ส่องตลาดงานปี 67 'องค์กร' หาคนเก่งดิจิทัล เอไอ 'แรงงาน' ขอ Work Life Balance

ส่องตลาดงานปี 67 'องค์กร' หาคนเก่งดิจิทัล เอไอ 'แรงงาน' ขอ Work Life Balance

ยุคข้าวยากหมากแพง เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ การมีงานทำ มีรายได้ ยังเป็นความหวังของผู้คน เพราะหมายถึงความมั่นคงในชีวิต มีเงินเลี้ยงปากท้อง ครอบครัว “JobsDB by SEEK” เผยตลาดแรงงานปี 2567 สิ่งที่ “นายจ้าง” และ “ลูกจ้าง” ต้องการมีอะไร ติดตาม

ดวงพร พรหมอ่อน กรรมการผู้จัดการ บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จากัด เผยผลสำรวจ จาก Global Talent Survey ซึ่งเป็นการสำรวจผ่านเว็บไซต์และการวิเคราะห์ ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของ Boston Consulting Group(BCG)และTheNetworkในปี2565 ซึ่งมีผู้ร่วมตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 90,547 คน จาก 160 ประเทศ ในหลากหลาย อุตสาหกรรม แบบสำรวจยังยังโฟกัสตลาดแรงงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีตอบแบบสำรวจจำนวน 97,324 คน จาก 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชียโดยที่ประเทศไทยมีจำนวนผู้ร่วมตอบแบบสำรวจชดุนี้ทั้งสิ้น 2,636 คน ผลสำรวจเป็นดังนี้

ส่องตลาดงานปี 67 \'องค์กร\' หาคนเก่งดิจิทัล เอไอ \'แรงงาน\' ขอ Work Life Balance

  • งานดิจิทัล วิเคราะห์ข้อมูล เอไอ ตลาดต้องการมากสุด

สำหรับตำแหน่งงานที่เป็นที่ต้องการระดับโลก เอเชีย รวมถึงประเทศไทย 5 อันดับแรก ได้แก่

1.ดิจิทัล การจัดการและวิเคราะห์ข้อมูล และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐหรือ AI คิดเป็น 37%

2.งานด้านสื่อ ศิลปะ และการออกแบบ 36%

3.งานการบริการและการต้อนรับ 34%

4.งานบริการทางการเงิน 30%

5.งานบริการด้านสุขภาพและสังคม 30%

ส่องตลาดงานปี 67 \'องค์กร\' หาคนเก่งดิจิทัล เอไอ \'แรงงาน\' ขอ Work Life Balance “5 สายงานดังกล่าว มาแรงและเป็นที่ต้องการของตลาด สอดรับกับประเทศไทยที่กำลังเดินหน้าสู่ยุคดิจิทัลเต็มรูปแบบ ทำให้ทุกธุรกิจต้องการบุคลากรที่เข้าใจงาน และพร้อมเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ 5 สายงานยังมีจุดเชื่อมโยงด้านทักษะการวางแผน การสื่อสาร เกี่ยวเนื่องถึงการเงิน สุขภาพ ซึ่งปีหน้าอาจพบธุรกิจใหม่มากขึ้น”

  • งานมั่นคงไม่พอ ขอ Work Life Balance

บริษัท นายจ้างมองหาและอยากได้คนเก่งด้านดิจิทัล เอไอ หรือทักษะอื่นๆที่ตอบโจทย์ธุรกิจแต่ละเซ็กเตอร์ ทว่า ฝั่งลูกจ้าง พนักงาน ฯ ยุคนี้ ไม่ได้มองแค่ผลตอบแทน เงินเดือน ความมั่นคงอีกต่อไป แต่มีองค์ประกอบอื่นๆที่เติมเต็มการใช้ชีวิตด้วย โดย 3 อันดับแรกที่จะจูงใจ มัดใจผู้สมัครอยู่กันยาวๆ ได้แก่

อันดับ 1 งานที่มั่นคงและมีสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานหรือ Work Life Balance สัดส่วนสูงถึง 77%

อันดับ 2 ทำงานในบริษัทที่ดี และมีโอกาสเติบโตสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น 55%

