วัน แบงค็อก ชูต้นแบบกรีนสมาร์ทซิตี้ มุ่งยั่งยืนทุกมิติ เปิดเฟสแรกปลายปี 67

วัน แบงค็อก ชูต้นแบบกรีนสมาร์ทซิตี้  มุ่งยั่งยืนทุกมิติ เปิดเฟสแรกปลายปี 67

'วัน แบงค็อก' มูลค่าลงทุน 1.20 แสนล้านบาท เดินหน้าสร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์สู่ความยั่งยืนทุกมิติ ชูต้นแบบ “กรีนสมาร์ทซิตี้” มุ่งเป้าโครงการแรกที่ได้รับมาตรฐาน LEED for Neighborhood development เทคโนโลยีนวัตกรรมที่ล้ำสมัยสุด พร้อมเปิดให้บริการเฟสแรกปลายปี 2567

โครงการแลนด์เมกะโปรเจกต์ขนาดใหญ่ใจกลางเมืองกับ “วัน แบงค็อก” (One Bangkok) โครงการอสังหาริมทรัพย์ มูลค่าการลงทุนกว่า 1.20 แสนล้านบาท พื้นที่กว่า 108 ไร่ บริเวณริมถนนวิทยุ และพระราม 4 เป็นอภิมหาโปรเจ็กต์ที่ยิ่งใหญ่ของไทยในหลายรอบปี จากโครงการที่มีทั้ง สำนักงานและศูนย์การค้า โรงแรม ศูนย์แสดงนิทรรศการแลละจัดกิจกรรมระดับโลก แหล่งรวมศิลปะวัฒนธรรม พร้อมเปิดโฉมอย่างเป็นทางการเฟสแรกตั้งแต่ช่วงปลายปี 2567 เป็นต้นไป

สำหรับ วัน แบงค็อก เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างบริษัท ทีซีซี แอสเซ็ท (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ธุรกิจในเครือของกลุ่มเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี

นายปณต สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด กล่าวในงาน Sustainability Expo 2023 “พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก” หัวข้อเสวนา The Future of Sustainability & Smart City Living for Better Community ความยั่งยืนและการใช้ชีวิตในสมาร์ทซิตี้ เพื่ออนาคตที่ดีกว่าของชุมชนว่า โครงการวัน แบงค็อก เป็นโครงการต้นแบบกรีนสมาร์ท ซิตี้

ที่ร่วมสร้างเทคโนโลยีอัจฉริยะ เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมยั่งยืน และเป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์แรกในไทยที่มุ่งสร้างความยั่งยืนในทุกมิติ ภายใต้แนวคิด The Heart of Bangkok เมืองที่ยึดเอา หัวใจของผู้คนเป็นศูนย์กลาง

 

วัน แบงค็อก ชูต้นแบบกรีนสมาร์ทซิตี้  มุ่งยั่งยืนทุกมิติ เปิดเฟสแรกปลายปี 67

แนวทางการออกแบบได้รวมทั้ง Smart City และ Smart Living ไว้ด้วยกัน ซึ่งได้ออกแบบพื้นที่โครงการที่มีอยู่108ไร่ ได้จัดทำเป็นพื้นที่สาธารณะที่เปิดโล่งและมีพื้นที่สีเขียวถึง50ไร่ รวมถึงมุ่งพัฒนาให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน LEED for Neighborhood Development ระดับ Platinum แห่งแรกในประเทศไทย และมาตรฐานรับรองอาคาร WELL เพื่อสุขอนามัยและความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ทั้งหมดสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ Inspiring experience.Creating places for good  ของเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ซึ่งมุ่งมั่นต่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างผลลัพธ์ในด้านบวกต่อผู้คน การร่วมพัฒนาเมืองและสังคม ร่วมสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ การสร้างรากฐานที่แข็งแรง และเดินหน้าอย่างยั่งยืน

วัน แบงค็อก ชูต้นแบบกรีนสมาร์ทซิตี้  มุ่งยั่งยืนทุกมิติ เปิดเฟสแรกปลายปี 67

ไฮไลต์สำคัญของโครงการได้รวบรวมนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน เพื่อร่วมลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมใน 3 ด้านสำคัญ ประกอบด้วย

