'ช้าง'เขย่าบัลลังก์ 'สิงห์' เบียดขึ้นเบอร์1 ยึดตลาดเบียร์

'ช้าง'เขย่าบัลลังก์ 'สิงห์' เบียดขึ้นเบอร์1  ยึดตลาดเบียร์

“ช้าง” เดินหน้าเขย่าบัลลังก์ “สิงห์” หวังเบียดขึ้นเบียร์เบอร์ 1 ในไทย หลัง “ช่องว่าง”ส่วนแบ่งทางการตลาดแคบสุดในรอบ 13 ปี สานเป้าผู้นำภูมิภาคอาเซียน

ไทยเบฟ เปิดตัวสินค้าใหม่ “ช้าง อันพาสเจอร์ไรซ์” เขย่าตลาดเบียร์ 2 แสนล้านบาท สานต่อเป้าหมายทวงบัลลังก์ เบอร์ 1 ในไทยอีกครั้ง  

หลายปีที่ผ่านมา “ไทยเบฟเวอเรจ” มีการซื้อกิจการอาหารและเครื่องดื่มเสริมความแข็งแกร่งให้กับพอร์ตโฟลิโอ และเบ่งความยิ่งใหญ่ของอาณาจักร จนติด "ท็อป 10" ยักษ์เครื่องดื่มของภูมิภาคเอเชียที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดหรือมาร์เก็ตแคปสูงสุด

ทั้งนี้ หนึ่งในกิจการสำคัญคือการทุ่มเงินหลัก “แสนล้านบาท” เข้าถือหุ้นกว่า 56% ในบริษัท ไซ่ง่อน เบียร์ แอลกอฮอล์ เบฟเวอเรจ คอร์เปอเรชั่น หรือซาเบโก้ (SABECO) เบอร์ 1 เบียร์ในประเทศเวียดนาม ทำให้ธุรกิจ “เบียร์” ของบริษัทกลายเป็น “ผู้นำ” ในอาเซียน

ขณะที่ประเทศไทย “เบียร์ช้าง” ยังเป็น “เบอร์รอง” ไล่ล่าตำแหน่ง “ผู้นำตลาด” อย่างต่อเนื่อง ทว่า ช่วงเดือน ก.ย.2565 ที่ผ่านมา ไทยเบฟ ได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ถึงส่วนแบ่งทางการตลาด “เบียร์ช้าง” อยู่ในระดับสูงถึง 40% มีส่วนต่างที่ห่างจากคู่แข่ง “เบอร์ 1” เพียงเล็กน้อย และระบุว่า “ช่องว่าง”ส่วนแบ่งทางการตลาดแคบสุดในรอบ 13 ปีด้วย

นอกจากนี้ บริษัทยังย้ำภารกิจสำคัญของ “เบียร์ช้าง” ต้องก้าวขึ้นเป็น “เบอร์ 1” ภายในปี 2565 ด้วย ยุทธศาสตร์ การทำตลาด เพื่อผลักดันธุรกิจให้เติบโตตามเป้าหมาย จึงมีหมากรบเก่าที่แกร่งขึ้น และเปิดแนวรบใหม่ เพื่อเขย่าตลาดเบียร์

นายเลสเตอร์ ตัน ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุดสายธุรกิจเบียร์ประเทศไทย บริษัท ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผู้ทำตลาดเบียร์ช้าง ฉายภาพรวมตลาดเบียร์ในประเทศไทยมีมูลค่าเชิงปริมาณราว 2,000 ล้านลิตรต่อปี แต่ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาตลาดหดตัวค่อนข้างหนัก จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ช่องทางจำหน่ายร้านอาหาร ผับ บาร์ สถานบันเทิงต่างๆ หรือออน พรีมีส ได้รับผลกระทบ

'ช้าง'เขย่าบัลลังก์ 'สิงห์' เบียดขึ้นเบอร์1  ยึดตลาดเบียร์ มุ่งพัฒนาสินค้าใหม่สวนตลาดซบ

นอกจากนี้ ลานเบียร์ไม่มี อีเวนท์ไม่สามารถจัดได้ ผู้บริโภคอยู่บ้าน ตัวแปรดังกล่าว ทำให้ตลาดเบียร์หดตัวเหลือระดับ 1,800-1,900 ล้านลิตร ส่วนภาพรวมตลาดเชิงมูลค่าอยู่ที่ระดับ 2 แสนล้านบาท ซึ่งหมวดใหญ่ยังเป็นลาร์เกอร์เบียร์ ส่วนเบียร์สดมีสัดส่วนน้อยมาก เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทยนิยมดื่มเบียร์สดเป็นทาวเวอร์ ดื่มลาร์เกอร์เบียร์ขวดแก้ว ต่างจากเยอรมันที่ดื่มเบียร์แก้วมัคขนาดใหญ่

