การแก้ไข 'หนี้นอกระบบ' ที่ไร้ระบบของประเทศไทย…

การแก้ไข 'หนี้นอกระบบ' ที่ไร้ระบบของประเทศไทย…

ปัญหา "หนี้นอกระบบ" เป็นภาพสะท้อนของปมปัญหาทางด้านสังคม คุณภาพชีวิตของ "ภาคครัวเรือนของประเทศไทย" ที่มีหนี้มากรายได้น้อยไม่พอชำระหนี้

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประกาศที่จะแก้ไขหนี้นอกระบบอย่างจริงจัง ในวันที่เป็นประธานการประชุมมอบนโยบายและแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบให้กับผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ผู้บังคับการตำรวจนครบาล และผู้บังคับการตำรวจตำรวจภูธรจังหวัดทั่วประเทศ

โดยขอให้ทุกฝ่ายร่วมกันขับเคลื่อนการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบอย่างจริงจัง เพื่อช่วยพี่น้องประชาชนเป็นอิสระ หลุดพ้นพันธนาการจากหนี้นอกระบบ กำหนดให้การแก้ไขหนี้นอกระบบเป็นวาระแห่งชาติ โดยรัฐบาลได้เปิดรับลงทะเบียนแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2566

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ Economic Intelligence Center ธนาคารไทยพาณิชย์ ระบุว่า หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศตัวเลขหนี้ครัวเรือนไทย ณ ไตรมาส 3 ปี 2564 อยู่ที่ 14.3 ล้านล้านบาท คิดเป็นอัตราการขยายตัวที่ 4.2% YOY สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP อยู่ที่ระดับ 89.3% ทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้า

โดยยังถือว่าอู่ในระดับสูง การขยายตัวของสินเชื่อภาคภาคครัวเรือนจากระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 3/64 ชะลอลงในทุกหมวดสินเชื่อ โดยสินเชื่อส่วนบุคคลยังคงขยายตัวในระดับสูง ตามความต้องการสภาพคล่องเพื่อชดเชยรายได้ที่ลดลง

ในขณะที่สถาบันการเงินส่วนใหญ่ ยังคงระมัดระวังในการให้สินเชื่อ ทำให้ผู้บริโภคจำนวนหนึ่งต้องหันไปพึ่งพาหนี้นอกระบบ

ข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมภาคครัวเรือน พบว่า หนี้นอกระบบของภาคครัวเรือนไทยรวมในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 สูงถึง 8.5 หมื่นล้านบาท เพิ่มสูงจากช่วงก่อนโควิดในปี 2563 ที่อยู่ที่ 4.8 หมื่นล้านบาท คิดเป็นอัตราสูงถึง 78% เมื่อพิจารณาในรายละเอียดการกระจายตัวของหนี้นอกระบบ 

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อยเป็นส่วนใหญ่ ในภาพรวมสัดส่วนของครัวเรือนที่เป็นหนี้นอกระบบอยู่ที่ 9.2% ของจำนวนครัวเรือนที่มีหนี้ทั้งหมด ครัวเรือนที่พึ่งพาหนี้นอกระบบต้องรับภาระอัตราดอกเบี้ยที่สูง ทำให้การใช้จ่ายภาคครัวเรือนมีข้อจำกัด

เนื่องจากมีภาระการผ่อนชำระหนี้ที่สูงขึ้น เป็นปัจจัยกดดันสำคัญต่อการบริโภคภาคเอกชน ซึ่งเป็นเครื่องยนต์สำคัญทางเศรษฐกิจของไทย ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า เป้าหมายสำคัญของการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ คือการทำให้ลูกหนี้กลับเข้ามาอยู่ในระบบ ธปท. ได้กำหนด “มาตรการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน” ใช้หลักเกณฑ์ Risk- based pricing สำหรับสินเชื่อไม่มีหลักประกันเพื่อช่วยดูแลกลุ่มลูกหนี้นอกระบบ

ขณะที่ประเด็นสำคัญของแนวทางการแก้ไหนี้นอกระบบของภาครัฐ อยู่ที่กระบวนการตรวจสอบสถานะของเจ้าหนี้และลูกหนี้ โดยจูงใจให้เจ้าหนี้ร่วมแก้ปัญหากับลูกหนี้

ปัญหาหนี้นอกระบบเป็นภาพสะท้อนของปมปัญหาทางด้านสังคม คุณภาพชีวิตของภาคครัวเรือนไทย ที่มีหนี้มากรายได้น้อยไม่พอชำระหนี้ ถูกเจ้าหนี้ทวงถามด้วยวิธีการที่รุนแรง

การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของภาครัฐที่ผ่านมาอยู่ในความรับผิดชอบของคนที่ไม่รู้จริงการแก้ไขปัญหาจึงไม่สำเร็จ 

สอดคล้องกับการให้สัมภาษณ์ของ เจ๊เอ๋ ออกซิเจนคนจน ผ่านรายการ เปิดปากกับภาคภูมิ ทางไทยรัฐทีวี เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว….