ประเทศไทย ตกลง 2 อันดับ IMD World Digital Competitiveness 2022

ประเทศไทย ตกลง 2 อันดับ IMD World Digital Competitiveness 2022

ล่าสุด IMD ก็ได้เผยแพร่ IMD World Digital Competitiveness Ranking 2022 สำหรับปีปัจจุบัน "ประเทศไทย" ตกลงไป 2 อันดับและอยู่ที่อันดับ 40 ของโลกจากทั้งหมด 63 ประเทศ

หัวข้อย่อยที่ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด ได้แก่

1. เงินลงทุนเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยี (Funding for technological development) ตกลง 14 อันดับ จากอันดับที่ 26 สู่อันดับที่ 40

2. จำนวนผู้จบการศึกษาสายวิทย์ (Graduates in Sciences) ตกลง 20 อันดับ จากอันดับที่ 17 สู่อันดับที่ 37

สำหรับเงินลงทุนเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีที่ตกลง 14 อันดับ เป็นการจัดอันดับที่สะท้อนกับการรายงานข้อมูลของหลายหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศที่สะท้อนให้เห็นว่าเงินลงทุนเข้ามาในประเทศไทยเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีได้ลดลงอย่างต่อเนื่องมาเกือบทศวรรษแล้วโดยเฉพาะเมื่อเปรียบกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน

ประเทศไทย ตกลง 2 อันดับ IMD World Digital Competitiveness 2022

จากข้อมูลที่ สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย ได้เรียบเรียงมาได้สะท้อนให้เห็นว่าเงินลงทุนเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศไทยเหลือเพียงสัดส่วน 3% ของอาเซียนในปีที่ผ่านมา ซึ่งเหนือกว่าเพียง เมียนมา ลาว และกัมพูชา ในอาเซียนเท่านั้น และยังแสดงให้เห็นเทรนด์ของการที่ลดลงอย่างน่าเป็นห่วงและการที่ได้ถูกแซงหน้าโดย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ไปแล้วโดยที่ไม่ต้องพูดถึงสิงคโปร์ที่ได้อยู่คนละลีกกับประเทศไทยมานานแล้ว

สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่านั้นคือการลงทุนเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีของอินโดนีเซีย ที่ได้แซงหน้าสิงคโปร์มาหลายปีแล้ว และยังอาจคาดคะเนได้ถึงการที่อินโดนีเซียกำลังจะกลายมาเป็นยักษ์ใหญ่ในธุรกิจเทคโนโลยีของภูมิภาคเราในอีกไม่นานข้างหน้านี้

สำหรับจำนวนผู้จบการศึกษาสายวิทย์ที่ตกลง 20 อันดับเป็นการสะท้อนถึงปัญหาของประเทศไทยที่ขาดแคลนบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีวิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ (STEM)

สำหรับธุรกิจเทคโนโลยีย่อมหมายถึงการขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะทางด้านดิจิทัลซึ่ง International Telecommunication Union ภายใต้ United Nations ได้รายงานว่าคนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป จาก 100 คน สามารถเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้เพียง 1 คนในคณะที่คนมาเลเซียอายุ 6 ปีขึ้นไป จาก 100 คน สามารถเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ถึง 11 คน

ปัญหาของการขาดแคลนผู้มีทักษะทางด้านดิจิทัลขั้นสูงไม่เพียงแต่เป็นปัญหาของธุรกิจเทคโนโลยีเพราะธุรกิจอื่น ๆ เช่นธนาคาร ประกัน ภาคอุตสาหกรรม บันเทิง ฯลฯ ก็ต้องการโปรแกรมเมอร์เป็นจำนวนมากเช่นกัน

ทางออกในต่างประเทศเมื่อขาดแคลนผู้มีทักษะทางด้านดิจิทัล คือ การ Upskill Reskill ผู้ที่มีทักษะใกล้เคียง

แต่สำหรับประเทศไทยที่ขาดแคลนผู้ที่มีทักษะทางด้าน STEM อย่างเป็นจำนวนมากจะเป็นอุปสรรคต่อการ Upskill Reskil ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์มาเลยย่อมที่ยากที่จะพัฒนาไปเป็นโปรแกรมเมอร์นักปัญญาประดิษฐ์หรือนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลในระดับสูงได้

อย่างไรก็ดี ในบทความนี้ได้กล่าวถึงเฉพาะปัญหา ในขณะที่ทางออกและนโยบายของรัฐได้การแก้ไขได้ถูกกล่าวถึงและชมเชยในหลายบทความก่อนหน้านี้แล้ว