สงคราม 'อีคอมเมิร์ซ' เป็นมากกว่าแย่งยอดขาย แต่คือศึกชิง Data ธุรกรรมนักช้อป

สงคราม 'อีคอมเมิร์ซ' เป็นมากกว่าแย่งยอดขาย แต่คือศึกชิง Data ธุรกรรมนักช้อป

สงครามการค้าออนไลน์ เป็นมากกว่าการแก่งแย่งอำนาจซื้อของลูกค้า แต่ยุคนี้คือการรู้ Insgiht นักช้อป เก็บข้อมูลหรือ Data พฤติกรรมต่างๆของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้รบร้อยครั้งชนะต้องมากกว่าแพ้ depa ไพรซ์ซ่า ไวซ์ไซท์ ปั้น Etailligence หวังรู้จักขาช้อปชาวไทยต่อยอดธุรกิจ

เมื่อเร็วๆนี้ บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้เดินหน้าสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กหรือเอสเอ็มอี ที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทย พร้อมจับมือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(depa) และแพลตฟอร์ม Etailligence อีคอมเมิร์ซน้องใหม่ ที่กำลังจะให้บริการแก่ผู้ประกอบการคนไทย

รวมถึงการร่วมมือกับ ZWIZ.AI ในการเปิดตัวทีม “ZOCIAL EYE TRAINER” หรือผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องมือ ZOCIAL EYE ที่จะมาช่วยธุรกิจปลดล็อกศักยภาพการใช้งานข้อมูล และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในยุคดิจิทัล

ในงานยังมีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับ “สงครามข้อมูล” หรือ Data ที่โลกกำลังแก่งแย่งรู้ “Insight” ของพลเมืองดิจิทัล และหาทาง “สกัดคู่แข่ง” ผ่านการแบนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ โดยเฉพาะจาก 2 ขั้ว “มหาอำนาจ” สหรัฐ VS จีน

ย้อนกลับมามองตลาดอีคอมเมิร์ซเมืองไทย คือสมรภูมิของ “ยักษ์ข้ามชาติ” เพราะผู้เล่นที่มีบทบาท ได้แก่ Shopee และ LAZADA ทำให้ข้อมูลการซื้อขายสินค้าหรือชอปปิงของผู้บริโภค ถูกเก็บไว้เรียบร้อยแล้ว ทำให้ทุนไทย ผู้ประกอบการเทคคัมปะนี ที่มีความรู้ต้องการปั้นอีคอมเมิร์ซ “Etailligence” ไม่เพียงให้เปิดพื้นที่ให้ผู้ประกอบการไทย แต่ยังรู้จักผู้บริโภคและเก็บข้อมูลไว้ให้ต่อยอดประโยชน์ได้ด้วย

  • ปี 2570 อีคอมเมิร์ซไทยแตะ 1.6 ล้านล้านบาท

ธนาวัฒน์ มาลาบุปผา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ร่วมก่อตั้ง Priceza ที่ปรึกษา และนายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย (THECA) ฉายภาพว่า ตลาดชอปปิงออนไลนื จะอีคอมเมิร์ซ โซเชียลคอมเมิร์ชเริ่มวิ่งเข้าหากันมากขึ้น พ่อค้าแม่ขายออนไลน์ต้องการใช้งานเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ตลอดจนพฤติกรรมผู้บริโภคที่ชอบซื้อสินค้าโลกออนไลน์ จึงคาดการณ์ตัวเลขตลาดอีคอมเมิร์ซจะทยานสู่มูลค่า 1.6 ล้านล้านบาท ภายในปี 2570 จากปี 2563 มูลค่าอยู่ที่ 9.32 แสนล้านบาท เติบโตราว 14% จากปีก่อน

สงคราม \'อีคอมเมิร์ซ\' เป็นมากกว่าแย่งยอดขาย แต่คือศึกชิง Data ธุรกรรมนักช้อป ทว่า สิ่งที่น่าสนใจเมื่อตลาดขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ธุรกรรม(Transaction) ที่เกิดขึ้นล้วนผูกอยู่กับแพลตฟอร์มของต่างชาติแทบทั้งสิ้น