  • Smart Technologies ศูนย์กลางของระบบอัจฉริยะ ได้จัดทำ Central Utility Plant (CUP) เป็นอาคารรวมศูนย์สุดล้ำสมัยที่รวมทำงานทุกระบบไว้ในที่เดียว ทำให้การบริหารและจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพตลอด 24ชั่วโมง ทั้งมี District Command Center หรือศูนย์บัญชาการกลางพร้อมเจ้าหน้าที่ควบคุม บริหารจัดการ และทำงานร่วมกับแพลตฟอร์ม Smart Estate พร้อมใช้ระบบAIร่วมเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการระบบการใช้น้ำและพลังงานไฟฟ้าของโครงการ มีการติดตั้งระบบเซ็นเซอร์และจุดควบคุมอัจฉริยะกว่า 250,000 ตัว มีกล้องวงจรปิดกว่า 5,000 จุด สามารถตรวจสอบและบันทึกข้อมูลแบบเรียลไทม์ การมีระบบ Traffic Control ตรวจสอบและรายงานสภาพการจราจรภายในโครงการ การใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ ครอบคลุมทุกพื้นที่เป็นโครงการแรกในไทย ที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน WiredScore Platinumซึ่งเป็นมาตรฐานสูงสุดจาก WiredScore เพื่อสร้างความมั่นใจในผู้ใช้อาคารในการเชื่อมโยงดิจิทัล (Digital Connectivity)
  • Sustainable Development วางแนวคิดพัฒนาสอดคล้องกับSustainable Development Goals:SDGsโดยการพัฒนาแบบยั่งยืนตามแนวทางของสหประชาชาติ โดยอาคารได้วางเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อช่วยประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความโดดเด่นทั้ง Electric Power Saver ระบบกักเก็บไฟฟ้าสำรองเพื่อการใช้งาน 24 ชั่วโมงและบริหารจัดการการใช้ไฟฟ้าให้คุ้มค่าสูงสุด District Cooling System ระบบปรับอากาศแบบรวมศูนย์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการส่งพลังงานและลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกSmart Water Managementระบบบริหารจัดการน้ำแบบหมุนเวียนร่วมตรวจสอบคุณภาพน้ำ และใช้เทคโนโลยีบำบัดน้ำเสียเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดConstruction Waste Managementมุ่งลดขยะจากการก่อสร้างกว่า 75% กลับมาใช้ใหม่ และรีไซเคิล การใช้เทคโนโลยีบดย่อยเศษขยะคอนกรีตจากหัวเสาเข็มเพื่อนำไปสร้างผนังอาคาร การนำเศษอิฐมวลเบาที่เหลือใช้จากการก่อสร้างมาผลิตเป็นแผ่นผนังกันเสียงในอุโมงค์ทางลอดเข้าโครงการ และFood Waste Managementเทคโนโลยีจัดการเปลี่ยนขยะเศษอาหารให้กลายเป็นปุ๋ย เป็นต้น
  • Unparalleled Experiences in One Bangkok การออกแบบให้มีพื้นที่เปิดโล่งและพื้นที่สีเขียวกว่า 50 ไร่ คิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทั้งหมดของโครงการ เป็นจุดพักผ่อนใจกลางเมือง และเป็นพื้นที่สันทนาการ รวมทั้งมีสวนสาธารณะแนวยาว (Linear Park) ขนาดกว้างจากทางเท้าถึงหน้าโครงการถึง35 – 45 เมตร อยู่ระหว่างสวนลุมพินีและสวนเบญจกิติสอดคล้องแนวคิด 15-Minute Walking City เป็นเทรนด์ใหม่ของการพัฒนาเมืองที่ใส่ใจคุณภาพชีวิตของผู้คน และมี Art Loopรอบโครงการกว่า2กิโลเมตร ที่เชื่อมโยงด้านงานศิลปะสาธารณะ พร้อมเปิดเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้และความคิดสร้างสรรค์ของทุกคน

“บริษัทมุ่งพัฒนาโครงอสังหาริมทรัพย์ที่มุ่งไปสู่การสร้างความยั่งยืน เนื่องจากภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในโลก สร้างผลกระทบต่อภาวะเรือนกระจกถึง 40% โดยที่ผ่านมาทำให้บริษัทปรับแนวทางการพัฒนาพื้นที่ภายใต้แนวคิด real estate as a service การสร้างพื้นที่แล้ว การให้บริการอย่างลึกซึ่ง และเข้าถึงผู้ใช้ เป็นหัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน พร้อมมุ่งสร้างความยั่งยืนทุกรูปแบบให้ครบวงจร”

