โรงงานต้นแบบ"สังกะสีไอออน” ปักหมุด“EECi”ผลิตแบตรถ EV

โรงงานต้นแบบ"สังกะสีไอออน”  ปักหมุด“EECi”ผลิตแบตรถ EV

ความต้องการรถยนต์ไฟฟ้า (EV) มีมากขึ้นหลังจากรัฐบาลออกมาตรการสนับสนุนที่ทำให้ราคาอีวีลดต่ำลง โดยบริษัทเริ่มวางแผนผลิตรถยนต์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับรถ EV ในประเทศไทย โดยหนึ่งในชิ้นส่วนสำคัญ คือ “แบตเตอรี่” สำหรับเก็บไฟฟ้า 

 

นอกจากเทคโนโลยีแบตเตอรี่ “ลิเธียมไอออน” ที่เป็นเทคโนโลยีที่หลายค่ายรถยนต์ใช้ประเทศไทยยังมีแผนที่จะส่งเสริมการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าทางเลือกที่ใช้ “แร่สังกะสี” เป็นตัวเก็บไฟฟ้า ซึ่งอยู่ระหว่างการวิจัยร่วมกันระหว่างสถาบันศึกษาและภาคเอกชนในพื้นที่ของ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EECi ในวังจันทร์ วัลเลย์ จ.ระยอง

คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กล่าวว่า จากนโยบายส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยที่มีการขับเคลื่อนโดยคณะกรรมการยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างดีในระยะเริ่มต้นตามแผนในปี 2565-2569 เมื่อมีความชัดเจนในเรื่องนโยบาย

รวมทั้งมีมาตรการส่งเสริมจะทำให้ความต้องการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศเพิ่มขึ้น โดยแนวโน้มอาจจะเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ว่าในปี 2573 จะมีการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย 30% ของการผลิตรถยนต์ในประเทศไทยทั้งหมด

ทั้งนี้ เมื่อตลาดรถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงยานพาหนะที่อื่นที่ใช้ไฟฟ้ามีขนาดใหญ่ขึ้น จะทำให้การลงทุนที่เกี่ยวข้องก็จะมีเพิ่มมากขึ้น และทำให้ต้องเริ่มคิดเรื่องของการมีเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้าที่เป็นของประเทศไทยเองมากขึ้นด้วย 

โรงงานต้นแบบ\"สังกะสีไอออน”  ปักหมุด“EECi”ผลิตแบตรถ EV โดยเฉพาะแบตเตอรี่ที่เป็นส่วนสำคัญของรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งส่วนใหญ่เทคโนโลยีที่ค่ายรถยนต์ที่ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าใช้อยู่ขณะนี้เป็นเทคโนโลยีแบตเตอรี่ธิเลียมไอออน ซึ่งประเทศไทยมีวัตถุดิบต้นน้ำในส่วนนี้น้อย จึงต้องมองหาทางเลือกอื่น เช่น การผลิตแบตเตอรี่จากแร่สังกะสีซึ่งเป็นแร่ที่มีวัตถุดิบอยู่ในประเทศไทยจำนวนมาก

เจนกฤษณ์ คณาธารณา รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และผู้อำนวยการ EECi กล่าวว่า การพัฒนาแบตเตอรี่รถ EV ที่ใช้สังกะสีเป็นวัตถุดิบที่สำคัญอยู่ระหว่างการศึกษาและทดลองร่วมกับบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นการคิดจากความพร้อมในเรื่องทรัพยากรแร่ชนิดนี้ที่มีอยู่ในประเทศไทยจำนวนมาก 

ขณะที่แร่ลิเธียมไม่มีในประทศไทยมากนักทำให้ต้องนำเข้ามาเพื่อใช้ผลิตแบตเตอรี่ในอนาคต หากสามารถผลักดันการใช้แบตเตอรี่จากสังกะสีได้ก็จะทำให้เรามีเทคโนโลยีของตัวเองจากวัตถุดิบที่มีอยู่ในประเทศไทยซึ่งเอื้อต่อการผลิตในเชิงพาณิชย์