ทั้งนี้ ข้อมูลการช้อปผ่านอี-มาร์เก็ตเพลส สัดส่วนถึง 51% เพิ่มจากปี 2563 อยู่ที่ 31% และเป็นโซเชียลคอมเมิร์ซ 22% (ทั้งเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ติ๊กต๊อก ไลน์ ทวิตเตอร์ ฯ ) ฟู้ดเดลิเวอรี และซูเปอร์แอ๊ป(แกร๊บ ไลน์แมน ออล ออนไลน์ โรบินฮู้ด ฯ ) ค้าปลีก 4% (เซ็นทรัล วัตสัน บิ๊กซี โฮมโปร ฯ) เป็นต้น

ข้อมูลกองอยู่ที่แพลตฟอร์มต่างประเทศ ทำให้ที่ผ่านมา สมาคมฯมีความพยายามหารือกับนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ดำเนินนโนบายที่เอื้อประโยชน์ด้านข้อมูลการทำธุรกรรม ครั้นจะปั้นอีคอมเมิร์ซสัญชาติไทยแข่ง ต้องใช้เงินลงทุนมหาศาลและ “ช้าไป” กลับกันตลาดดังกล่าวยังมีกระบวนท่าอีกมากมายให้เล่น

  • อย่าปล่อยให้ทุนข้ามชาติกุม Data ธุรกรรมนักชอปไทย 

“ตอนนี้ Data การทำธุรกรรมชอปปิงออนไลน์ ผูกกับแพลตฟอร์มต่างชาติ หากมองเมกะเทรนด์ใหญ่ และปัญหาที่เกิดขึ้นในเชิงภูมิรัฐศาสตร์โลก จะเห็นว่าการที่คนอเมริกันใช้ TikTok ถึง 150 ล้านคน จนซีอีโอต้องถูกเรียกสอบโดยทางการสหรัฐ เพราะแพลตฟอร์จีนกำลังรู้พฤติกรรมคนอเมริกันถึงร้อยล้านคน เป็นปัญหาระดับโลก ไม่ใช่แค่ปัญหาของสหรัฐ เพราะตีความว่าพฤติกรรมคนอเมริกันผูกกับแพลตฟอร์มชาติจีน”

เช่นเดียวกับไทยที่ราว 2 ล้านล้านธุรกรรม ถูกผูกไว้ที่แพลตฟอร์มจีน หากอยากให้พฤติกรรม ธุรกรรมชอปปิงของคนไทยมาผูกที่แพลตฟอร์มไทยบ้างย่อมเป็นเรื่องดี เพื่อให้สร้างประโยชน์กับผู้คน ภาคธุรกิจ ไม่ใช่แค่เอื้อต่อการจัดเก็บภาษีของภาครัฐเท่านั้น

สงคราม \'อีคอมเมิร์ซ\' เป็นมากกว่าแย่งยอดขาย แต่คือศึกชิง Data ธุรกรรมนักช้อป “เราต้องการรวมข้อมูลจากหลายแพลตฟอร์มให้มีพลัง เมื่อโลกชอปปิงอีคอมเมิร์ซและโซเชียลคอมเมิร์ซเข้าหากัน จึงต้องการรู้ทุกวันนี้คนไทยซื้ออะไร สินค้าตัวไหน เอสเคยูหรือรายการใด ยี่ห้ออะไร ราคาเท่าไหร่ฯ การเก็บดาต้าเหล่านี้เพื่อ Empower ให้กับแบรนด์ทำตลาดขายสินค้าผ่านอีคอมเมิร์ซได้ดีขึ้น”

