25 ปี กับ 25 เรื่องราว “สตาร์บัคส์” จากกาแฟเบอร์ 1 ของโลก สู่เมืองไทย

25 ปี กับ 25 เรื่องราว “สตาร์บัคส์”  จากกาแฟเบอร์ 1 ของโลก สู่เมืองไทย

25 ปี ของ “สตาร์บัคส์” ในประเทศไทย หลายคนอาจหลงลืมเรื่องราว ตำนาน การเดินทางของแบรนด์ไปบ้าง กรุงเทพธุรกิจ ชวนรู้จัก 25 เรื่องราวเกี่ยวกับสตาร์บัคส์ ร้านกาแฟร้านโปรดที่อาจยังไม่รู้

ทุกคนรู้ดีว่าร้านกาแฟชื่อก้องโลก “สตาร์บัคส์” เป็นเบอร์ 1 อย่างแข็งแกร่ง มีร้านให้บริการทั่วโลก และยังเป็นแบรนด์ที่ปฏิวัติวงการร้านกาแฟให้มีสีสัน ความคึกคักในตลาด สร้างวัฒนธรรมการดื่มกาแฟนอกบ้าน ทำให้ “ร้าน” กลายเป็นเหมือนบ้านหลังที่ 3 สถานที่ทำงานแห่งที่ 2 ของผู้คนอีกด้วย

ปี 2566 “สตาร์บัคส์” เดินทางขับเคลื่อนธุรกิจในไทยครบ 25 ปี ซึ่งหากเปรียบเหมือนมนุษย์ นี่คือช่วงเวลาแห่งการเติบโต เรียนรู้สิ่งรอบข้าง เปิดประสบการณ์ และเผชิญความท้าทายต่างๆ มากมาย

การเติบโตอย่างสง่างามอง “สตาร์บัคส์” ไม่เพียงมีรากฐานที่แข็งแกร่ง แต่ “คอกาแฟ” และแฟนๆของแบรนด์มีความสำคัญไม่น้อย เพื่อให้ “สตาร์บัคส์” รังสรรค์สิ่งใหม่ ตอบไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายที่เปลี่ยนไป รวมถึงการ “ยกระดับ” ประสบการณ์ที่ดีอย่างต่อเนื่องด้วย

ทว่า 25 ปี ของ “สตาร์บัคส์” หลายคนอาจหลงลืมเรื่องราว ตำนาน การเดินทางของแบรนด์ไปบ้าง กรุงเทพธุรกิจ ชวนรู้จัก 25 เรื่องราวเกี่ยวกับสตาร์บัคส์ ร้านกาแฟร้านโปรดที่อาจยังไม่รู้

1.ที่มาชื่อแบรนด์ Starbucks เคยสงสัยไหมว่าแบรนด์ “สตาร์บัคส์” ที่เรียกกันมาจากไหน คำตอบคือมาจากนวนิยายเรื่องโมบิดิก (Moby-Dick) หนังสือเล่มโปรดของผู้ก่อตั้งสตาร์บัคส์ทั้ง 3 คน คือ เจอร์รี บัลด์วิน (Jerry Baldwin), เซฟ ซีเกิล (Zev Siegl) และ กอร์ดอน โบว์เกอร์ (Gordon Bowker) ในปี พ.ศ. 2530 ฮาวเวิร์ด ชูลท์ซ (Howard Schultz) อดีตผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดของสตาร์บัคส์ผู้หลงใหลในวัฒนธรรมการดื่มกาแฟ ได้เข้ามาซื้อสตาร์บัคส์และตั้งชื่อว่า “Starbucks Coffee Company”

25 ปี กับ 25 เรื่องราว “สตาร์บัคส์”  จากกาแฟเบอร์ 1 ของโลก สู่เมืองไทย

2.สตาร์บัคส์อยู่ในไทยมา 25 ปี โดยคือจุดสตาร์ทธุรกิจ ปี 2541 และเปิดร้านสาขาแรกเมื่อเดือนกรกฎาคมที่เซ็นทรัลชิดลม ปัจจุบันสาขานี้ “ปิดบริการ” แล้ว

3. สตาร์บัคส์มีสาขาทั้งหมด 464 สาขาทั่วไทย มีร้านแบบไดรฟ์-ทรู (Drive-thru)ให้บริการ 57 สาขา

