เหตุผลที่บรรดาผู้นำ.. “ไม่อยากลงจากตำแหน่ง/อยากกลับมาเป็นผู้นำอีก!?”

เหตุผลที่บรรดาผู้นำ.. “ไม่อยากลงจากตำแหน่ง/อยากกลับมาเป็นผู้นำอีก!?”

อย่ารอแค่ ถึงเวลาก็ไปเลือกตั้ง แล้วได้ "ผู้นำ" ที่ไม่ได้มีความสามารถ มาบริหารประเทศโดยไม่คิดที่จะปฏิรูปอะไรอย่างจริงจังแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปวันๆ

Part.1.ธรรมชาติของคนที่เป็นผู้นำประเทศ

คนที่ขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศของทั่วโลกในประวัติศาสตร์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ส่วนมากขึ้นมาด้วยความ

มุ่งมั่น ด้วยความปราถนาดีที่จะนำพาบริหารประเทศชาติให้รอดและรุ่งเรืองแทบทั้งสิ้น

แต่เมื่อใครก็ตามที่ดำรงตำแหน่งผู้นำมานานหลายปีหลายสมัย(ไม่ว่าจะเป็นประธานาธิบดีหรือนายกรัฐมนตรี) ยิ่งอยู่นาน ยิ่งไม่อยากลงจากตำแหน่ง!

แทบทุกคนไม่ใช่เพียงแค่เสพติดตำแหน่งผู้นำ ไม่ใช่เพียงแค่เสพติดอำนาจบารมีที่มีล้นเหลือเท่านั้น

แต่ยังมีสาเหตุสำคัญที่ไม่อยากลงจากตำแหน่ง....

Part.2.สอง “ผ” ที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ไม่อยากลงจากตำแหน่งและอยากกลับมาเป็นผู้นำต่อ

ผ.แรก คือ “ผลประโยชน์!”

เป็นเรื่องธรรมดาที่คนเป็นผู้นำบริหารประเทศ(หรือแม้กระทั่งผู้นำท้องถิ่น)จะเป็นผู้ที่มีโอกาสได้รับผลประโยชน์ส่วนตัวมากมาย ด้วยตำแหน่งด้วยอำนาจที่มี เพราะเป็นศูนย์กลางของอำนาจทั้งหมด

มีผู้นำประเทศทั่วโลกน้อยคนที่จะไม่แตะต้องผลประโยชน์ที่มีรายล้อมเข้าหาทั้งทางตรงทางอ้อม

ส่วนมากตอนเป็นผู้นำช่วงแรกๆ จะไม่สนไม่แตะต้องผลประโยชน์ แต่เมื่อ “วิญญาณนักการเมือง” เข้าสิงสู่ จนเริ่มลุ่มหลงในอำนาจ ก็มักจะพลาดให้กับการเปิดรับผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม!

ต่อให้บรรดาผู้นำประเทศจะใจแข็งไม่แตะต้องผลประโยชน์ ก็มักจะพลาดหรือละเลยโดยปล่อยให้

ครอบครัว ญาติพี่น้อง ลูกหลาน และคนใกล้ตัว เสพสุขตักตวงผลประโยชน์จนได้!

Part.3. ผ.ที่สอง...คือ “แผล!”

คนที่ขึ้นมาเป็นผู้นำบริหารประเทศชาติ บางคนมีแผลตั้งแต่ วิธีที่ขึ้นมาเป็นผู้นำ ขึ้นมาอย่างไม่สง่างาม

แต่ส่วนมากมีแผลในตอนที่เป็นผู้นำในการบริหารประเทศ

แผลประเภทแรก เป็นแผลเรื่องของการทุจริต คอรัปชั่น เกี่ยวข้องกับ ผ.ตัวแรกคือ ผลประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นผลประโยชน์ของตนเอง ของครอบครัว ของพวกพ้อง ไปจนถึงของพรรคตัวเองและพรรคร่วมรัฐบาล

ในช่วงที่บริหารประเทศ ยิ่งอยู่นาน ยิ่งมีโอกาสตักตวงผลประโยชน์เข้าตนเองมาก (ไม่ว่าวิธีการตักตวง

จะทำด้วยตัวเองหรือคนรอบข้าง ญาติพี่น้อง พรรคพวกเป็นผู้กระทำก็ตาม

ในบางประเทศ... มีผู้นำมีภาพลักษณ์ที่ดูใสซื่อมือสะอาด ไม่มีข่าวคราว“ที่ชัดเจน”ว่ารับผลประโยชน์

หรือทุจริตด้วยตนเอง แต่ไม่ได้หมายความว่าบรรดาญาติพี่น้อง พรรคพวก ลิ่วล้อจะไม่เรียกรับผลประโยชน์ เพราะถ้าจะเล่นการเมือง ต้องใช้เงินจำนวนมาก!

ส่วนแผลประเภทที่สอง เป็นแผลที่เกิดจากการเช็คบิล ฝ่ายตรงข้าม กำจัด กวาดล้างฝ่ายตรงข้าม (ซึ่งฝ่ายตรงข้ามก็มีตั้งแต่ พรรคฝ่ายค้าน สว.ฝ่ายค้าน นักธุรกิจใหญ่ที่สนับสนุนฝ่ายตรงข้าม กลุ่มทุนสีเทาที่สนับสนุนฝ่ายตรงข้าม สื่อที่สนับสนุนฝ่ายตรงข้าม ไปจนถึงภาคประชาชนที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามและต่อต้าน

เมื่อตนเองอยู่ในตำแหน่งผู้นำ แล้วทยอยเช็คบิลฝ่ายตรงข้ามไปแล้ว ก็กลัววันที่ตนเองลงจากตำแหน่ง หลุดจากตำแหน่งหรือไม่มีตำแหน่งทางการเมือง ฝ่ายตรงข้ามก็จะทยอยกลับมาเอาคืน'

Part.4. จาก สอง “ผ”ก่อให้เกิด...“ผ” ที่สาม

“ผลักดัน” ทุกวิถีทาง ทั้งกลยุทธ์บนดินและใต้ดิน เพื่อให้เป็นผู้นำต่อ ต้องชนะการเลือกตั้งให้ได้ไม่ว่าจะใช้วิธีใดก็ตาม!