ทั้งนี้รูปแบบการพัฒนาแบตเตอรี่รถ EV ที่เป็นทางเลือกใน EECi มีรูปแบบเดียวกับที่บริษัทเอกชนประสบความสำเร็จในการขยายกำลังการผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ และยานพาหนะอื่นที่ใช้ไฟฟ้าเป็นเชื้อเพลิงที่เคยทำสำเร็จมาแล้ว 

โรงงานต้นแบบ\"สังกะสีไอออน”  ปักหมุด“EECi”ผลิตแบตรถ EV สำหรับรูปแบบที่เคยทำสำเร็จแล้ว คือ บริษัทเอกชนทำวิจัยร่วมกับสถาบันการศึกษา จนได้เทคโนโลยีแบตเตอรี่ที่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อการชาร์จไฟฟ้า จากนั้นจึงนำไปขยายผลในเชิงพาณิชย์ปัจจุบันมีการนำเอาไปใช้อย่างแพร่หลายแล้วในยานพาหนะหลายชนิดทั้งรถยนต์ รถบรรทุกและเรือ จึงมั่นใจว่าแนวทางที่กำลังทำอยู่ขณะนี้จะสามารถสร้างการเติบโตได้ตามแผนวที่วางไว้ในอนาคต

นอกจากนี้ ในพื้นที่ EECi ได้มีการลงทุนโรงงานต้นแบบแบตเตอรี่ปลอดภัยเพื่อความมั่นคง และเป็นทางเลือกใหม่ของการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย โดยโครงการนี้เป็นการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชนซึ่งได้เริ่มเข้ามาทำการวิจัยแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้สังกะสีเป็นส่วนประกอบมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “โรงงานต้นแบบสังกะสีไอออน” ที่มีเป้าหมายที่จะเริ่มผลิตแบตเตอรี่ต้นแบบเวอร์ชั่น 1.0 

การดำเนินงานดังกล่าวอยู่ภายใต้ความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชน โดย สวทช.ได้จัดสรรงบลงทุนจากภาครัฐในปี 2565 วงเงิน 192 ล้านบาท สำหรับเป็นค่าครุภัณฑ์และปรับปรุงสถานที่เพื่อก่อสร้างโรงงานต้นแบบแบตเตอรี่ปลอดภัยขนาดกำลังการผลิต 1 เมกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี

ส่วนภาคเอกชนได้มีการลงทุนในวงเงินประมาณ 2,000 ล้านบาท ในช่วงปี 2564-2566 รวมทั้งยังมีเอกชน และรัฐวิสาหกิจหลายรายที่ใส่เงินเข้ามาร่วมวิจัยและพัฒนาแบตเตอรี่ต้นแบบ โดยมีเป้าหมายก่อสร้างโรงงานแบตเตอรี่ทางเลือกขนาดกำลังการผลิต 500-1,000 เมกะวัตต์ต่อปีได้ภายในปี 2566 โดยมีการคาดการณ์ว่าจะเกิดมูลค่าทางธุรกิจในแง่ของรายได้ประมาณ 2,500-5,000 ล้านบาทต่อปี

ทั้งนี้ แบตเตอรี่ต้นแบบที่ผลิตได้จากโรงงานต้นแบบแบตเตอรี่ใน EECi นอกจากจะสามารถพัฒนาต่อยอดไปใช้ในรถ EV แล้วยังสามารถนำไปใช้งานในส่วนอื่นๆได้ เช่น แบตเตอรี่สำหรับการกักเก็บไฟฟ้าใน Solar Farm การใช้งานในโรงไฟฟ้า การใช้งานในแท่นขุดเจาะน้ำมัน รวมทั้งการใช้งานในบ้านเรือนที่