ขณะเดียวกันช่วง 5-10 ปีที่ผ่านมา ยังมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดเบียร์เพิ่มเติม เมื่อสินค้าไร้ซึ่งนวัตกรรมใหม่ๆ สินค้าใหม่เข้าสู่ตลาด ตอบสนองผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย ทำให้บางกลุ่มหันไปบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทอื่นแทน ทว่า “เบียร์” ยังคงยืนหนึ่งที่ผู้บริโภคเลือกดื่มเป็นอันดับแรก ตามด้วยกลุ่มสุรา

“ตลาดเบียร์ช่วง 5- 10 ปีที่ผ่านมาค่อนข้างมีความน่าเบื่อ หากผู้ประกอบการไม่สร้างสรรค์เบียร์นวัตกรรมเข้าสู่ตลาด มีแค่ลาร์เกอร์เบียร์เป็นตลาดใหญ่มาก หากเป็นเช่นนั้นผู้บริโภคก็จะหายไป หันไปดื่มเครื่องดื่มประเภทอื่นที่สร้างความน่าตื่นเต้นแทน”

'ช้าง'เขย่าบัลลังก์ 'สิงห์' เบียดขึ้นเบอร์1  ยึดตลาดเบียร์ ดังนั้นช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ไทยเบฟ จึงมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์เบียร์ใหม่ๆ เข้าสู่ตลาด ไม่ว่าจะเป็นการออกช้างโคลด์ บรูว์ เบียร์ไทยที่ผลิตจากมอลต์ 100% มีการเปิดตัวช้างเอสเปรสโซ ซึ่งเป็นลาร์เกอร์เบียร์ผสมกับกาแฟสกัด การออกช้างแชมเปญขวด 1.5 ลิตร รวมถึงการเปลี่ยนแพ็คเกจจิ้งช้างขวดสีน้ำตาลมาเป็นช้างขวดเขียว ที่มีความพรีเมียมมากขึ้น เป็นต้น

ส่ง ช้าง อันพาสเจอร์ไรซ์ ลงตลาด

ล่าสุด “เบียร์ช้าง” เขย่าตลาดอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัวสินค้าใหม่เสริมพอร์ตพรีเมียมอย่าง “ช้าง อันพาสเจอไรซ์” ครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งผสาน 3 จุดแข็งเข้าด้วยกัน ประกอบด้วย 1.การใช้วัตถุดิบคุณภาพในการผลิตเบียร์ 2.นวัตกรรมการผลิตเบียร์ที่ไม่ผ่านความร้อนหรือ Unpasteurized และยังคงใช้ผู้ผลิตหรือบริวมาสเตอร์ที่คร่ำหวอดในวงการมา 25 ปีเป็นผู้ดำเนินการ อีกทั้งกระบวนการผลิตด้วยนัวตกรรมไนโตรจิเนชัน ทำให้ฟองละเอียด

โดยทั้ง 2 ข้อมาจากศักยภาพของโรงงานที่กำแพงเพชร หรือ บมจ.เบียร์ไทย(1991) ในฐานะโรงงานผลิตเบียร์ใหญ่สุดในภาคเหนือ มีเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง และ3. และการขนส่งแบบพิเศษภายใต้การควบคุมอุณหภูมิหรือโคลด์เชน โดยบริษัทในเครืออย่าง “ฮาวี ลอจิสติกส์” ที่ไทยเบฟซื้อกิจการเมื่อปี 2561

เจาะพื้นที่ยุทธศาสตร์เชียงใหม่-เชียงราย

สำหรับเบียร์ช้าง อันพาสเจอร์ไรซ์ อยู่ในบรรจุภัฑณ์ขวดแก้ว 1.5 ลิตร ราคาขาย 500 บาท สามารถเสิร์ฟได้ 5 แก้ว ส่วนช่องทางจำหน่ายยังจำกัดอยู่เฉพาะช่องทางร้านอาหาร ผับ บาร์ โรงแรม หรือออน พรีมีสระดับพรีเมียม เนื่องจากสินค้ามีอายุเหมาะสมหรือเชลฟ์ไลฟ์เพียง 1 เดือนเท่านั้น พร้อมประเดิมพื้นที่ขายในจังหวัดเชียงใหม่ และเชียงราย ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ของเบียร์ช้าง

