก๋วยเตี๋ยวแห่งหนึ่งได้ติดป้ายแจ้งกับลูกค้าถึงการขอปรับขึ้นราคาจากเดิมชามละ 40-45 บาท เป็นเริ่มต้นที่ 50 บาท

สอดคล้องกับผลสำรวจความเห็นผู้บริโภคของอิปซอสส์ (Ipsos) ในหัวข้อ “What worries Thailand” ชุด 2 ของปี 2566 และการมองแนวโน้ม 6 เดือนข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ซึ่งประเด็น “สินค้าและบริการที่จะขึ้นราคา” มีดังนี้

เปิดปีใหม่ \'ข้าวแกง-ก๋วยเตี๋ยว’ ขึ้นราคา ส่องลิสต์สินค้าแพงต่อ -61% มองว่าต้นทุนของการซื้ออาหารจะเพิ่มขึ้น

-61% ยกให้ต้นทุนการซื้อสินค้าภายในครัวเรือนหรือ Household shopping จะเพิ่มขึ้น

-59% คาดการณ์ต้นทุนของสาธารณูปโภค เช่น ค่าไฟ ค่าก๊าซฯ จะเพิ่มขึ้น

-59% มองราคาพลังงานจะเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันดีเซล น้ำมันเชื้อเพลิงต่างๆ

-41% คาดการณ์ต้นทุนโดยรวมในการออกไปเข้าสังคมนอกบ้าน พบปะสังสรรค์ จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

-36% คาดดอกเบี้ยบ้าน ค่าเช่าจะเพิ่มขึ้น

-31% คาดว่าค่าเสพสื่อบันเทิงภายในบ้านผ่านแพลตฟอร์มสตรีมมิงต่างๆจะเพิ่มขึ้น (ปี 2567 ดิสนีย์ พลัส ฮอต สตาร์ขยับราคาสมาชิก หลังปล่อยโปรโมชันดึงลูกค้า(Traffic)มานาน) รวมถึงการสมัครสมาชิกฟิตเนสต่างๆ

“โดยเฉลี่ย 38% ของผู้ตอบแบบสอบถามใน 33 ประเทศ คาดว่าค่าบริการสาธารณูปโภคจะเพิ่มขึ้นในช่วง 6 เดือนข้างหน้า และโดยเฉลี่ย 44% ของผู้ตอบแบบสอบถามใน 33 ประเทศ ยังคาดว่าค่าสมัครบริการหรือ Subscriptions ต่างๆ จะเพิ่มขึ้นในปี 2567ด้วย”

เปิดปีใหม่ \'ข้าวแกง-ก๋วยเตี๋ยว’ ขึ้นราคา ส่องลิสต์สินค้าแพงต่อ ไม่ใช่แค่สินค้าที่ขยับราคา แต่ตลาดยังมีการปรับขนาด ลดปริมาณ ลดไซส์ เปลี่ยนวัตถุดิบ ฯ แต่ “ขายราคาเดิม” จนก่อให้เกิดกระแส “Shrinkflation” ทั่วโลกและในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม สินค้าที่ปรับไซส์ ลดปริมาณ ลดขนาด หรือเปลี่ยนคุณภาพวัตถุดิบ เป็นสิ่งที่ผู้บริโภค “รู้ทัน” และบางส่วน “รับได้” แต่ทำนานไม่ดี จะมีผลกระทบต่อแบรนด์

สินค้าหมวดไหนที่ผู้บริโภครู้แล้วว่าลดไซส์ แต่ขายราคาเท่าเดิม มีดังนี้

-52% ขนมขบเคี้ยว เช่น มันฝรั่งทอด เพรทเซล ฯ

-50% อาหารพร้อมทานต่างๆ เช่น อาหารแช่เย็น อาหารแช่แข็ง พิซซ่า ฯ

-46% ช็อกโกแลตและขนมหวาน

-40% ผักสด และผลไม้

-36% อาหารทานเล่น ไอศกรีม ของหวานแช่แข็ง

-34% เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ หมวดต่างๆ เช่น น้ำผลไม้ น้ำผลไม้ผสม น้ำหวาน น้ำดื่ม ฯ

-34% ขนมปัง เบเกอรี

-31% ของสด เนื้อสัตว์

-31% ผลิตภัณฑ์นม นมพร้อมดื่ม

-30% กาแฟคั่วบด กาแฟคั่วบดพร้อมชง( เช่น บรรจุในแคปซูล)

-30% เครื่องดื่มอัดลม

-28% น้ำดื่มบรรจุขวด

-28% เครื่องดื่มธัญพืชต่างๆ เช่น นมอัลมอนด์ นมถั่วเหลือง ฯ

-20% โยเกิร์ต

-18% ครีมและชีส

-18% พาสต้า ข้าวสาร

-18% ชาชมพร้อมดื่ม

-16% นมสำหรับเด็กแรกเกิด

-14% อาหารสำหรับเด็ก

สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น มีร้านกาแฟดังอย่าง "สตาร์บัคส์" ได้ขึ้นราคาเมนูเครื่องดื่มทุกประเภท 5 บาท มีผลตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2567 หลังจากต้องเผชิญภาวะต้นทุนสูงขึ้น ส่วนขนม เครื่องดื่มบรรจุขวด และเมล็ดกาแฟ ยังคงราคาเดิม

เปิดปีใหม่ \'ข้าวแกง-ก๋วยเตี๋ยว’ ขึ้นราคา ส่องลิสต์สินค้าแพงต่อ
“46% ของผู้ตอบแบบสอบถามจาก 33 ประเทศทั่วโลกระบุว่า พวกเขารับไม่ได้หากธุรกิจและร้านค้าปลีกต่างๆ ลดขนาดผลิตภัณฑ์ของตนลงในขณะที่ยังคงราคาไว้เท่าเดิมเพื่อตอบสนองต่อต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น และ 62% เชื่อว่าการที่ธุรกิจทำกำไรมากเกินไป เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่โลกกำลังเผชิญกับวิกฤติค่าครองชีพ และในร้านค้าปลีกหรือ Retail ผู้คนเริ่มสังเกตเห็นขนาดสินค้าที่ลดลงตามร้านค้าและซุปเปอร์มาร์เก็ต และมีผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยในหลายประเทศที่รับไม่ได้กับเรื่องนี้ มีกลุ่มธุรกิจค้าปลีกในหลายประเทศที่เข้าข้างผู้บริโภค มีการติดป้ายราคาให้รู้ว่าสินค้ายี่ห้อต่างๆปรับขึ้นจากเดิมและเริ่มจับตามองผู้ผลิตมากขึ้น”