‘ทิฟฟินแล็บส์’ ชูโมเดลธุรกิจใหม่ รุกฟู้ดดิลิเวอรีแก้ปัญหาเอสเอ็มอีไทย

‘ทิฟฟินแล็บส์’ ชูโมเดลธุรกิจใหม่ รุกฟู้ดดิลิเวอรีแก้ปัญหาเอสเอ็มอีไทย

ตลาดฟู้ดเดลิเวอรีไทยยมูลค่า 1.17 แสนล้านบาทโตแรง ทิฟฟินแล็บส์ ส่งโมเดลใหม่ธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหาร ร่วมแก้ปัญหาให้ธุรกิจร้านอาหารไทย

ตลาดฟู้ดเดลิเวอรีไทยมูลค่า 117 พันล้านบาท โตร้อนแรง ดึงดูดนักลงทุนทำธุรกิจ รวมถึง ทิฟฟินแล็บส์ แบรนด์ใหม่ ที่เปิด “Virtual Restaurant Brands” โมเดลแฟรนไชส์ร้านอาหารรูปแบบใหม่ นำแบรนด์ร้านอาหาร เจาะผู้ประกอบการร้านอาหารทั่วประเทศ

เข้ามาร่วมแก้ปัญหาให้ผู้ประกอบการ ที่เจอความท้าทายรอบด้าน มีความเสี่ยงหลังเปิดไป 5 ปีต้องปิดตัวไปประมาณ 60%

ธุรกิจเอสเอ็มอีไทยในกลุ่มร้านอาหาร เป็นหนึ่งในกลุ่มที่มีการขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง แต่เป็นสมรภูมิเรดโอเชียน การแข่งขันรุนแรง โดยเฉพะในช่องทางเดลิเวอรี ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้ในระยะยาว แต่ก็ยังมีช่องทางสำหรับผู้ที่มองหาโอกาส

ทิฟฟินแล็บส์” แบรนด์ใหม่ที่ก่อตั้งโดยคนไทยร่วมทุนนักธุรกิจบิลเลียนแนร์ชาวสิงคโปร์ นำเสนอโมเดลใหม่ “Virtual Restaurant Brands” ครั้งแรกในประเทศไทย มองว่าพร้อมที่จะแข่งขันในสมรภูมินี้

ภูมินันท์ ตันติประสงค์ชัย ผู้ร่วมก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทิฟฟินแล็บส์ จำกัด กล่าวว่า แนวโน้มตลาดรวมฟู้ดเดลิเวอรีของประเทศไทยที่มีมูลค่าประมาณ 1.17 แสนล้านบาท ส่วนตลาดฟู้ดเซอร์วิสมีมูลค่า 9.52 แสนล้านบาท ทั้ง 2 ตลาดมีขนาดใหญ่อยู่ในลำดับ 2 ของภูมิภาคอาเซียน และขยายตัวต่อเนื่อง โดยกลุ่มอาหารที่มาแรงจะเป็นอาหารเดลิเวอรีที่สามารถเลือกรับประทานได้รวดเร็ว อย่างกลุ่มอาหารเกาหลี และอาหารไก่ทอด สอดคล้องกับตลาดอาเซียนที่อาหารไก่ทอดและอาหารเกาหลี มาแรงต่อเนื่องเป็นเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา

‘ทิฟฟินแล็บส์’ ชูโมเดลธุรกิจใหม่ รุกฟู้ดดิลิเวอรีแก้ปัญหาเอสเอ็มอีไทย โดยภาพรวมตลาดฟู้ดเดลิเวอรีในภูมิภาคอาเซียนมีมูลค่าประมาณ 5.25 แสนล้านบาท ขยายตัว 5% ในช่วงปี 2564-2565 โดยไทยอยู่ในลำดับ 2 ต่อจากอินโดนีเซีย ที่มีขนาดตลาดประมาณ 1.47 แสนล้านบาท และอาเซียนยังมีการใช้จ่ายในกลุ่มอาหารเพิ่มขึ้น 5-10% ส่วนการใช้จ่ายในตลาดฟู้ดเซอร์วิสของไทยอยู่ในลำดับ 2 เช่นกัน

เอสเอ็มอีร้านอาหารไทยมีความเสี่ยงสูง จากการแข่งขันตลาดรุนแรง

ขณะเดียวกันจากการศึกษาตลาดผู้ประกอบการร้านอาหารเอสเอ็มอีในไทยที่มีกว่า 5.3 แสนราย พบว่าประมาณ 60% เมื่อดำเนินธุรกิจ 5 ปี เป็นผลจากการแข่งขันในตลาด การไม่มีความเชี่ยวชาญในการทำตลาด มีต้นทุนการแข่งขันที่ไม่เหมาะสม การทำอาหารยังไม่สามารถตอบสนองออเดอร์ที่เข้ามารวดเร็วได้

จากปัญหาของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี บริษัทได้สนใจสร้างโมเดลธุรกิจรูปแบบใหม่ ในชื่อ “Virtual Restaurant Brands” คล้ายกับการทำแฟรนไชส์ แต่มีความแตกต่างที่เป็นการนำแบรนด์ร้านอาหารที่บริษัทได้คิดค้นเองและเป็นรูปแบบเหมาะกับช่องทางเดลิเวอรี ไปให้แก่ผู้ประกอบการร้านอาหารเพิ่มเมนูในแต่ละร้าน ทำให้ผู้ประกอบการไม่ต้องลงทุนเพิ่ม เพียงสั่งวัตถุดิบและใช้การผลิตในครัวที่มีอยู่ โดยแบ่งสัดส่วนรายได้ revenue sharing จากยอดขายสินค้าแทน แบ่งเป็น รายได้ของร้านอาหาร 60% และบริษัท 40%

โมเดลธุรกิจเริ่มต้นที่ประเทศสิงคโปร์เมื่อ 3 ปีก่อน ปัจจุบันมีเครือข่าย 130 แห่ง สามารถสร้างสถิติขยายสาขาบนช่องทางเดลิเวอรีติด 10 อันดับแรก และช่วง 3 ปีเติบโต 150% จากนั้นขยายไปยัง มาเลเซีย เปิดบริการแล้ว 30 สาขา ตามด้วยไทย เมื่อเดือน มี.ค.2565 ที่ปัจจุบันมี 100 สาขา ทั้ง 3 ตลาดสามารถเข้าถึงลูกค้าได้แล้ว 22.7 ล้านคน พร้อมตั้งเป้าหมายภายในปี 2568 จะมีสาขาเปิดให้บริการรวมใน 3 ประเทศประมาณ 700-1,000 สาขา โดยไทยจะมีขนาดใหญ่สุด 

เร่งปูพรมขยายสาขาทั่วประเทศไทย

พีรพัฒน์ เจียประเสริฐ ผู้จัดการทั่วไป ทิฟฟินแล็บส์ ประเทศไทย กล่าวว่า สาขาในไทยทั้งหมดอยู่ใน กรุงเทพฯ แต่มีแผนขยายไปต่างจังหวัดช่วงไตรมาส 2 ปีนี้ และคาดว่าในสิ้นปี 2566 จะมีสาขารวม 200 สาขา

“จากการศึกษาตลาดเอสเอ็มอีร้านอาหารจะมีกำไรน้อยกว่าธุรกิจอื่น เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ไม่สามารถอยู่รอดได้ โดยหากไม่มีเงินสดเข้ามาภายในระยะเวลา 45 วัน จะไม่สามาถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ แตกต่างจากธุรกิจโรงแรม ที่จะอยู่ได้ 145 วัน ทำให้โมเดลของ ทิฟฟินแล็บส์ ต้องเข้ามาร่วมแก้ปัญหาให้แก่เอสเอ็มอี”

สำหรับทิฟฟินแล็บส์ มีพอร์ตโฟลิโอแบรนด์ร้านอาหารทั้งหมด 20 แบรนด์ที่ได้คิดค้นเอง นำมาเปิดตลาดในไทย 6 แบรนด์ ได้แก่

แฟตฟิงเกอร์ (Phat Fingers) ไก่ทอดสไตล์เกาหลี, เซาท์เทิร์นโซล (Southern Soul) ไก่ทอดสไตล์อเมริกัน, พาสต้าเทเบิ้ล (Pasta Table) สปาเก็ตตี้สไตล์คอมฟอร์ตฟู้ด, โปเตโต้ แล็บ (Potato Lab) เฟรนช์ฟรายส์และเมนูทานเล่นต่างๆ โดยมีแบรนด์ไทยจำนวน 2 แบรนด์ได้แก่ ย่างดี (Yang Dee by Phat Fingers) ข้าวหน้าปิ้งย่างสไตล์เกาหลี และ ภูมิใจไก่ทอด (Phum Jai) ไก่ทอดสไตล์ไทย