SCB EIC เปิดเทรนด์อาหารมาแรงในโลก โอกาส ทางรอด แบรนด์ต้องรีบคว้า

SCB EIC เปิดเทรนด์อาหารมาแรงในโลก โอกาส ทางรอด แบรนด์ต้องรีบคว้า

สำรวจเทรนด์อาหารมาแรงในโลก จาก Economic Intelligence Center หรือ EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ ขุมทรัพย์แบรนด์ไทยต้องเร่งปรับตัว ชี้เทรนด์กลุ่มอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารเฉพาะบุคคล มาแรง แนะผู้ประกอบการ ร้านอาหารไทย พลิกธุรกิจสู่เทคโนโลยีเป็น Game changer ต้องเร่งทำ ก่อนสายไป

สำรวจตลาดอาหารในไทย เป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีผู้ประกอบการสนใจเปิดให้บริการ ร้านอาหาร แบรนด์ใหม่มากที่สุดในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะในปีนี้ 2566 โดยจาก LINE MAN Wongnai ระบุว่า มีผู้ประกอบการสนใจเปิดร้านอาหารใหม่จำนวนถึง 1 แสนราย แสดงถึงตลาดที่กำลังเติบโตและแข่งขันสูง  แต่การอยู่รอดในตลาดนี้ไม่ง่าย และเป็นเรื่องท้าท้ายของผู้ประกอบการทุกราย

“โชติกา ชุ่มมี” ผู้จัดการคลัสเตอร์สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการผลิต Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวในเวที Marketeer Forum – Turning Point จากวิกฤตโควิดในช่วงที่ผ่านมา และสถานการณ์สงครามในยูเครน เป็นสองเหตุการณ์สำคัญที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมและเครื่องดื่มทั่วโลกอย่างรุนแรงในวงกว้าง โดยเฉพาะประเทศที่นำเข้าอาหารในระดับสูง 

 

ทั้งนี้พบการเปลี่ยนแปลงในช่วงที่ผ่านมาคือ ผู้บริโภคมีความต้องการกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค (FMCG) ในบางประเภทสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน ทำให้มีการซื้อเพื่อกักตุน พบว่า สินค้าอุปกรณ์ทำความสะอาดเสื้อผ้า มีความต้องการเพิ่มขึ้น 48% กลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ 45% กลุ่มทำความสะอาดบ้าน 40%

กลุ่มผู้บริโภค 30% มีความกังวลที่จะเลือกไปออกซื้อสินค้านอกบ้าน โดยหันมาเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ 32% การเลือกดูโฮมสตรีมมิง 42% และการสั่งอาหารฟู้ด เดลิเวอรี่ 30% กลุ่มสินค้าที่มีการเลือกซื้อลดลง ได้แก่ กลุ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ 30% กลุ่มสินค้าลักชัวรี 27% กลุ่มอาหารสัตว์และซีฟู้ด 21% การลดไปทำกิจกรรมท่องเที่ยว 52% และลดทานอาหารนอกบ้าน 52%

 

SCB EIC เปิดเทรนด์อาหารมาแรงในโลก โอกาส ทางรอด แบรนด์ต้องรีบคว้า

โชติกา ชุ่มมี ผู้จัดการคลัสเตอร์สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการผลิต Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์

นอกจากนี้ จากโควิดยังทำเกิดจุดที่สำคัญ ทำให้ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนแนวคิดและพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอย โดยให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงิน Value for money มากขึ้น จากทั้งหมดจึงทำให้สรุปได้ว่า กลุ่มผู้บริโภคมีความต้องการทั้ง 1. กลุ่มอาหารที่มีความปลอดภัย (Food safety) การมีความสุขภาพที่ดีคือ และสร้างความมั่งคั่ง (Wealth) 2. ความมั่งคั่งทางอาหาร (Food security) เป็นกุญแจของความยั่งยืน 3. การเลือกซื้อสินค้าด้วยความคุ้มค่า (Value for money) 4. เทคโนโลยีเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ (Technology is gamechanger) และ 5. การเตรียมพร้อมรับมือความไม่แน่นอน (Prepare – Uncertainty)

“ในปัจจุบันผู้บริโภคทั่วโลก ต่างให้ความสำคัญและใส่ใจในเรื่อง อาหารการกินและ การดูแลสุขภาพมากขึ้น หลังจากโควิด 19”

SCB EIC เปิดเทรนด์อาหารมาแรงในโลก โอกาส ทางรอด แบรนด์ต้องรีบคว้า

เทรนด์ที่จะเห็นนับจากนี้ไปในกลุ่มอาหารได้แก่ 4 ด้านหลักได้แก่
1. Healthy Choices การปรับลดบริโภคอาหารที่มีวัตถุเจือปนและมีสารปรุงรส