วัน แบงค็อก ชูต้นแบบกรีนสมาร์ทซิตี้  มุ่งยั่งยืนทุกมิติ เปิดเฟสแรกปลายปี 67

อีกทั้งได้ผสมผสานแนวทางการพัฒนาแบบ Inclusive space กับการสร้างพื้นที่เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้ามาใช้พื้นที่ได้กับการเปิดพื้นที่สีเขียวด้านหน้า ตามแนวทางการอยู่ร่วมกับสังคมและชุมชนโดยรอบได้อย่างดี สำหรับโครงการ วัน แบงค็อก มีกำหนดเปิดให้บริการเฟสแรกในช่วงปลายปี 2567

เอกชนตื่นตัวเคลื่อนองค์กรยั่งยืน

นายวราวุธ ศิลปะอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า ในปัจจุบันภาคเอกชนไทยกำลังตื่นตัวในเรื่องความยั่งยืน (Sustainability) ได้มุ่งปรับการบริหารองค์กรภายใน และได้วางแนวทางขับเคลื่อนตาม สหประชาชาติ ได้กำหนดไว้ 17 ข้อด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีในการมุ่งด้านนี้ สอดคล้องกับภาครัฐกำลังเร่งขับเคลื่อนและวางนโยบายต่างๆ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศ ซึ่งหากมีความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และคนในประเทศกว่า 66 ล้านคน สามารถสร้างประเทศไทยไปสู่ความยั่งยืน และการร่วมมือในเรื่องลดโลกร้อนได้สำเร็จตามแผน

แนะรัฐเอกชนผนึกร่วมมือ

นายเรอโน เมเยอร์ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP Resident Representative to Thailand) กล่าวว่า จากวิกฤติภาวะโลกร้อนที่มีความรุนแรงมากขึ้นในทุกปี การทำให้เร่งปรับนโยบายไปสู่ความยั่งยืนมีความจำเป็นต่อในทุกองค์กร และต้องเร่งดำเนินการอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะการผลักดันสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน พร้อมสามารถดำเนินการขับเคลื่อนให้สอดคล้องกับ ความยั่งยืนที่สหประชาชาติ (UN) ที่ได้กำหนดไว้ใน 17 ข้อที่สำคัญ จะร่วมพลิกโฉมภาคธุรกิจ สังคม และผู้คน รวมถึงเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อม

ดูแลสิ่งแวดล้อมเรื่องใกล้ตัว 

นางสาวเข็มอัปสร สิริสุขะ นักสิ่งแวดล้อมและนักธุรกิจเพื่อสังคมย้ำถึงแนวทาง การร่วมมือดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคนที่สามารถเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่ การดูแลเรื่องพลังงาน ในการใช้ไฟที่สามารถเริ่มตั้งแต่การ ปิดไฟและถอดปลั๊กไฟอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกอย่างเมื่อไม่มีการใช้งานแล้ว การใช้น้ำ ต้องใช้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด การเดินทาง สามารถปรับมาใช้ขนส่งสาธารณะหากมีความสะดวก และการร่วมมือลดใช้สิ่งของที่ก่อให้เกิดขยะ โดยปรับมาใช้ของที่สามารถใช้อย่างหมุนเวียนได้ เช่น การใช้เสื้อผ้าที่มีอายุการใช้นานแบบยาวนาน และมีความทนทาน

อย่างไรก็ตาม การจัดงาน Sustainability Expo 2023 (SX 2023) มหกรรมด้านความยั่งยืนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ จัดขึ้นแล้วตั้งแต่วันนี้ - 8 ตุลาคม 2566 โดยกลุ่ม เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ได้ร่วมจัด One Bangkok Immersive Pavilion ได้นำเสนอทุกรายละเอียดของโครงการอสังหาริมทรัพย์ระดับโลกที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนครอบคลุมในทุกมิติ

อีกทั้งในงานมีการเสวนาพิเศษทั้งหัวข้อ “The Future of Sustainability and Smart City Living for Better Community” และ “Masterplan Design for Smart Sustainable Cities” เพื่อร่วมผลักดันสร้างอนาคตที่ยั่งยืนของ กรุงเทพฯ และกระตุ้นให้ภาคเอกชนไทย ผู้คนในประเทศให้ความสำคัญและตื่นตัวสร้างความยั่งยืน พร้อมร่วมมือในการดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน