ขุมทรัพย์แบรนด์เจาะแรงงานเมียนมาในไทย 6.8 ล้านคน มูลค่าศก.สูง 1.2 ล้านล้าน

ขุมทรัพย์แบรนด์เจาะแรงงานเมียนมาในไทย 6.8 ล้านคน มูลค่าศก.สูง 1.2 ล้านล้าน

MI GROUP เผยโอกาสทองธุรกิจไทย เจาะตลาดแรงงานชาวเมียนมาในไทยกว่า 6.8 ล้านคน เป็นกลุ่มที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง 1.2 ล้านล้านบาทต่อปี ขยายตัวทุกปี พร้อมนิยมเลือกซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคของไทย

Media Intelligence Group หรือ MI GROUP เอเยนซี่ไทย เปิดเผยผลวิจัยเจาะลึกข้อมูลกลุ่มแรงงานชาวเมียนมา ในหัวข้อ “ผ่าขุมทรัพย์แรงงานชาวเมียนมาในประเทศไทย” เพื่อชี้โอกาสของแบรนด์ไทยในการเจาะตลาดกลุ่มแรงงานชาวเมียนมาในไทย คาดการณ์ว่าจะมีจำนวนถึง 6.8 ล้านคน แบ่งเป็น แรงงานที่มีการจดทะเบียนอย่างถูกต้อง 1.8 ล้านคน โดยจากการสำรวจพบว่า แรงงานกลุ่มนี้ในไทย มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง 8.28 แสนล้านบาท จนถึงระดับ 1.2 ล้านล้านบาท/ปี ซึ่งการขยายตัวสูงในทุกปี

โอกาสของกลุ่มสินค้าไทย ที่เข้าไปทำตลาดในกลุ่มแรงงานชาวเมียนมา มีตั้งแต่กลุ่มซิมโทรศัพท์มือถือ กลุ่มลูกค้าสถาบันการเงิน กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน 

"ภวัต เรืองเดชวรชัย" ประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จํากัด หรือ MI GROUP กล่าวว่า MI BRIDGE และ MI Learn Lab ได้จัดทำสำรวจข้อมูลแรงงานชาวเมียนมาในไทย เป็นตลาดที่มีโอกาสมหาศาล และเป็นโอกาสให้แก่แบรนด์ ในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคและการบริการด้านการเงิน ร่วมวางกลยุทธ์การตลาด พร้อมพัฒนาสินค้า-การให้บริการเพื่อรองรับกลุ่มเมียนมาในไทยที่จะช่วยการเติบโตให้แก่แบรนด์ เพื่อสร้างการเติบโตให้กับแบรนด์ได้มากขึ้น

ทั้งนี้ กลุ่มแรงงานวางเป้าหมายทำงานในประเทศไทย 3 – 5 ปี เพื่อนำเงินกลับไปตั้งตัวและกลับไปใช้ชีวิตที่ประเทศเมียนมา แต่อีกครึ่งหนึ่งของกลุ่มสำรวจไม่ได้กำหนดระยะเวลา แต่มีเป้าหมายต้องการเก็บเงิน และเลือกทำงานล่วงเวลา หรือไม่ต่ำกว่า 6 วันต่อสัปดาห์ ส่วนกิจกรรมหลักในวันหยุดคือ คือ ‘จับจ่ายซื้อของ’ และ ‘เล่นอินเทอร์เน็ต

"วิชิต คุณคงคาพันธ์"  Head of International Business Development, MI GROUP เผยข้อมูลรายงานฉบับนี้ว่า กลุ่มแรงงานเมียนา จะมีพฤติกรรมการใช้จ่ายในไทยแบ่งเป็น การใช้จ่าย 56% โดยเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน 37% ค่าที่อยู่อาศัย 16% ค่าโทรศัพท์ 3% ส่วนการเก็บเงิน จะอยู่ที่ 44% ซึ่งแบ่งเป็น ส่งเงินกลับเมียนมา 28% โดยเป็นการส่งเงินให้พ่อแม่, ลูก ที่อาศัยอยู่ที่เมียนมา เพื่อให้ครอบครัวที่เมียนมาได้มีเงินใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน  และเก็บออมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์

พร้อมให้นายหน้าเป็นผู้ดำเนินการส่งเงินไปให้ครอบครัวที่เมียนมา พร้อมเงินเก็บที่ตัวเอง 16% ส่วนใหญ่เก็บเป็นเงินสดและฝากธนาคาร โดย 56% ของกลุ่มตัวอย่างมีบัญชีธนาคารในไทยและ 32% ของกลุ่มตัวอย่างมี Mobile banking เพื่อทำธุรกรรมการโอนในประเทศเป็นหลัก

สำหรับการทำงานอยู่ในไทย รายได้เฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างอยู่ที่ 10,000 – 15,000 บาทต่อเดือน หรือวันละประมาณ 300-500 บาท คิดเป็น 3 – 15 เท่าของเงินเดือนขณะที่อยู่ในประเทศเมียนมา โดยคนไทย ทำงาน 8 ชั่วโมง หรือ 5 วันต่อสัปดาห์ เฉลี่ย เมียนมา ทำงานวันละ 10 ชั่วโมง ส่วนในวันหยุดจะเน้นการ เลือกซื้อสินค้าและ เล่น อินเตอร์เน็ต

ช่วงชีวิตของคนเมียนมาที่อยู่ในไทย ตั้งหลัก ตั้งตัว ตั้งใจ

  • ตั้งหลัก เดินทางมาถึงประเทศไทย การเลือกซื้อซิมการ์ด การเลือกเช่าที่อยู่อาศัย การเลือกซื้อเครืองแต่งกาย ของใช้ส่วนตัว และเครื่องสำอาง
  • การตั้งตัว เข้ามาขอใบอนุญาต ทำงาน และเปิดบัญชีเงินฝาก พร้อมมีการเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น หม้อหุงข้าว พัดลม การเลือกซื้อโทรศัพท์ ราคา 4,000-13,000 บาท สินค้าแฟชั่น สกินแคร์ สินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป และทอง
  • ตั้งใจ การติดต่อครอบครัว ต้องส่งเงิน และโอนเงินข้ามประเทศ การเลือกซื้อสินค้า ยา อาหารเสริม รังนก เครื่องแต่งกาย ของใช้อุปโภค และเครื่องใช้ไฟฟ้า พร้อมนิยมเก็บทอง ซื้อสะสม 16,000-80,000 บาท

สื่อหลักที่ชาวเมียนมา นิยมรับจะเป็น Facebook มากที่สุด และนิยมใช้ Facebook messaging ในการติดต่อสื่อสารกับครอบครัว ส่วนการใช้ Line ในการพูดคุยกับผู้ประกอบการไทย

สำหรับการเข้ามาทำงานในไทย 56% ของกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในการใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทนระดับปานกลาง เนื่องจากต้องการทำงานเก็บเงิน และไม่ได้ใช้ชีวิตตามแบบที่ชอบ 30% พอใจใช้ชีวิตในไทย ความทันสมัย ความสงบ บันเทิง

19% ไม่พอใจเท่าใดนัก เรื่องภาษา 2-3 ปีเรียนภาษาไทย เพื่อให้คุ้นเคย สังคม คนต่างถิ่น เกิดการแบ่งชนชั้น เมียนมาคนหลากหลาย ชาติพันธุ์ มีปัญหาในเรื่องสังคมเหมือนกัน ใบอนุญาตทำงานไม่สะดวกมากนัก เป็นปัญหาไม่ค่อยแฮปปี้ในไทย

แนวทางการทำตลาดของแบรนด์ไทย ที่จะเจาะตลาดกลุ่มลูกค้าเมียนมาที่อยู่ในไทย ควรมุ่งนำเสนอทั้งในเรื่อง Trust และ Convenience โดยควรมีการทำเพจสื่อสารเป็นภาษาเมียนมา เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย พร้อมสามารถเลือกดึง KOL และเพจชาวเมียนมาที่มีการสอนภาษาไทย มาร่วมทำการตลาดให้แบรนด์ได้ ทั้งนี้ควรวางกลยุทธ์ ทั้ง Affordable จับต้องได้ Accessible เข้าถึงได้ Understanding เข้าใจได้ และ Trustable เชื่อถือได้

นอกจากนี้อีกสิ่งที่พบคือ ชาวเมียนมาในยุคต่อไป ที่จะเข้ามาไทยจะเป็นกลุ่มคนที่มีรายได้ระดับสูง และมีความสามารถทางภาษาที่หลากหลาย จึงแสดงถึงโอกาสของตลาดเมียนมาในไทยที่มีมากขึ้น

อีกสิ่งที่น่าติดตามคือ การเข้ามาทำงานของชาวเมียนมาในไทย ที่มีจำนวนมหาศาล จึงเริ่มเห็นเทรนด์ผู้ประกอบการชาวเมียนมา เข้ามาลงทุนธุรกิจในไทย ตั้งแต่การเปิดร้านค้า และเปิดร้านอาหารเมียนมา เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าเมียนมาในไทย รวมถึงมีการร่วมทุนกับผู้ประกอบการไทยด้วย 

"พฤติกรรมการใช้เงิน เมื่อเชื่อมโยงกับการบริโภคสื่อของแรงงานชาวเมียนมาที่เน้นการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ เพื่อติดตามละคร ภาพยนตร์ และรายการต่างๆ ประมาณ 97% ดูข่าวและอ่านข่าวสารบ้านเมือง 87% ฟังวิทยุและฟังเพลง 48% ข้อมูลส่วนหนึ่งที่น่าสนใจพบว่า 74% ของกลุ่มตัวอย่างนี้ใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ ในการซื้อของ โดย Lazada เป็นช่องทางอันดับหนึ่ง รองลงมาตามลำดับ คือ Facebook, Shopee และ TikTok"

อย่างไรก็ตาม หากในอนาคต รัฐบาลปรับค่าแรงขึ้นวันละ 400 บาท เชื่อว่าจะเป็นโอกาสของแรงงานชาวเมียนมาในไทยอย่างมาก 

สำหรับการสำรวจในครั้งนี้ ได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกับชาวเมียนมาที่ทำงานในไทยจำนวน 50 คน และทำแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 212 คน