อันดับ 3 ต้องการมี “ธุรกิจส่วนตัว” ที่ประสบความสำเร็จเป็นของตัวเองด้วย

ส่องตลาดงานปี 67 \'องค์กร\' หาคนเก่งดิจิทัล เอไอ \'แรงงาน\' ขอ Work Life Balance ดวงพร พรหมอ่อน

ปัจจัยหลักที่ทำให้ปฏิเสธงานทันที คือ ค่าตอบแทนและความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน และยังเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจรับข้อเสนองานเช่นเดียวกับผู้สมัครงานทั่วโลก ส่วนคุณค่าของการได้ร่วมงานกบัองคก์รที่มีชื่อชื่อเสียงหรือความหมายของงานเป็นข้อพิจารณาที่ใหค้วามสำคัญน้อยลงมา”

  • คนไทยลังเลกลับไปทำงานเต็มเวลาที่ออฟฟิศ

ดังนั้น รูปแบบการทำงานของผู้ประกอบการไทยจึงต้องปรับตัว โดยเฉพาะระบบทำงานเต็มเวลาที่สำนักงานหรือออฟิศ เพราะปัจจุบันจากผลสำรวจพบว่าบุคลากรมีการคำนึงถึงเวลาทางานที่มีความต้องการแบบ hybrid working สูงมากขึ้น ทั้งนี้ เจาะลึกผู้ตอบแบบสำรวจชาวไทย “ลังเล” ที่จะกลับไปทางานเต็มเวลาที่ออฟฟิศ โดยมีเพียง 22% เท่าน้ันที่ต้องการกลับไปทางานที่ออฟฟิศ ต่างจากทั่วโลกที่ผู้ตอบแบบสำรวจ 35% พร้อมทำงานเต็มเวลาที่ออฟฟิศมากกว่าทำงานที่บ้าน นอกจากนี้ คนไทย 69% ต้องการทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์ และ 21% ต้องการทำงานแบบพาร์ทไทม์

“ถ้าผู้ประกอบการกำลังมองหาวิธีดึงดูดผู้สมัครที่ตรงกับความต้องการ ต้องมีข้อเสนอที่ดี เงินเดือนและสิทธิประโยชนท์ที่ดีกว่าบริษัทเดิม ตำแหน่งงานที่สูงกว่า และทำให้ผู้สมัครงานเห็นว่าโอกาสก้าวหน้าในที่ทำงานดีกว่าเดิม”

  • ประสบการณ์สมัครงานไม่ดีขอบาย

นอกจากข้อเสนอที่ดีแล้ว ประสบการณ์ที่ดีในระหว่างกระบวนการสมัครงานและการ คัดเลือกเข้าทำงาาน วิธีการและช่องทางที่ผู้สมัครให้ความสนใจ และมีอิทธิพลในการตัดสินใจ หากผู้ประกอบการหรือองค์กรละเลยประเด็นดังกล่าว อาจเป็นข้อผิดพลาดได้ ดังนั้น การพฒันากระบวนการสรรหาที่ตรงกับความตอ้งการของแรงงานในปัจจบุันสามารถเพิ่มความโดดเด่นให้กับองค์กรได้ด้วย โดย 59% ของผู้ตอบแบบสำรวจพึงพอใจมาก หากข้ันตอนการสรรหา สมัครงานมีความราบรื่น มี ระยะเวลาที่เหมาะสม และ 35% มองว่าประสบการณเ์ชิงลบระหว่างการสมัครงานเป็นเหตุผลสาคัญที่ปฏิเสธงานแม้ข้อเสนอจะน่าสนใจก็ตาม

“แม้ผลสำรวจจะสามารถวิเคราะห์ได้ว่า ผู้สมัครงานจะมีอานาจต่อรองสูง มีโอกาสเลือกข้อเสนองาน แต่ผู้ประกอบการไม่ต้องวิตกกังวลกับข้อต่อรองต่างๆ ควรเปิดโอกาสให้เสนอและต่อรอง ให้พื้นที่และเวลาในการตัดสินใจแก่ผู้สมัครงานและติดต่อกลับเพื่อพูดคุยหลังจากนั้น ไม่ควรคิดว่ากระบวนสรรหาจบลงที่ขั้นตอนการเสนองานเท่านั้น”