4.ร้านสตาร์บัคส์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในไทยคือ “สตาร์บัคส์ รีเสิร์ฟ เจ้าพระยา ริเวอร์ฟร้อนท์” ที่ไอคอนสยาม ชั้น 7 มีพื้นที่กว่า 1,260 ตารางเมตร(ตร.ม.) รองรับลูกค้าได้ 350 ที่นั่ง พร้อมมอบประสบการณ์ใหม่ เพราะเป็นสาขาแรกที่เสิร์ฟเครื่องดื่มจากช็อตกาแฟสตาร์บัคส์ ม่วนใจ๋ เบลนด์ ซึ่งปลูกในพื้นที่ภาคเหนือของไทย และมี บาร์ ทีวาน่า (Teavana™ Bar) แห่งแรกของไทย

 5.ผ้ากันเปื้อนแต่ละสีมีความหมายต่างกัน โดย “สีเขียว” สำหรับพาร์ทเนอร์ทั่วไป ที่ผ่านการอบรมบาริสต้าตามหลักสูตรของร้านสตาร์บัคส์ และ “สีดำ” สำหรับพาร์ทเนอร์ที่ได้ผ่านการอบรมตามหลักสูตรของร้านสตาร์บัคส์ และมีการสอบวัดระดับในแต่ละขั้น เพื่อเป็นคอฟฟี่มาสเตอร์ (Coffee Master) หรือผู้เชี่ยวชาญด้านกาแฟของสตาร์บัคส์

25 ปี กับ 25 เรื่องราว “สตาร์บัคส์”  จากกาแฟเบอร์ 1 ของโลก สู่เมืองไทย สีผ้ากันบอกความเชี่ยวชาญ

6.ไทยมี 11เครื่องดื่มสุดเอ็กซ์คลูซีฟ เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าในแต่ละประเทศอาจมีความชื่นชอบต่างกันออกไป สตาร์บัคส์จึงตั้งใจรังสรรค์เมนูพิเศษขึ้นสำหรับแต่ละประเทศ ในไทยมี 11 เมนู เช่น Matcha White Chocolate Affogato Frappuccino®, Green Tea Chocolate Malt Cold Brew, Matcha Java Chip Affogato เป็นต้น

7.รับความพิเศษจากสตาร์บัคส์ เมื่อสมัครแอปพลิเคชัน Starbucks Thailand หรือผ่านบัญชี LINE OA ของทางสตาร์บัคส์ โดยทุกการใช้จ่ายของสมาชิกสามารถสะสมดาวเพื่อแลกรับสิทธิพิเศษต่างๆ ได้ (25 บาท = 1 ดวง)

8.อยากแลกเครื่องดื่มที่ชื่นชอบทุกขนาดฟรี รับขนม เครื่องดื่มฟรีในเดือนเกิด เพียงเมื่อสมาชิก Starbucks® Reward ระดับ Green สะดาวครบ 300 ดวงภายใน 1 ปี จะได้ปรับระดับเป็น Gold ซึ่งสมาชิกระดับ Gold จะได้สิทธิพิเศษ รับเครื่องดื่มและขนมฟรีในเดือนเกิด รวมถึงนำดาวที่สะสมทุกๆ 120 ดวง มาแลกรับเครื่องดื่มทุกขนาดได้ฟรีด้วย

9."กากกาแฟ” ลูกค้า “สตาร์บัคส์” หยิบฟรีได้ เพื่อนำไปปลูกต้นไม้ โดยขอรับกากกาแฟจากตะกร้าที่จุดบริการภายในสาขาได้ฟรี หรือสอบถามกับพนักงานของร้าน เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้โลกของเรา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม #GroundsForYourGarden ที่สตาร์บัคส์สนับสนุนตลอดมา

10.สตาร์บัคส์บางสาขาจำหน่าย Soup & Pasta ด้วย เพื่อเติมพลังระหว่างวัน แต่ซุปและพลาสต้ามี 4 เมนูให้เลือก

11.สตาร์บัคส์มี 5 เมนูยอดฮิตตลอดกาล ได้แก่ เพียว มัทฉะ แฟรบปูชิโน่, บราวน์ ชูการ์ โคลด์ บรูว์, สตรอเบอร์รี่ อาซาอิ วิธ เลมอนเนด สตาร์บัคส์ รีเฟรชเชอร์ , พิงค์ ดริงค์ วิธ สตรอเบอร์รี่ อาซาอิ สตาร์บัคส์ รีเฟรชเชอร์ และกรีนที ช็อกโกแลต มอล์ต โคลด์ บรูว์ มีเมนูไหนที่ตรงใจผู้บริโภคกันบ้าง