กลยุทธ์บนดินแบบผิวเผินที่เห็นและรับรู้กันโดยทั่วไป คือ ออกนโยบาย “เอาใจ” ฐานเสียงสุดชีวิตในช่วง

ใกล้เลือกตั้ง อาศัยในช่วงท้ายของการเป็นรัฐบาลช่วงชิงความได้เปรียบให้มากที่สุด รวมทั้งเร่งรีบอนุมัติ

โครงการต่างๆ ในช่วงท้ายของรัฐบาลเพื่อ “สั่งสมเสบียงกรัง” สำหรับใช้ในช่วงเลือกตั้ง

ส่วนกลยุทธ์ใต้ดิน ก็ไม่ใช่เรื่องลึกลับอะไรเพราะใครๆ ก็รับรู้กันมานาน ว่ามีหลากหลายวิธี เช่น ซื้อหรือดึงตัว สส.ของคู่แข่งที่มีฐานเสียงดีมีโอกาสชนะการเลือกตั้ง ให้เข้ามาอยู่ในพรรค จะมาเดี่ยว หรือมาเป็นกลุ่มเป็นซุ้มเป็นบ้านใหญ่ได้ยิ่งดี จ่ายแพงแต่คุ้ม!

กลยุทธ์ใต้ดินที่ไม่คิดว่าจะเกิดขึ้น แต่อาจเกิดขึ้นได้ใครจะรู้ ก็คือ... ยุบพรรคคู่แข่ง ในช่วงก่อนหรือหลังเลือกตั้ง และสามารถพัฒนากลยุทธ์นี้ไปได้แบบเกินคาดอีก คือ ยุบทุกพรรคแม้กระทั่งพรรคตัวเอง ก็ให้เกิดช่องว่างบางอย่าง ทำให้สามารถรักษาอำนาจเป็นผู้นำต่อเนื่องไปได้อีก

ไม่ต้องพูดถึงการรัฐประหารซ่อนรูป ที่ทำให้เกิดการชะงักชงัน ที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ถ้าแพ้การเลือกตั้งหรือมีแนวโน้มว่าจะแพ้

การเลือกตั้ง

เรียกได้ว่า สามารถใช้ “ทุกวิถีทาง” ที่เคยทำมาแล้วหรือยังไม่เคยทำ เพื่อให้สามารถดำรงตำแหน่งผู้นำประเทศได้ต่อไปอีกนานเท่านาน...

Part.5.ระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ระบอบที่จะคัดเลือกคนดีที่สุด!

เพราะระบอบประชาธิปไตย เอื้ออำนวยให้สร้างภาพได้ง่ายว่า ประชาชนเป็นผู้คัดเลือก แต่ไม่ได้หมายความว่า ผู้นำที่ได้รับการคัดเลือก ได้รับเสียงที่บริสุทธิ์ หรือขึ้นมาเป็นผู้นำอย่างขาวสะอาด

ในโลกนี้ยังไม่มีระบอบที่ดีที่สุด คงต้องค้นหากันต่อไปว่าจะใช้ระบอบใดที่เหมาะสมกับประเทศใด

Part.6.เรื่องที่ท้าทายที่สุดของทุกคน...

คือจะสร้างกระบวนการ ตรวจสอบแบบเข้มข้นอย่างไรในการคัดเลือกผู้นำที่จะขึ้นมาบริหารประเทศ

และจะสร้างกระบวนการตรวจสอบอย่างเข้มข้นไปจนถึงลงโทษ ถอดถอน ผู้นำที่ขึ้นมาบริหารประเทศ แล้วปล่อยปละละเลยให้เครือญาติ พวกพ้อง คอรัปชั่น รับเงินจากกลุ่มทุนสีเทา แล้วปกป้องพวกพ้องของตนเองที่ทำธุรกิจสีเทา รวมทั้งเพิกเฉยที่จะปฏิรูปโครงสร้างของระบบยุติธรรมที่เกี่ยวข้องกับคนทั้งประเทศ

อย่ารอแค่ ถึงเวลาก็ไปเลือกตั้ง แล้วได้ผู้นำที่ไม่ได้มีความสามารถ มาบริหารประเทศโดยไม่คิดที่จะปฏิรูปอะไรอย่างจริงจังแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปวันๆ

เพียงแค่ทุกฝ่าย ทั้งภาคประชาชน และสื่อทุกแขนง ร่วมกัน ส่งเสียง ตรวจสอบ เปิดโปง ติดตามอย่างต่อเนื่อง และหาวิธีที่อาจจะเป็นทางลัดคัดคนที่มีความสามารถมีความตั้งใจจริงที่จะขึ้นมากวาดล้างสิ่งโสโครกที่เป็นทุนหนุนนักการเมืองให้เหลือน้อยที่สุด

เพื่อที่จะได้ผู้นำประเทศจริงๆ ที่ไม่ได้ขึ้นหรือกลับมาเป็นผู้นำเพื่อรักษา สอง“ผ”อย่างที่แทบทุกประเทศเป็นอยู่ในทุกวันนี้!