‘ททท.’ ขยับเก้าอี้ 5 ขุนพล ผู้บริหารระดับ ‘รองผู้ว่าการ’ มีผล 1 ต.ค. 2566

‘ททท.’ ขยับเก้าอี้ 5 ขุนพล ผู้บริหารระดับ ‘รองผู้ว่าการ’ มีผล 1 ต.ค. 2566

'การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย' (ททท.) เปลี่ยนแปลงผู้บริหารระดับ 'รองผู้ว่าการ' จำนวน 5 ตำแหน่ง มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป

รายงานข่าวจาก ททท. ระบุว่า ททท. ได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารระดับ “รองผู้ว่าการ” ของ ททท. จำนวนรวม 5 ตำแหน่ง มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป

 

รายชื่อผู้บริหารที่มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง 3 ตำแหน่ง ดังนี้

1. นายฉัททันต์ กุญชร ณ อยุธยา ดำรงตำแหน่ง รองผู้ว่าการด้านตลาดเอเชีย และแปซิฟิกใต้

‘ททท.’ ขยับเก้าอี้ 5 ขุนพล ผู้บริหารระดับ ‘รองผู้ว่าการ’ มีผล 1 ต.ค. 2566


2. นางสาวสมฤดี จิตรจง            ดำรงตำแหน่ง รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ

‘ททท.’ ขยับเก้าอี้ 5 ขุนพล ผู้บริหารระดับ ‘รองผู้ว่าการ’ มีผล 1 ต.ค. 2566


3. นายนิธี สีแพร                     ดำรงตำแหน่ง รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด

‘ททท.’ ขยับเก้าอี้ 5 ขุนพล ผู้บริหารระดับ ‘รองผู้ว่าการ’ มีผล 1 ต.ค. 2566

รายชื่อผู้บริหารที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการ 2 ตำแหน่ง ดังนี้ 

1. นางรุจิรัศมิ์ ฉัตรเฉลิมกิจ          ดำรงตำแหน่ง รองผู้ว่าการด้านบริหาร

‘ททท.’ ขยับเก้าอี้ 5 ขุนพล ผู้บริหารระดับ ‘รองผู้ว่าการ’ มีผล 1 ต.ค. 2566


2. นายธีระศิลป์ เทเพนทร์           ดำรงตำแหน่ง รองผู้ว่าการด้านดิจิทัล วิจัย และพัฒนา

‘ททท.’ ขยับเก้าอี้ 5 ขุนพล ผู้บริหารระดับ ‘รองผู้ว่าการ’ มีผล 1 ต.ค. 2566

โดยมีรายชื่อผู้บริหารระดับสูงที่ยังคงดำรงตำแหน่งเดิม ดังนี้

นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์         
ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

นายศิริปกรณ์ เชี่ยวสมุทร                
รองผู้ว่าการด้านตลาดยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง และอเมริกา

นางน้ำฝน บุณยะวัฒน์                     
รองผู้ว่าการด้านนโยบายและแผน

นายอภิชัย ฉัตรเฉลิมกิจ                   
รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว

 

ททท. มุ่งมั่นดำเนินการตลาดการท่องเที่ยวตามแผนวิสาหกิจองค์กร ททท. พ.ศ. 2566 – 2570 ภายใต้วิสัยทัศน์ “ททท. เป็นผู้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทยในการสร้างประสบการณ์ทรงคุณค่า และมุ่งสู่ความยั่งยืน” เตรียมยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูในทุกมิติ ตาม 3 วัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์หลัก (Strategic Objective) ได้แก่ Drive Demand : มุ่งเน้นการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพอย่างยั่งยืน  Shape Supply : สร้างคุณค่า และยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ผ่านการสร้างระบบนิเวศน์ด้านการท่องเที่ยวใหม่ (New Tourism Ecosystem) และ Strive for Excellence : ยกระดับองค์กรสู่องค์กรสมรรถนะสูง มุ่งสู่การเป็น Data Driven Organization เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการตลาด สู่จุดหมายของการพัฒนาการท่องเที่ยวไทยเปลี่ยนผ่านสู่ High Value & Sustainable Tourism

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์