'ช้าง'เขย่าบัลลังก์ 'สิงห์' เบียดขึ้นเบอร์1  ยึดตลาดเบียร์ นอกจากนี้ ช้าง อันพาสเจอร์ไรซ์ ให้ความสำคัญกับการขนส่งและกระจายสินค้าภายใต้การควบคุมอุณหภูมิหรือโคลด์ เชนไม่เกิน 4 องศา เพื่อส่งตรงถึงร้านค้า โดยไม่ผ่านการเก็บสินค้าในโกดัง มีการออกแบบตู้เย็นและอุปกรณ์การเสิร์ฟเบียร์ให้แก่ร้านอาหารและโรงแรมด้วย ซึ่งการเปิดตัวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา บริษัทได้เชิญผู้ประกอบการ 200 ราย ระดับไฮเอนด์และมีศักยภาพมาร่วมงานด้วย

“ไทยเบฟพยายามสร้างความแปลกใหม่ให้ตลาดเบียร์ จากการทำตลาดเบียร์มา 25 ปี เชื่อว่าเบียร์ช้าง อันพาสเจอร์ไรซ์ จะทำให้ผู้บริโภค โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ รู้สึกตื่นเต้นและอยู่กับผลิตภัณฑ์เราตลอด”

โควิดคลี่คลายหนุนตลาดเบียร์เริ่มฟื้น

นายเลสเตอร์ กล่าวอีกว่า หลังสถานการณ์โควิดคลี่คลาย ตลาดเบียร์เริ่มฟื้นตัวกลับมา โดยเฉพาะตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2565 ตลาดเติบโต 2 หลักต่อเนื่อง

'ช้าง'เขย่าบัลลังก์ 'สิงห์' เบียดขึ้นเบอร์1  ยึดตลาดเบียร์ เลสเตอร์ ตัน แม่ทัพเบียร์ ประสบการณ์ทำงาน 25 ปีในตลาดน้ำเมาสีอำพัน 

อย่างไรก็ตาม ไทยเบฟ รายงานผลประกอบการปี 2565(ปีงบประมาณ ต.ค.64-ก.ย.65) บริษัทมีรายได้จากการขายรวม 272,359 ล้านบาท เติบโต 13.2% มีกำไรสุทธิ 34,505 ล้านบาท เติบโต 26.2% โดยธุรกิจเบียร์ มียอดขายรวม 122,489 ล้านบาท เติบโต 23.5% มีกำไรสุทธิ 7,597 ล้านบาท เติบโต 143.6% ปัจจัยผลักดันยอดขายมาจากการปรับราคาสินค้า และการเปิดประเทศ การค้าขายกลับสู่ภาวะปกติ

ผลประกอบการไทยเบฟเวอเรจ ปี 2565 รายได้โต กำไรแกร่ง

สำหรับภาพรวมตลาดเบียร์ 2 แสนล้านบาท ปัจจุบัน “ลีโอ” ของค่ายสิงห์ หรือบุญรอดบริวเวอรี่ เป็น “ผู้นำ” มีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงสุด ทว่า หากย้อนอดีต “เบียร์สิงห์” เคยเป็นผู้นำตลาดอย่างแข็งแกร่ง กระทั่ง “เบียร์ช้าง” เปิดตัวเข้าสู่ตลาด และมีกลยุทธ์พ่วงสุรา สร้างยอดขายโค่นบัลลังก์สิงห์ ภายหลังสิงห์ มีการปรับตัวออก “ลีโอ” เข้าทำตลาด จนโกยส่วนแบ่งขึ้นเบอร์ 1 อีกครั้งจนถึงปัจจุบัน

“ไทยเบฟ” มีเบียร์ในพอร์ตโฟลิโอหลายแบรนด์ทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งซาเบโก้ เป็น “จิ๊กซอว์” ใหญ่สานเป้าเบอร์ 1 ในภูมิภาค แต่ตลาดในประเทศไทย ซึ่งเปรียบเสมือนฐานทัพหลัก “เบียร์ช้าง” ต้องเป็นเบอร์ 1 ด้วย

ส่วนแบ่งตลาดของ "เบียร์ช้าง" ที่ 40% ถือเป็นการกลับไปอยู่ในจุดปี 2553 อีกครั้ง ซึ่งเป็นตัวเลขส่วนแบ่งตลาดที่บริษัทถูก "โค่น" ตำแหน่งผู้นำตลาดครั้งแรก หรืออีกด้านคือ "สิงห์" ทวงคืนความเป็น "เจ้าตลาด" ได้สำเร็จ หลังจาก 10 ปีก่อนหน้านั้นเบียร์ช้างเปิดเกมรุกจนสั่นคลอน และชิงตำแหน่งแชมป์จากสิงห์ได้เป็นครั้งแรกในปี 2541 และรักษาบัลลังก์ลากยาวได้นานถึงทศวรรษ   

'ช้าง'เขย่าบัลลังก์ 'สิงห์' เบียดขึ้นเบอร์1  ยึดตลาดเบียร์

SABECO บริษัทเบียร์เบอร์ 1 เวียดนาม จิ๊กซอว์พาไทยเบฟขึ้นผู้นำเบียร์อาเซียน