12.ที่สตาร์บัคส์มีเมนูขนมอบสดใหม่จากเตาด้วย

13.ทริคการสั่งเครื่องดื่มสตาร์บัคส์แก้วโปรดแบบง่ายๆ โดย เริ่มสั่งชื่อเครื่องดื่ม แจ้งพาร์ทเนอร์เป็นแบบร้อน เย็น หรือปั่น แจ้งขนาดแก้ว เลือกปริมาณคาเฟอีน(Regular, Half-Decaf, Decaf) เลือกประเภทนม เช่ย นมวัว, นมข้าวโอ๊ต, นมอัลมอนด์, นมมะพร้าว ฯ และเพิ่มหรือลดความหวาน

25 ปี กับ 25 เรื่องราว “สตาร์บัคส์”  จากกาแฟเบอร์ 1 ของโลก สู่เมืองไทย

เลือกเครื่องดื่มขนาดไหนดี

14.ทำไมขนาดของเครื่องดื่มของสตาร์บัคส์ถึงต้องเป็น Tall, Grande, Venti ทำไมไม่เป็น S, M, L? เพราะความหลงใหลในวัฒนธรรมการดื่มกาแฟแบบอิตาลีของ “ฮาวเวิร์ด ชูลท์ซ”จึงใช้ภาษาอิตาเลียนในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของสตาร์บัคส์ และในช่วงปลายปียุค 1990 คอกาแฟทั้งหลายเรียกร้องให้สตาร์บัคส์เพิ่มขนาดแก้ว เลยมีเครื่องดื่มขนาด Venti ขึ้นมา ปัจจุบันแก้วเครื่องดื่มในร้านสตาร์บัคส์จึงมี 4 ขนาดหลัก ได้แก่ Short ขนาด 8 ออนซ์ เฉพาะเครื่องดื่มร้อน Tall ขนาด 12 ออนซ์, Grande ขนาด 16 ออนซ์ และ Venti ขนาด 20 ออนซ์

15.ถ้าไม่อยากดื่มนมวัว สามารถสั่งนมทางเลือกได้ เช่น นมอัลมอนด์ ขนมมะพร้าว ฯ

16.กาแฟเด่น แต่ “สตาร์บัคส์” มีเครื่องดื่มเติมความสดชื่นด้วย เช่น สตาร์บัคส์ รีเฟรชเชอร์

17. “ไม่ต้องพกเงินสด” เมื่อเข้าร้าน Starbucks Cashless Store เพราะลูกค้าชำระเงินผ่าน 4 ช่องทาง ได้แก่ จ่ายผ่านแอปพลิเคชัน Starbucks Thailand, ผ่านบัตร Starbucks Card, บัตรเครดิตและเดบิต และจ่ายผ่าน QR code

18.ดื่มกาแฟพร้อมช่วยพัฒนาชุมชนชาวไร่กาแฟ ไปกับกาแฟม่วนใจ๋ เบลนด์ โดย “สตาร์บัคส์ ม่วนใจ๋ เบลนด์” เป็นการผสมผสานเมล็ดกาแฟพันธุ์อาราบิก้าชั้นดีปลูกในพื้นที่ภาคเหนือของไทย และหมู่เกาะอื่นๆ ในเอเชียแปซิฟิก ที่ผ่านการรับซื้อในราคายุติธรรม รายได้ 5% ที่ได้จากการจำหน่ายกาแฟม่วนใจ๋ เบลนด์ และทุกๆ 10 บาท จากการจำหน่ายกาแฟ สตาร์บัคส์ ที่สตาร์บัคส์สาขาร้านกาแฟเพื่อชุมชน (Community Store) จะนำไปพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไร่กาแฟทางภาคเหนือของไทยให้ดีขึ้น

25 ปี กับ 25 เรื่องราว “สตาร์บัคส์”  จากกาแฟเบอร์ 1 ของโลก สู่เมืองไทย

19.รู้จักร้าน Starbucks Reserve™ ร้านที่มี “กาแฟหายาก” เฉพาะฤดูกาล รสชาติโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ โดยวางจำหน่ายเพียงบางสาขาในระยะเวลาจำกัด เมล็ดกาแฟบางชนิดอาจวางจำหน่ายเพียงครั้งเดียว และไม่มีจำหน่ายอีกเลย โดยในปัจจุบันมีร้าน Starbucks Reserve™ จำนวน 22 สาขา และมี 13 สาขาที่เป็น Full Experience Bar

