เปิดแนวคิด Gen 2 “สหฟาร์ม” ต่อยอดแบรนด์ พลิกฟื้นสู่ No.1 ส่งออกไก่สดแช่แข็ง

เปิดแนวคิด Gen 2 “สหฟาร์ม” ต่อยอดแบรนด์ พลิกฟื้นสู่ No.1 ส่งออกไก่สดแช่แข็ง

ไม่ง่ายที่การพลิกฟื้นธุรกิจครอบครัว ที่เคยต้องเข้าแผนฟื้นฟู และอยู่ในมือผู้บริหารอื่น ให้กลับมาเติบโตยิ่งใหญ่เหมือนในอดีต ตลอดช่วงกว่า 7 ปี ในแผนฟื้นฟูกิจการ รายได้ของ “สหฟาร์ม” แทบไม่มีการเติบโต

การพลิกฟื้นธุรกิจครอบครัว ที่เคยต้องเข้าแผนฟื้นฟู และอยู่ในมือผู้บริหารอื่น ให้กลับมาเติบโตยิ่งใหญ่เหมือนในอดีต “สหฟาร์ม” ที่เคยเป็นผู้ผลิตและส่งออกไก่สดแช่แข็งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ด้วยกำลังการผลิตมากกว่า 350,000-500,000 เมตริตัน ต่อปี ทั้งๆ ที่ตลอดช่วงกว่า 7 ปี ในแผนฟื้นฟูกิจการ รายได้ของ “สหฟาร์ม” แทบไม่มีการเติบโต

จนกระทั่งปี 2565 “ตระกูลโชติเทวัญ” ได้กลับเข้ามาบริหาร ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งออกจากแผนฟื้นฟูฯ “จารุวรรณ โชติเทวัญ” หรือ “น้ำผึ้ง” ลูกสาวคนเดียวของครอบครัว ทายาทเจน 2 ของ ดร.ปัญญา-ดร.มนูญศรี โชติเทวัญ ผู้ก่อตั้งสหฟาร์ม ก็เข้ามาทำหน้าที่นำทัพธุรกิจ

เปิดแนวคิด Gen 2 “สหฟาร์ม” ต่อยอดแบรนด์ พลิกฟื้นสู่ No.1 ส่งออกไก่สดแช่แข็ง

“จารุวรรณ” เล่าว่า หลังจากที่ครอบครัวได้กลับเข้าบริหารสหฟาร์มอีกครั้ง มีการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ โดยเธอเข้ารับตำแหน่ง ประธานสายบัญชี การเงิน และเลขานุการประธานกรรมการบริหาร บริษัท สหฟาร์ม จำกัด และยังทำหน้าที่ในตำแหน่ง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายบริหาร บริษัท สหฟาร์ม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ดูแลการตลาดต่างประเทศ ร่วมกับพี่ชายและน้องชายทั้ง 4 คนที่แยกย้ายกันไปรับผิดชอบหน้าที่ตามความถนัด

บุกเบิกและสร้างฟาร์มไก่อารมณ์ดี

ผู้บริหารหญิงคนนี้ ยังได้บุกเบิกและสร้างฟาร์มไก่อารมณ์ดี ต้นแบบการเลี้ยงไก่ในฟาร์มปิดวิถีใหม่ ที่เป็นแหล่งกำเนิดผลิตภัณฑ์ไก่ พรีเมียมแบรนด์ “PAULDY” ซึ่งเปิดตัวในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 สร้างแบรนด์ด้วยการทำตลาดออนไลน์

ในตำแหน่งหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย “จารุวรรณ” บอกเลยว่า ต้องการกอบกู้ชื่อเสียงและสร้างแบรนด์สหฟาร์มให้กลับมาผงาดเป็นเบอร์ 1 อีกครั้ง เหมือนตอนที่คุณพ่อ ดร.ปัญญา ได้บุกเบิกและสร้างไว้ หากแต่เส้นทางที่กว่าจะไปถึงจุดนั้นก็ไม่ง่ายนัก

หลังเข้ามาลุยตลาดส่งออกเต็มที่เมื่อธันวาคม 2566 สถานการณ์เศรษฐกิจโลกขณะนั้นยังไม่ดี มีปัญหาสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้ต้นทุนอาหารสัตว์เพิ่มขึ้น 20% ขณะที่ราคาอาหารสัตว์ลดลง 30% “จารุวรรณ” ลุยเต็มที่ ออกตลาดเจรจากับคู่ค้าด้วยตัวเอง จนสามารถเพิ่มสัดส่วนส่งออกไก่สดจาก 1.15 แสนตัน เป็น 1.7 แสนตัน เพิ่มขึ้น 47% ทำให้ยอดส่งออกมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มจาก 19% เป็น 25% ยอดการส่งออก 3 ไตรมาส ปี 2566 เพิ่มจาก 4.8 หมื่นตัน เป็น 8.6 หมื่นตัน และมียอดส่งออกไก่สดและไก่ปรุงสุกรวมกัน 1.1 แสนตัน ขึ้นเป็นอันดับ 1 ของประเทศในที่สุด

“น้ำผึ้ง” เล่าว่า หลังออกมาจากแผนฟื้นฟู สหฟาร์มยังต้องชำระหนี้ตามแผน และก็ยังไม่ได้เพิ่มธุรกิจใหม่ๆ เพียงแต่พยายามเพิ่มรายได้โดยพัฒนาศักยภาพการส่งออกให้ได้มากที่สุด เน้นไปที่เรื่องคุณภาพสินค้า การให้บริการ ที่เกินกว่ามาตรฐานกำหนด และที่สำคัญคือรักษาคำมั่นสัญญา หากตกลงกับผู้ซื้อไว้อย่างไร ก็ต้องทำให้ได้ตามนั่น สร้างให้เกิดความเชื่อมั่น และตัวผู้บริหารอย่างน้ำผึ้งก็คุยงานติดต่อ เดินทางไปพบและพูดคุยกับลูกค้าด้วยตัวเอง

สิ่งที่ผู้บริหารคนนี้เข้ามาพลิกฟื้น มีทั้งการลงทุนระบบและเครื่องจักร ใช้ทุกอย่างอย่างเต็มประสืทธิภาพที่สุด รวมมทั้งปรับเปลี่ยนทีมบริหารใหม่ ดึงผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านเข้ามาเสริม เปลี่ยนสูตรอาหารสัตว์ให้ดียิ่งขึ้น พัฒนาสูตรที่ตอบโจทย์ด้านสุขภาพที่ดี รวมทั้งพัฒนาศักยภาพแรงงานที่มีทักษะการตัดแต่งเนื้อไก่ได้ตรงตามสเปคที่ลูกค้าต้องการ

อีกหนึ่งปัจจัยของการบริหารธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ คือ การศึกษาความต้องการของลูกค้าในแต่ละประเทศที่มีความแตกต่างกัน บางที่ต้องการเนื้อสะโพก บางที่ต้องการอก ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการบริโภคของประชากรของแต่ละพื้นที่ เพราะฉะนั้น การคัดเลือกสินค้าให้ตรงกับสเปคความต้องการของลูกค้า จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก

“เราต้อง putting the right product in the right place ขายของก็ต้องขายให้กับคนที่เขาต้องการ ไม่งั้นมันจะไม่ได้ราคา ความต้องการของแต่ละประเทศต่างกัน มาตรฐานก็แตกต่าง เราต้องทำให้ได้ตามนั้น”

“จารุวรรณ” กล่าวอย่างภาคภูมิใจว่า เธอสามารถผลักดันยอดส่งออก จากช่วงแผนฟื้นฟูที่มีประมาณ 7,000-8,000 ตันต่อเดือน ขึ้นมาเป็น 17,000 ตันต่อเดือน เรียกว่าลุยเต็มที่จนฝ่ายผลิตต้องร้องขอชีวิตกันเลยทีเดียว

การบริหารจัดการตลาดในมือของ “จารุวรรณ” เริ่มเห็นผลชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ลูกค้าเก่ากลับมาพอสมควร และยังมีลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น ต่อจากนี้คือการเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุนให้ลูกค้าสามารถแข่งขันได้ โดยไม่ลดคุณภาพสินค้าซึ่ต้องทำให้ได้ดีมากกว่ามาตรฐาน

มองแผนโต ลุยตลาดต่างประเทศ

สเต็ปต่อไปของการเติบโต “จารุวรรณ” มองว่า ตลาดใหญ่ของสหฟาร์มคือตลาด B2B ในต่างประเทศ ซึ่งเป็นตลาดหลักของสหฟาร์มเกือบ 100% ในขณะที่ตลาดในประเทศก็มีความสำคัญมาก แต่มีรายใหญ่ที่ค่อนข้างแข็งแรงครองตลาดอยู่ การขยายกลับมาในตลาดในประเทศ ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่น่าสนใจ เพราะสินค้าไก่หนึ่งตัว ก็ไม่ได้ส่งออกได้ทั้งหมด และยังมีบางส่วนที่ไม่ผ่านมาตรฐานของแต่ละประเทศ ตรงนี้คือส่วนที่น่าจะนำกลับมาทำตลาดในประเทศได้ แต่ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับมุมมองของบอร์ดบริหารทั้งหมดด้วย

อีกแนวทางหนึ่งที่ “จารุวรรณ” มองและเริ่มลงมือทำไปแล้วคือ ตลาดในประเทศสำหรับผู้ใส่ใจด้านสุขภาพและการกินอยู่ที่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ผ่านโปรเจค “ฟาร์มไก่อารมณ์ดี” ต่อยอดจากสิ่งที่สหฟาร์มทำมา รวมทั้งแบรนด์ “PAULDY” แบรนด์พรีเมี่ยมที่ทำออกมาจำหน่ายแล้ว

“ฟาร์มไก่อารมณ์ดี” ถือเป็นอีกหนึ่งโปรเจคที่ถูกนำมาต่อยอด ไม่เพียงแค่การผลิตเนื้อได่สดพรีเมี่ยม แต่ยังขยายผลไปสู่การทำฟาร์มไก่ เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเด้กๆ ในโรงเรียน หรือทำเพื่อเป็นกิจกรรมในครอบครัว โดยโมเดล “ฟาร์มไก่อารมณ์ดี” จะมีทั้งบ้านไก่ พันธุ์ไก่ และอาหาร ด้วยเป้าหมายให้คนที่สนใจสร้างฟาร์มไก่อารมณ์ดีไว้กินไข่เองในบ้าน ทำให้ครอบครัวมีกิจกรรมทำร่วมกัน หรือโรงเรียนที่สนใจนำไปทำเป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับเด็กๆ

โมเดลนี้ ยังเป็นไพรอทโปรเจคที่อยู่ในช่วงทดลอง หากมีผู้สนใจ หรือโรงเรียนต่างๆ สนใจ “จารุวรรณ” ก็พร้อมต่อยอดเป็นอีกหนึ่งธุรกิจใหม่ทันที