โดยผู้บริโภคที่ใส่ใจเรื่องสุขภาพ ทำให้อาหารกลุ่มอินทรีย์ หรือ Organic Foods มีการเติบโตรวดเร็ว โดยในตลาดโลกกลุ่ม อาหารและเครื่องดื่มที่เป็น ออร์แกนิค มีการขยายตัวสูง 15% ในแต่ละปี คาดว่าในปี 2567 จะมีมูลค่าถึงระดับ 323.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากในปี 2559 มีมูลค่า 124.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ต่อมา ตลาด Plant-Based มีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็ว ได้รับแรงหนุนจากความต้องการอาหารเพื่อสุขภาพและมีความยั่งยืน โดยมีการประเมินว่า ภายในปี 2573 จะมีมูลค่า 162 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 451% จากปี 2563 มีมูลค่า 29 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ SCB EIC เปิดเทรนด์อาหารมาแรงในโลก โอกาส ทางรอด แบรนด์ต้องรีบคว้า

2. Personalized Choices การสร้างอาหารตอบโจทย์เฉพาะบุคคล

เป็นเทรนด์ในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ที่มีแนวโน้มเติบโตโดดเด่น มุ่งตอบโจทย์ ความต้องการเฉพาะบุคคล ที่แตกต่างจากสินค้าทั่วไปในตลาด ทำให้การบอกว่า One Size Fits All ไม่ใช่แนวทางอีกแล้ว ซึ่งจะมีการแบ่ง 1. ตามช่วงอายุ 2. กิจกรรมและวิถีชีวิต และ 3. พันธุกรรมและเงื่อนไขสุขภาพ

ในตลาดนี้ กลุ่มอาหารสำหรับผู้สุงอายุ Elderly choice เป็นเซ็กเมนต์ที่น่าจับตามอง จากกลุ่มผู้บริโภคที่เติบโตรวดเร็ว สอดรับกับเทรนด์การเข้าสู่ผู้สูงอายุในหลายประเทศ โดยตัวอย่างโอกาสกลุ่มสินค้าที่น่าสนใจ ทั้ง การวางแผนกลุ่มอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุช่วง 7 วัน

3. Convenience Choices ความสะดวกในการเลือกทานอาหาร 

เทรนด์นี้ เติบโตรวดเร็วในทั่วโลก จากวิถีของผู้คนที่ใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบมากขึ้น ทำให้อาหารกลุ่มที่ได้รับความสนใจ โดยได้รับแรงหนุนจากสังคมเมืองที่เติบโตมากขึ้น กลุ่มผู้หญิงที่เลือกทำงานนอกบ้าน การมีร้านค้าปลีกสมัยใหม่ขยายตัวรวดเร็ว การมีครอบครัวที่มีขนาดเล็กลง เป็นต้น ทั้งนี้ สินค้าที่จะตอบโจทย์ จึงมีทั้ง กลุ่มอาหารแช่เย็น และกลุ่มอาหารแช่แข็ง กลุ่มอาหารพร้อมปรุง และกลุ่มอาหารพร้อมทาน กลุ่มอาหารกระป๋อง และการเลือกซื้อกลับไปทานที่บ้าน เป็นต้น

อีกเทรนด์ที่พบในตลาดโลก คือ ธุรกิจการจัดส่งชุดวัตถุดิบอาหารสำหรับทำเองที่บ้าน หรือ Meat – kit delivery เป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตมากในต่างประเทศ จากตอบโจทย์ความสะดวกของผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคในเมือง และช่วยลดในเรื่อง Food waste อีกด้าน

4. Mindful Choices การบริโภคอย่างมีสติ และมีความรับผิดชอบ

เป็นหนึ่งใน Big trend ที่กำลังมาแรงในปัจจุบัน โดยพบว่า ผู้บริโภคทั่วโลก 90% จะเปลี่ยนไปเลือกแบรนด์ที่ดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมและ 88% จะยังคงสนับสนุนแบรนด์ที่ให้ความสนใจเรื่องสังคมและสิ่งแวดล้อม

กระตุ้นผู้ประกอบการปรับฉลากแสดงข้อมูล Carbon labels

อีกสิ่งสำคัญของผู้ประกอบการกลุ่มอาหารจะต้องตะหนักรู้คือ การปรับฉลากผลิตภัณฑ์ หรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับการปล่อย C02 ของสินค้า หรือ Carbon labels เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องให้ความสำคัญมากขึ้น เพื่อให้สอดรับกับผู้บริโภคทั่วโลกมุ่งให้ความสำคัญในเรื่องนี้

โดยที่ผ่านมา มีการสำรวจกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตอาหาร (From farm to cook) ส่งผลกระทบต่อโลกและสิ่งแวดล้อมอย่างมาก โดยเป็นตัวการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases : GHG) ออกสู่ชั้นบรรยากาศมากกว่า หนึ่งในสี่ ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดในทั่วโลก