20.อยากเป็นบาริสต้าแต่ไม่มีความรู้เรื่องกาแฟ สตาร์บัคส์ก็มีเวิร์คชอปสนุกๆ เรียนรู้เทคนิคการชงกาแฟด้วยเครื่องชงหลายประเภท สอนโดย Coffee Master ใครสนใจเข้าร่วมเวิร์คชอป ไปที่ร้านสตาร์บัคส์ 2 สาขา ได้แก่ เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 5 และสตาร์บัคส์ รีเซิร์ฟ ไอคอนสยาม ชั้น 7

21.ทำไมพนักงานของสตาร์บัคส์ถึงจำชื่อของลูกค้าได้แม่นยำ ด้วยยุทธวิธีในการสร้างรอยยิ้มตามแนวคิด “People Business Serving Coffee” มุ่งส่งมอบ “ประสบการณ์สตาร์บัคส์” รวมถึงความเป็น Third Place หรือบ้านหลังที่ 3 ซึ่งลูกค้าสามารถมาใช้เวลาพักผ่อน สังสรรค์ หรือทำงานได้อย่างเต็มที่นั่นเอง

22.ขนมและอาหารของสตาร์บัคส์ ได้ถูกแบ่งปันให้กับชุมชน สตาร์บัคส์ ประเทศไทย ร่วมกับ มูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ (Scholars of Sustenance – SOS) ดำเนินการ “โครงการรักษ์อาหาร” ส่งมอบอาหารส่วนเกินคุณภาพดีให้ผู้ที่ต้องการอย่างเป็นระบบ โดยทาง SOS จะตรวจสอบความสะอาด และความปลอดภัยทางอาหารก่อนนำไปแจกจ่ายให้สถานเลี้ยงเด็กกำพร้า สถานพักพิง ชุมชนรายได้ต่ำ รวมถึงกลุ่มเปราะบางอื่นๆ ในสังคม

23.โต๊ะในสตาร์บัคส์ที่นั่ง อาจทำมาจากกากกาแฟ เพราะสตาร์บัคส์จับมือกับ ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต อาจารย์ นักออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมชื่อดัง สร้าง “ร้านกาแฟสีเขียว” และยังมี Sonite Innovative Surfaces มาร่วมพัฒนากากกาแฟเหลือใช้ให้เป็นวัสดุและเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งภายใน ออกมาเป็น วัสดุจากกากกาแฟที่เรียกว่า Java Core ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ ไว้สำหรับทำเคาน์เตอร์ ไปจนถึงโต๊ะกลาง และบาร์สำหรับวางเครื่องปรุง

25 ปี กับ 25 เรื่องราว “สตาร์บัคส์”  จากกาแฟเบอร์ 1 ของโลก สู่เมืองไทย  24.ในไทยมีร้านสตาร์บัคส์เพื่อชุมชนด้วยนะ ซึ่งอยู่ที่ซอยหลังสวน และเป็นร้านกาแฟเพื่อชุมชน (Community Store) แห่งแรกในเอเชีย และเปิดดำเนินการเป็นแห่งที่ 4 ของโลก

25.สตาร์บัคส์มีหลากช่องทางให้รับข่าวสาร ทั้งเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม เว็บไซต์ และแอปพลิเคชั่น ฯ

ผ่านพ้นปีที่ 25 การเติบโตต่อในปีที่ 26 กรุงเทพธุรกิจแถมให้อีก 1 ข้อ เกี่ยวกับผลการดำเนินงานของ “บริษัท คอฟฟี่ คอนเซ็ปต์ รีเทล จำกัด” ซึ่งปัจจับนผู้ “บริหารสิทธิ์” คืออาณาจักร “ไทยเบฟเวอเรจ” ของ “เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี” โดยมี “เจ้าสัวหนุ่ม ฐาปน สิริวัฒนภักดี” ดูแลร่วมกับ “ทายาท” ของ แม็กซิม กรุ๊ป ยักษ์ใหญ่ธุรกิจอาหารในฮ่องกง

ในปี 2565 “สตาร์บัคส์” กลับมาเติบโตร้อนแรงอีกครั้งหลังผ่านพ้นวิกฤติโควิด-19 โดยทำรายได้รวมกว่า 8,300 ล้านบาท กำไรสุทธิกว่า 833 ล้านบาท