  • depa ไพรซ์ซ่า ไวซ์ไซท์ รวมพลังปั้นอีคอมเมิร์ซสัญชาติไทย 

ดังนั้น ไพรซ์ซ่า จึงร่วมกับภาครัฐทั้ง depa และไวซ์ไซท์ ปั้น “Etailligence” เพื่อสานภารกิจสำคัญในการเข้าถึงข้อมูลการชอปปิงคนไทย โดยแพลตฟอร์มสัญชาติไทย ทั้งหา Indight ตลาด วิเคราะห์ข้อมูล พฤติกรรมลูกค้าให้แก่ร้านค้า สามารถมีมาตรฐาน(Benchmark)เทียบเท่าคู่แข่ง รู้ว่าเองเป็นเบอร์ไหนในตลาด ต้องออกอาวุธ ขับเคี่ยวหนักแค่ไหนจึงจะไล่ตามคู่แข่งได้ เพื่อสร้าง “โอกาส” ในการเติบโต เป็นต้น

นอกจากนี้ เมื่อมองย้อนกลับมาที่ “เอสเอ็มอี” จะเห็นว่าโจทย์ใหญ่ของการขับเคลื่อนธุรกิจคือ “เงินทุน” บ่นกันมากทั้งการเข้าถึงแหล่งเงินทุนยาก สถาบันการเงิน ธนาคารพาณิชย์ไม่อยากปล่อยกู้ เพราะมีความเสี่ยงสูงกว่าองค์กรขนาดใหญ่ และการขายสินค้าออนไลน์ ไม่มีหลักทรัพย์จับต้องได้ อย่างอาคาร ที่ดิน ฯ สินทรัพย์ล้วนอยู่ในอากาศ ฯ การมีแพลตฟอร์มดังกล่าวจึงเป็นหนึ่งในการแก้สารพัด Pain Point ให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของเมืองไทย

  • ข้อมูลดีมีชัยในสนามการค้าออนไลน์ 

กล้า ตั้งสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า แพลตฟอร์ม Etailligence เป็นการร่วมมือกันของ 3 ฝ่าย คือ depa ไพรซ์ซ่า และไวซซ์ไซท์ เพื่อให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ได้ใช้งาน ปัจจุบันนำร่องสินค้ากว่า 1.7 แสนรายการ จากสินค้ากว่า 30 หมวดหมู่ ผู้ขาย 5.4 หมื่นราย ฯ และจะมุ่งสู่ 5 ล้านรายการในอนาคต

สงคราม \'อีคอมเมิร์ซ\' เป็นมากกว่าแย่งยอดขาย แต่คือศึกชิง Data ธุรกรรมนักช้อป ทั้งนี้ โจทย์ของพ่อค้าแม่ขายออนไลน์ มี 3 บริบทที่ต้องการรู้ 1.สินค้าตนเองขายดีไหม มิติการแข่งขันสินค้าร้านขายได้ 100 บาท แต่คู่แข่งขายได้ 50 บาท หมายถึงของตนเองขายดี เป็นการเปรียบเทียบตลาดกับคู่แข่งเพื่อแม่นยำในการค้าขาย 2.คู่แข่งขายดีไหม เป็นคำถามร้อยล้านที่นักธุรกิจ ผู้ประกอบการอยากรู้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์ เช่น สินค้าเป็นเจ้าแรกในตลาด ขายไม่ดี พอมีคู่แข่งทำตาม ขายดี สะท้อนแบรนด์และสินค้าปั้นมาให้ “คู่แข่ง” ไปทำตลาดโกยเงิน และ 3.ออกสินค้าใหม่มาทำตลาด ขายดีหรือไม่

อย่างไรก็ตาม คนไทยขึ้นชื่อแชมป์ขาช้อปออนไลน์ของโลก จากการชิมลาง Etailligence พบสินค้าขายดี เช่น หน้ากากอนามัยขายมากถึง 13.8 ล้านชิ้น และซิมการ์ดโทรศัพท์โกยเงินถึง 338.6 ล้านบาท เป็นต้น

“ข้อมูลช่วยแก้ปัญหาหลายอย่างบนโลก ข้อมูลที่ถูกต้องและเหมาะสมจะแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม ซึ่งข้อมูลที่เราทำในครั้งนี้ ช่วยให้พ่อค้าแม่ค้า แบรนด์และองค์กรทำงาานได้อย่างสมบูรณ์มากขึ้น