CPF มั่นใจในเทคโนฯ เสริมความมั่นคงทางอาหารตามโมเดลบีซีจี

CPF มั่นใจในเทคโนฯ เสริมความมั่นคงทางอาหารตามโมเดลบีซีจี

นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (CPF) ได้ร่วมอภิปรายด้านความมั่นคงทางอาหารของโลก ในการประชุมสุดยอดผู้นำภาคเอกชนเอเปคเมื่อวันที่ 18 พ.ย. ที่ผ่านมาซึ่งซีพีเอฟเชื่อมั่นว่าเทคโนโลยีจะช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหารในอนาคต

ประสิทธิ์กล่าวว่า "ความมั่นคงทางอาหารประเทศไทยแตกต่างจากประเทศอื่น เนื่องจากไทยเป็นประเทศส่งออกอาหารเป็นหลัก มีบริษัทอาหารกว่า 10,000 แห่ง และการส่งออกอาหารของไทยในปีก่อนมีมูลค่าถึง 35,000 ล้านดอลลาร์ ดังนั้น ไทยจึงมีปัญหาด้านความมั่นคงทางอาหารน้อยกว่าประเทศอื่น ๆ" แต่ช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อไทยเช่นกัน เนื่องจากรัฐบาลมีมาตรการควบคุมโคงิดเข้มงวด ผู้คนไม่สามารถใช้ชีวิตได้ปกติ ทางซีพีเอฟจึงมีการจัดการระบบต่างการทำงานต่าง ๆ โดยใช้วิธีบับเบิลแอนด์ซีล เป็นการยกระดับความปลอดภัยต่อพนักงานในโรงงาน

อย่างไรก็ตาม โควิดได้สอนผู้คนหลายอย่าง ซีพีเอฟ ได้พบเจอผู้นำหลายประเทศ และหลายคนได้ตระหนักถึงความเพียงพอของอาหารมากขึ้น ว่าประเทศสามารถผลิตได้มากเพียงใด เพราะการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้ประชาชนเกิดความกลัวว่าภาคธุรกิจรายใหญ่อาจมีอาหารไม่เพียงพอ นอกจากนี้  ปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงก็เป็นปัจจัยที่น่ากังวลเช่นกัน

CPF มั่นใจในเทคโนฯ เสริมความมั่นคงทางอาหารตามโมเดลบีซีจี

เมื่อถามว่าวิกฤตหลายอย่างในโลกจะสิ้นสุดได้หรือไม่ และเมื่อใด ประสิทธิ์ให้ความเห็นว่า "ทุกอย่างจะฟื้นเป็นปกติสักวันหนึ่ง แต่หลายอย่างจะไม่กลับมาเป็นเหมือนเดิม เนื่องจากการค้าโลกเกิดความยากลำบาก จากภาวะโลกร้อน สงครามยูเครน และโรคระบาดหรือปัจจัยอื่น ๆ ทำให้เกิดความไม่แน่นอน ดังนั้น ในอนาคตประเทศและธุรกิจต่าง ๆ ไม่ควรโฟกัสเพียงต้นทุนต่ำสุดหรือกำไรสูงสุด แต่ควรคำนึงถึงการเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจ บรรดาธุรกิจจึงควรมองหาเทคโนโลยีหรือหนทางผลิตอาหารรูปแบบใหม่ด้วย"

ทั้งนี้ โลกมีเทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างเอไอหรือปัญญาประดิษฐ์แล้ว จึงเป็นส่วนช่วยให้ธุรกิจเพิ่มขีดความสามารถในการต่อยอดสิ่งต่าง ๆ ได้ เช่น ต้นทุนเท่าเดิมแต่สามารถผลิตได้จำนวนมาก ยิ่งไปกว่านั้น ซีพีเอฟหวังว่าธุรกิจอาหารจะใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย

CPF มั่นใจในเทคโนฯ เสริมความมั่นคงทางอาหารตามโมเดลบีซีจี

ซีพีเอฟเชื่อว่าเทคโนโยลีคือคำตอบ ช่วยให้ผลิตได้อาหารเพียงพอและราคาถูก รวมถึงความก้าวหน้าทางวิศวกรรมและเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้พนักงาน 1 คน สามารถดูแลไก่ได้มากกว่า 10,000 ตัวแล้ว เนื่องจากจากอดีตที่ไม่ใช้เทคโนโลยี ทำให้พนักงาน 1 คน สามารถดูแลไก่ได้เพียง 100 ตัว 

ประสิทธิ์เผยว่า "ซีพีเอฟยึดมั่นในหลักการ '3 High 1 Low' และหนึ่งใน 3 high คือ การลงทุนเทคโนโลยีจำนวนมาก จับตาดูเทรนด์อาหารใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นและดุแนวโน้มของผู้บริโภคเสมอ"

นอกจากนี้ ประสิทธิ์แนะนำว่า หากอยากใช้ประโยชน์ที่ดินให้ยั่งยืน ควรดูห่วงโซ่คุณค่าของบริษัททั้งหมด (Whole Value Chains) และดูว่าจะสร้างคุณค่าจากสินค้าในห่วงโซ่คุณค่าทั้งหมดอย่างไร ควรคำนึ่งถึงหลายอย่างร่วมกัน ไม่ใช่ให้ความสำคัญแต่สายการผลิตเดียว เนื่องจากปรัชญาของซีพีเอฟคือ การทำธุรกิจระยะยาว ต้องคำนึงถึงห่วงโซ่คุณค่าของบริษัททั้งหมด ตั้งแต่การผลิตส่วนแรกไปจนถึงการจำหน่ายสินค้า 

นอกจากนี้ คนรุ่นใหม่ มีความตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมและกังวลเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนมากขึ้น ประสิทธิ์คาดว่า "คนรุ่นใหม่อาจมีศักยภาพมากกว่าคนรุ่นตนเอง และค่อนข้างโชคดีที่ไทยตระหนักถึงความยั่งยืนเพิ่มขึ้น จึงเป็นเหตุผลที่ประเทศไทยนำเสนอโมเดลเศรษฐกิจบีซีจีในปีนี้"

อย่างไรก็ตาม พวกเราทุกคนไม่สามารถคาดเดาได้ว่าในอนาคตจะเกิดอะไรกับความมั่นคงทางอาหาร แต่สำหรับซีพีเอฟมักจะคอยสำรวจตลาดอยู่เสมอ และพยายามรักษาภาคการผลิตเนื้อสัตว์อย่างยั่งยืนมากขึ้นเท่าที่เป็นไปได้ ควบคู่กับลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้ได้เช่นกัน และบริษัทเริ่มใช้พลังงานสะอาดในการผลิตมากขึ้นแล้ว ซีพีเอฟเชื่อว่าบรรดาธุรกิจต่าง ๆ จะดำเนินธุกิจอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในอนาคต