สรท.เตรียมนำคณะนักธุรกิจไทย ลุยเปิดตลาดตะวันออกกลางเดือนมิ.ย.

สรท.เตรียมนำคณะนักธุรกิจไทย ลุยเปิดตลาดตะวันออกกลางเดือนมิ.ย.

ผู้ส่งออกจับมือพาณิชย์ ยกทัพณะนักธุรกิจไทย ลุยขยายส่งออก 3 ตลาดหลัก “ซาอุฯ-ดูไบ-แอฟริกา” เดือนมิ.ย.นี้ตั้งเป้าหมายส่งออกใน 4 สินค้าหลัก “อาหารฮาลาล -ชิ้นส่วนยายนต์และอุปกรณ์ -.สินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป –สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม”

นายชัยชาญ เจริญสุข  ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย(สรท.)เปิดเผยว่า ในช่วงต้นเดือนมิ.ย.2565 ภาคเอกชนร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ จะนำคณะนักธุรกิจส่งออกของไทยเดินทางไปยังซาอุดีอาราเบีย 3 เมืองหลัก  คือ  เจดดาห์ ,ริยาดและ ดัมมัม  เพื่อเจรจาจับคู่กับการค้ากับผู้นำเข้าซาอุดิอาระเบีย โดยอยู่ระหว่างประสานงานกับทูตพาณิชย์ในต่างประเทศ

เบื้องต้นตั้งเป้าหมายส่งออก 4 กลุ่มสินค้าสำคัญ คือ 1.อาหารฮาลาล 2.ชิ้นส่วนยายนต์และอุปกรณ์ 3.สินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป และ4.สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งในอดีตเมื่อ 20 ปีก่อนเคยเป็นตลาดหลักของไทย ซึ่งขณะนี้มีผู้ส่งออกไทยรวม 30 บริษัท ที่สนใจที่จะร่วมในครั้งนี้ โดยปลายเดือน เม.ย.2565 สภาฯจะหารือร่วมกับเอกชนไทย30บริษัท เพื่อกำหนดเป้าหมายและมูลค่าการค้ารวมที่คาดว่าจะได้รับต่อไป

นายชัยชาญ กล่าวว่า สภาฯยังมีแผนที่จะนำคณะนักธุรกิจเดินทางไปเยือนประเทศแถบตัวนออกกลางให้มากขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวจากปัญหาการระบาดของโรคโควิด-19 ที่คลี่คลาย รวมทั้งยังเป็นประเทศที่มีรายได้สูงจากน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีราคาแพงในขณะนี้ทำให้มีกำลังซื้อมากขึ้น โดยเร็วๆนี้ เตรียมแผนที่จะเดินทางเยือนสหรัฐอาหรับเอมิเรต หรือ ดูไบ เพื่อนำผู้ส่งออกไทยเข้าร่วมงานแสดงสินค้า ซึ่งถือเป็นช่องทางการขยายการค้าการส่งออกที่สะดวกที่สุดของประเทศนี้

นอกจากนี้ในช่วงปลายปี2565 ได้วางแผนที่นำคณะนักธุรกิจไปเจรจาขยายการค้าที่แอฟริกาใต้ เพื่อขยายตลาดสินค้าข้าว อาหาร ชิ้นส่วนยายนต์ เป็นต้น

ส่วนกรณีที่นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลังตั้งเป้าหมายให้ช่วยเร่งผลักดันการส่งออกปีนี้ให้เติบโตได้ที่10% ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่5% สรท.นั้นเป็น ถือเป็นเรื่องที่ท้าทาย  แต่ก็เป็นไปได้ หากได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงพาณิชย์ที่เร่งบุกตลาด เช่น หาตลาดใหม่ในตะวันออกกลาง เพิ่มการค้าชายแดนตลาดในอาเซียน และขยายตลาด RCEP  ขณะที่กระทรวงการคลังต้องช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการเข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้นด้วย 

นอกจากนี้อยากให้ตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ไว้ก่อนเพราะขณะนี้ราคาวัตถุดิบสูงขึ้นจากราคาน้ำมัน ซึ่งผู้ส่งออกอาจได้รับผลกระทบในเรื่องของสภาพคล่องทางการเงินแม้ว่าแม้ว่าจะมีคำสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ จึงอยากให้รัฐบาลตรึงราคาดอกเบี้ยไว้ก่อนเพราะหากขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ก็จะกระทบกับผู้ส่งออกได้