SCB EIC เปิดเทรนด์อาหารมาแรงในโลก โอกาส ทางรอด แบรนด์ต้องรีบคว้า การปรับทำตลาดออนไลน์คือทางรอด

การทำตลาดออนไลน์ผ่านช่องทาง Social media ต่างๆ ไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นทางรอดของโลกในยุคดิจิทัล และจะทวีความสำคัญมากขึ้นในอนาคต เนื่องจากพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้าในปัจจุบัน จะใช้เวลาผ่านโลกออนไลน์ เฉลี่ยประมาณ 6.4 ชั่วโมงต่อวัน หรือคิดเป็นเวลา หนึ่งในสี่ของแต่ละวัน

อีกทั้งพบว่า 40% ของผู้บริโภคในปัจจุบัน รู้จักผลิตภัณฑ์อาหารจาก ดิจิทัล มีเดีย และการท่องโลกออนไลน์ ดังนั้นแบรนด์ควรวางแนวทางทั้ง การทำคอนเทนต์ มาร์เก็ตติ้ง การทำ SEO ที่มีประสิทธิภาพ และการทำตลาดผ่าน อีเมล์ 

ส่วนตลาดในประเทศไทย ผู้บริโภคใช้อินเตอร์เน็ต ราว 52.25 ล้านคน หรือประมาณ 73% ของจำนวนประชากรทั้งหมด ถือเป็น Active Social media users โดยข้อมูล ณ ม.ค.2566 พบว่า ประเทศไทยมีประชากรรวม 71.75 ล้านคน มีการใช้โทรศัพท์มือถือ 101.2 ล้านเครื่อง คิดเป็น 141% ของประชากรในประเทศ มีการใช้อินเตอร์เน็ต 61.21 ล้านคน คิดเป็น 85.3% ของประชากร และเป็นกลุ่มที่มีการแอคทีฟ ในโชเซียลมีเดีย 52.25 ล้านคน คิดเป็น 72.8% ของประชากร

SCB EIC เปิดเทรนด์อาหารมาแรงในโลก โอกาส ทางรอด แบรนด์ต้องรีบคว้า แนวทางควรทำการตลาดผ่าน อินฟลูเอนเซอร์ คือ กลยุทธ์การตลาดที่สำคัญในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะช่องทางการขายออนไลน์ โซเชียลมีเดียต่างๆ

ขณะที่กลุ่ม Online purchase และ delivery platform เป็นช่องทางที่มีความสำคัญอย่างมาก ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภค ยังทำให้เข้าถึงลูกค้าได้ตลอดเวลา และเพิ่มโอกาสขายสินค้า โดยกลุ่มนี้มีโอกาสเติบโต จากทั้งกลุ่มลูกค้ามินเลนเนียล การมีช่องทางเดลิเวอรี่และออปชั่นใหม่ๆ การสร้างตลาดลูกค้าแบบเฉพาะกลุ่ม การใช้เทคโนโลยี AR/VR การปรับไปสู่การชำระเงินผ่าน คริปโต และใช้ข้อมูล Big data analysis 

สำหรับความเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรมฟู้ดของโลก ได้เห็นบริษัท ไอบีเอ็ม จับมือกับ 10 บริษัทอาหาร ยักษ์ใหญ่ระดับโลก อาทิ วอลมาร์ท ยูนิลีเวอร์ ไทสัน เนสท์เล่ เป็นต้น ในการนำเทคโนโลยี บลอคเชน มาใช้เพื่อเพิ่มความสามารถตรวจสอบแบบย้อนกลับได้อย่างแม่นยำและชัดเจน 

อีกเทคโนโลยีท่น่าจับตามองอย่าง AI ช่วยทำให้การทำงานในฟาร์ม และบริหารโรงงานแปรรูปอาหารถูกสุขอนามัย ปลอดภัย มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงช่วยลดข้อผิดพลาด ลดต้นทุน และประหยัดเวลารวมถึง และ เทคโนโลยี 3D Printing กำลังเข้ามา ดิสรัป อุตสาหกรรมอาหารในโลก

อีกประเด็นที่น่าติดตามกับการมาของ LAB GROWN FOOD ที่เป็นอาหารสังเคราะห์ เป็นเซ็กเมนต์ที่โตมากขึ้นเรื่อยๆ มาจากกระบวนการผลิตไม่ทำร้ายโลกและคำนึงถึงสวัสดิการของสัตว์ ตอบโจทย์ลูกค้าในกลุ่ม กรีนคอนซูเมอร์ 

เป็นหลายเทรนด์ ของกลุ่มธุรกิจอาหารที่กำลังเติบโตในโลก ที่ผู้ประกอบการไทยต้องเตรียมพร้อม เพื่อสร้างการเติบโตครั้งใหม่ในอนาคต!